English Deutsch Français Italiano Español Português 繁體中文 Bahasa Indonesia Tiếng Việt ภาษาไทย
หมวดหมู่ทั้งหมด

เอาไว้ปลูกรอบๆ ก็คงจะดี..จะมีใครรู้มั้ยเนี่ย?

2007-10-25 19:35:42 · 5 คำตอบ · ถามโดย Hideko 6 ใน สิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิตที่เอื้อต่อระบบนิเวศ (Green Living)

5 คำตอบ

ที่รู้มา มีตามนี้ครับ

- ลิ้นมังกร (Sansevieria Trifasciata)

ต้นลิ้นมังกรเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันดี มีปลูกกันทั่วไป สมัยก่อนคนจีนจะนิยมนำมาปักหรือปลูกในแจกัน เพราะอยู่ในที่ร่มในบ้านได้ดี อาจปลูกในแจกันโดยไม่ต้องใช้ดินก็ได้ ไม่มีโรคพืชหรือแมลงรบกวน ปลูกง่ายและทนทาน ดังนั้น ผู้ที่เริ่มต้นปลูกไม้ประดับในอาคารควรเริ่มจากลิ้นมังกรก่อน ปัจจุบันนี้ต้นลิ้นมังกรเป็นที่นิยมปลูกกันมากในต่างประเทศ ถ้าใครชอบดูหนังฝรั่งจะเห็นต้นลิ้นมังกรในหนังฝรั่งแทบทุกเรื่อง

ลิ้นมังกรมีประมาณ 70 ชนิด แต่ลิ้นมังกรขอบใบเหลือง Sansevieria Trifasciata เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีสีสดใสและมีขอบใบเหลือง ทำให้ดูสวยงามกว่าพันธุ์อื่น

ต้นลิ้นมังกรมีลักษณะเป็นกาบ ใบแข็งเหมือนลิ้นงูหรือลิ้นมังกร ต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบกว้างประมาณ 2 นิ้ว ถ้าปลูกได้สมบูรณ์จะมีดอกเป็นช่อ ดอกเล็ก ๆ สีขาอมเขียว ดอกหอมอ่อน ๆ และเป็นยาวเหนียว ๆ คล้ายน้ำผึ้ง การปลูกควรใช้ดินร่วนซุย ไม่ต้องรดน้ำบ่อย ควรเปลี่ยนดินปีละครั้ง ถ้าปลูกในน้ำสามารถอยู่และเติบโตได้หลายปีโดยไม่ต้องเปลี่ยนกระถาง

เนื่องจากลิ้นมังกรจะคายก๊าซออกซิเจนและดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เวลากลางคืน จึงเหมากะสมหากจะนำมาตั้งไว้ในห้องนอนหรือห้องนั่งเล่น

- กล้วยไม้ (Orchid)

ทั่วโลกรู้จักกล้วยไม้เป็นอย่างดี และรู้จักเมืองไทยในฐานะที่เป็นประเทศส่งออกกล้วยไม้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก ทั้งนี้เพราะอาจารย์ระพี สาคริก ซึ่งถือเป็นบรมครูของกล้วยไม้ชาวไทยและของโลก ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัย และส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกกล้วยไม้จนโด่งดังมาทุกวันนี้
กล้วยไม้ทุกตระกูลจะคายก๊าซออกซิเจนและดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เวลากลางคืน ไม่ว่าจะเป็นหวายหรือฟาเลนออพซิส กล้วยไม้หวายสามารถดูดไอระเหย สารเคมีพวกแอลกอฮอล์ อซีโทน ฟอร์มัลดีไฮด์ และคลอโรฟอร์มจากอากาศได้ดีเป็นพิเศษ

นอกจากนี้ กล้วยไม้ยังมีดอกที่สวยงามและบานอยู่ได้นานเป็นเดือน ดังนั้น การปลูกกล้วยไม้จะให้คุณค่าหลายอย่าง ตั้งแต่สร้างก๊าซออกซิเจน ดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดูดสารพิษในอากาศ และมีดอกที่สวยงามและทนทาน

- ว่านหางจระเข้ ประโยชน์ของต้นไม้ชนิดนี้คงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วนะคะ ตัวอย่างเช่น วุ้นที่ได้จากการปอกผิวออกสามารถรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก รวมทั้งรักษาแผลไหม้เกรียมจากแสงแดดได้ และนอกจากนี้ในตอนกลางคืนว่านหางจระเข้จะดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมา

นอกจากนี้ยังมีพืชกลุ่มพิเศษ อันได้แก่ สัปะรด, พืชในทะเลทราย เนื่องจากนิเวศวิทย์ของพืชกลุ่มนี้จะประสบปัญหากับการขาดน้ำบ่อยๆ พืชจึงมีการปิดปากใบในเวลากลางวัน และเปิดปากใบในเวลากลางคืน เพื่อลดการศูนย์เสียน้ำออกไปกับการคายน้ำครับ และนอกจากนั้นจะมีการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้ามาแล้วเปลี่ยนให้อยู่ในรูปกรดมาลิก และซิตริก โดยสะสมในเวคิลโอล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพืชกลุ่มนี้มีการแลกเปลี่ยนก๊าซในเวลากลางคืน โดยปลดปล่อยก๊าซที่ไม่ต้องการที่เก็บสะสมไว้ออกมา อาจจะเป็นได้ที่ก๊าซหนึ่งในนั้น มีก๊าซออกซิเจนออกมาด้วย

สรุป คือ กลุ่มพืช/ต้นไม้ที่มีการปิดปากใบในเวลากลางวัน และเปิดปากใบในเวลากลางคืน จะมีการปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมาและดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจจะไม่ใช่ไปซะทั้งหมดนะครับ เช่น กลุ่มกล้วยไม้่ สกุลร้องเท้านารี สกุลซิมบิเดียม สกุลว่านหัวครู เป็นต้น

-- เพิ่มเติมครับ
-- ต้นไม้ลดมลพิษ

นอกจากจะมีความสวยงามและให้ความร่มรื่นแล้ว ต้นไม้บางชนิดยังมีความสามารถที่จะลดปริมาณสารพิษในอากาศ รวมทั้งยังสามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างดีเลยทีเดียว โดยต้นไม้ที่สามารถลดปริมาณสารพิษในอากาศมาฝากเพื่อนๆ ด้วยนะครับ ได้แก่

1. สาวน้อยประแป้ง ต้นไม้ชนิดนี้นิยมปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคาร ใบมีขนาดใหญ่ ซึ่งจากการวิจัยพบว่าต้นไม้ชนิดนี้ สามารถช่วยฟอกอากาศแลพดูดสารพิษภายในอาคารได้ดีเลยทีเดียว แต่มีข้อควรระวังนะครับ คือ น้ำยางจากทุกส่วนของต้นไม้ชนิดนี้จะมีพิษ

2. เศรษฐีเรือนใน เป็นต้นไม้ต้นแรกที่องค์การนาซาใช้ในการทดลอง เมื่อปี พ.ศ. 2527 และพบว่ามีประสิทธิภาพสูงในการลดมลพิษในอากาศ หรือเราอาจรู้จักต้นไม้ชนิดนี้กันในชื่อ airplane plant

3. ราชพฤกษ์ นับว่าเป็นต้นไม้ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเปลือกและใบนำมาผสมและบด ใช้ทาแก้ผดผื่นคัน ดอกใช้แก้ไข้ แก้แผลเรื้อรัง เนื้อไม้มีลักษณะแข็ง นำมาทำเป็นเสาเรือน และมีความสามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นอย่างดี

4. เยอบีร่า เป็นไม้ดอกที่มีขนาดเล็กมีความสวยงาม เหมาะที่จะปลูกเป็นไม้กระถางวางประดับในที่ต่างๆ มีอัตรากาคายน้ำสูง ทำให้มีประสิทธิภาพสูงในการลดมลพิษในอากาศ

5. พลูด่าง สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามสถานที่ต่างๆ เลี้ยงง่าย มีประสิทธิภาพในการลดมลพิษในอากาศได้ดีพอสมควร แต่มีข้อควรระวังนะครับ คือ น้ำยางจากทุกส่วนของต้นไม้ชนิดนี้จะมีพิษ ถ้าสัมผัสจะทะให้เกิดผื่นคันระคายเคือง

6. แคคตัส เป็นต้นไม้ที่มีรูปร่างหลากหลายรูปแบบ และมีผลการทดลองออกมาว่ามีความสามารถในการดูดซับรังสีที่ส่งผ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งสำคัญสำหรับเพื่อนๆ มากนะึครับในปัจจุบัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์เนี่ยได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้วเนื่องใช้งานบ่อย ใช้ประจำ ใช้ทุกวัน (ดีจัง เด๋วจาเอามาไว้ข้างๆคอมฯ หลายๆต้นเลย)

:)

2007-10-25 20:11:09 · answer #1 · answered by Webmonster™ 5 · 2 0

-ต้นลิ้นมังกรค่ะ
คุณลักษณะพิเศษคือตอนกลางคืนมันจะจะคายอ๊อกซิเจน ดูดคาร์บอนไดอ๊อกไซต์ เป็นงานวิจัยของนาซ่า (NASA)
ครีบปลาวาฬเป็นลิ้นมังกรสายพันธุ์หนึ่งมีใบเดียว
พืชตระกูลลิ้นมังกรเนี่ยมีคุณสมบัติพิเศษที่ว่ากลางคืนจะคายอ๊อกซิเจนแต่ดูดคาร์บอนไดอ๊อกไซต์เข้าไปแทน...จึงสามารถฟอกอากาศได้ดี...ดังนั้นพวกฝรั่งจึงสั่งไม้ชนิดนี้ไปปลูกกันมากมาย เหมาะสำหรับปลูกใน บ้าน อาคาร ห้องนอน ดูแลง่าย
http://www.ete25.com/webboarddetail.php?webboard_id=259
http://www.patawan.com/productdetail.php?product_id=47

-กวักมรกต
กวักมรกต เป็นไม้ที่มีความสวยเฉพาะตัว มีความทนทานต่อสภาพอากาศ เลี้ยงง่าย และยังช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจน เหมาะสำหรับปลูกในอาคาร ห้องนอน บ้าน หรือกลางแจ้ง

-ยางอินเดีย
ยางอินเดีย ไม้ที่แสนธรรมดา แต่มากด้วยประโยชน์ ปลูกได้ทั้งในและนอกอาคาร ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนต้นhttp://www.patawan.com/productlist.php?productcategories_id=8&productsubcategories_id=20

-Bromeliad บรอมีเลียดคือเจ้า Aechmea fasciata จัดอยู่ในพืชที่ชาวต่างประเทศนิยมปลูกประดับในอาคาร เพื่อใช้ดูดสารพิษในอากาศได้ด้วย เค้าบอกว่าเอาไปเลี้ยงข้างๆคอมพิวเตอร์ก็สามารถช่วยดูดคลื่นแม่เหล็กได้ด้วย
พืชในวงศ์บรอมีเลียดส์ (Bromeliaceae) จะมีวงศ์ย่อยอยู่ด้วยกับ 3 วงศ์ย่อยคือ Bromeliiodeae , Pitcairnioideae , Tillandsioideae ทั้งสามวงศ์นี้มีลักษณะการดำรงชีวิตเพื่อการอยู่รอดที่แตกต่างกัน ซึ่งสรุปได้ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ แต่ที่ดูดคาร์บอนไดออกไซด์ตอนกลางคืนได้ก็คือชนิดที่ในกลุ่มวงศ์ย่อย Tillandsioideaeเพราะกลุ่มนี้มีลักษณะพิเศษในการหาอาหาร เพราะพืชวงศ์ย่อยนี้มีถิ่นที่อยู่ในบางพื้นที่ค่อนข้างแล้งแห้งในตอนกลางวัน แต่จะมีความชุ่มชื้นในเวลากลางคืน เลยพัฒนาระบบมาใช้ในการดำรงชีวิตคือปกติปากใบจะเปิดในเวลากลางวัน ดูดซับเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์และธาตุอาหาร เข้าสู่กระบวนการเผาผลาญอาหารเพื่อพัฒนาต้นเป็นปกติทั่วไป แต่ระบบนี้จะพัฒนาให้ปากใบปิดในเวลากลางวันเพื่อป้องกันความแห้งแล้ง และปากใบจะเปิดในเวลากลางคืน เพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์และธาตุอาหารโดยได้รับความช่วยเหลือจากไตรโครมที่ช่วยกักเก็บความชื้นแล้วนำมาสู่กระบวนการเผาผลาญอาหารในเวลากลางวันนั้นเอง
http://en.wikipedia.org/wiki/Tillandsioideae

2007-10-26 03:03:04 · answer #2 · answered by กระจกใส 7 · 2 0

โอโฮ
สาระกันถี่ยิบ

งั้นต้นรัก งัย
ให้ทั้งที่คลายออกซิเจนตอนกลางคืน
ทั้งเทคแคร์ ดูแล และเอาใจ

2007-10-26 07:50:21 · answer #3 · answered by ปังคุง 3 · 0 0

โดยทั่วไปต้นไม้ดูดคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางวัน
เพราะมันต้องนำไปสังเคราะห์ กับแสง
แล้วเปลี่ยนเป็นออกซิเจนให้เราหายใจ (ธรรมชาติช่างทำเนอะ)
เราจะสังเกตุได้ง่ายว่า ต้นอะไรที่ดูดคาร์บอนกลางวัน
แล้วดูดออกซิเจนกลางคืน ดังนี้
ต้นไหนใบดกหนา มืดครึ้มกลางคืน ไปยืนแล้วชวนสยดสยอง กลัวผีห้อยหัวลงมา
แสดงว่าต้นนั้น ดูด ออกซิเจนเยอะมาก
จนร่างกายและระบบหายใจของอึดอัด เพราะต้นไม้แย่ง
ออกซิเจนเยอะ
สิทธิการิยะท่านว่า อย่ายืนใต้ต้นไม้ใหญ่ใบดกหนา
เพราะเป็นที่สิงสถิตย์ของ บรือออออ

2007-10-26 03:39:58 · answer #4 · answered by space lord 6 · 0 0

I thinks everytrees,but i not such krub,,ha ha ahh.....................

2007-10-26 02:41:12 · answer #5 · answered by noi 2 · 0 0

fedest.com, questions and answers