English Deutsch Français Italiano Español Português 繁體中文 Bahasa Indonesia Tiếng Việt ภาษาไทย
หมวดหมู่ทั้งหมด

นอกจากรักษาโดยวิธีการผ่าตัดและกายภาพบำบัดแล้ว มีวิธีอื่นอีกหรือไม่ แล้วการจัดกระดูกถือเป็นกายภาพบำบัดหรือเปล่า

2007-12-17 22:50:20 · 8 คำตอบ · ถามโดย Brunello 6 ใน สุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ อื่นๆ เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ

8 คำตอบ

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
ก่อนจะรู้จักโรคนี้ก็ต้องรู้จักหมอนรองกระดูกเสียก่อน กระดูกสันหลังของ เราประกอบด้วยกระดูกหลายๆ ชิ้นมาต่อกัน ระหว่างกระดูกเหล่านี้จะมีอวัยวะชนิด หนึ่งคั่นอยู่เราเรียกว่า หมอนรองกระดูก เพราะฉะนั้นกระดูกสันหลังมีกี่อัน หมอน รองกระดูกก็มีใกล้เคียงกัน หมอนรองกระดูก มีชื่อตามตำราว่า Intervertebral disc ถ้าจะจำเพาะลงไป ตามตำแหน่งก็เป็นว่า หมอนรองกระดูกคอ เรียกว่า Cervical disc และหมอน รองกระดูกที่เอวเรียกว่า Lumbar disc หมอนรองกระดูกไม่ได้เป็นกระดูกครับ แต่จะประกอบด้วยส่วนใหญ่ๆ 2 ส่วนคือ วงรอบนอกจะเป็นเอ็นแข็งๆ (Anular ligament) และใจกลางจะเป็นเหมือนเจลใสๆ (Nucleus pulposus) ทั้งหมดมีหน้าที่รับแรก******และทำให้เราเคลื่อนไหว กระดูกสันหลังได้ดีขึ้น
สาเหตุ
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดได้ทั้งปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน ซึ่งปัจจัยภายใน จะเป็นสาเหตุที่ตัวหมอนรองกระดูกเอง ที่มีการทำงานผิดปกติ และมีความบางของหมอนรองกระดูกผิดปกติ และปัจจัยภายนอกจะเป็นเรื่องของการดำรงชีวิตของแต่ละคน ที่ปัจจุบันมักมีเวลาให้กับงานมากจนไม่มีเวลาดูแลตัวเอง จึงเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่คนมักจะปวดหลัง หรือปวดร้าวขาโดยไม่รู้ตัว

อาการ
อาการปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง เป็นอาการเด่นของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดมากหรือปวดน้อยขึ้นอยู่ว่ากดมากหรือน้อยเป็นสำคัญ ถ้าทิ้งไว้นาน เส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง อาการชาและอ่อนแรงของขาซีกนั้นจะเริ่มเด่นชัดขั้น อาการทั้งหมดจะเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น คนที่เป็นจะคุ้นเคยกับอาการและบอกรายละเอียดของอาการได้เป็นอย่างดี
การป้องกัน
สำหรับวิธีป้องการอันดับแรกคือการเล่นกีฬา การออกกลังกายอย่างสม่ำเสมอ ประการที่สอง ลดงานของกล้ามเนื้อหลังลง โดยการปรับท่านั่งให้หลังตรง หรือเดินตัวตรง และประการที่สามคือการลดน้ำหนัก สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักที่มากเกินไป เนื่องจากหลังจะต้องเป็นส่วนที่รับน้ำหนักตัวของคนเรา เมื่อมีน้ำหนักตัวมากเกินไป การทำงานของกล้ามเนื้อหลังก็จะมากไปด้วย ซึ่งถือเป็นการผ่อนคลายการใช้งานของกล้ามเนื้อหลังให้เบาแรงในการทำงานลงด้วย
การรักษา
การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการกดทับเส้นประสาท
แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังหรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังและ แนวทางในการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของหมอนรองกระดูกบวมแตกไปกดทับเส้นประสาทและส่งผลขั้นรุนแรง รักษาโดย
1.การผ่าตัด เพื่อที่จะตัดเอาส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก หรืออาจจะมีการเปลี่ยนหมอนรองกระดูกใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาที่ทันสมัยขึ้น และมีความเสี่ยงน้อยลง การผ่าตัดแผลเล็ก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และโอกาสในการติดเชื้อน้องลงเทคโนโลยีในการรักษาด้วยการผ่าตัดด้วยกล้องจุลทัศน์มาช่วยในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทขั้นรุนแรง ซึ่งต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียวการผ่าตัดด้วยกล้องจุลทัศน์มี 2 แบบ โดยแบบที่หนึ่ง เป็นกล้องจุลทัศน์ที่เป็นตัวขยายเฉพาะจุด และแบบที่สองเป็นกล้องนำทาง ซึ่งจะเป็นการเจาะท่อเข้าไปภายในเพื่อที่จะสามารถมองเห็นในจุดที่จะทำงานผ่าตัด โดยแพทย์สามารถมองที่จอแสดงผลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อกับตัวกล้อง และจะมีอุปกรณ์ผ่าตัดอีกชุดหนึ่ง ที่จะทำหน้าที่ในการผ่าตัด ซึ่งแพทย์สามารถมองจากจอแสดงผลได้และทำการผ่าตัดเฉพาะจุดได้ง่ายขึ้นก่อนการทำผ่าตัดทุกครั้ง ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังรุนแรงมากจะต้องทำการเอกซเรย์สนามแม่เหล็กหรือ MRI ก่อนทุกครั้ง เพื่อที่จะหาจุดที่เป็นสาเหตุของอาการ และบอกได้แน่นอนที่สุดว่าความที่จะแก้ที่จุดไหน
2.รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดร่วมกับการผ่าตัด เพื่อช่วยลดอาการเกร็ง และบิดตัวของกล้ามเนื้อหลัง
3.รักษาด้วยนวัตกรรมใหม่ (Nucloplasty) ได้ผ่านการ รับรองโดยองค์การ อาหารและยาจากสหรัฐอเมริกาการรักษา โดยวิธี Nucleoplasty (Coblation) โดยใช้คลื่น RF(RADIOFREQUENCY) ความร้อนประมาณ 40-70° C สลายหมอนรองกระดูกสันหลังที่เคลื่อนกดทับเส้นประสาท โดยไม่มีการ ทำลาย หรืออันตรายต่อเนื้อเยื่อที่ใกล้เคียง ซึ่งหัวเข็มที่ปล่อยคลื่น RF ขนาดเข็มฉีดยาเบอร์ 17 สอดผ่านผิวหนังเข้าไปในหมอนรองกระดูกสันหลัง
การจัดกระดูกด้วยเครื่องพยุงหลังถือว่าเป็นการรักษาทางกายภาพบำบัดด้วยเช่นกัน
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

2007-12-18 02:47:09 · answer #1 · answered by Q_jaguar 4 · 4 0

หมอนรองกระดูก จะทำให้เกิดความยืดหยุ่น และรับแรงกระแทกของกระดูกสันหลัง ทำให้หลังมั่นคงแข็งแรง แต่ เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนประกอบที่เป็นน้ำภายในหมอนรองกระดูกจะลดลง ทำให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นลดลง ถ้ามีแรงมากระทำต่อหมอนรองกระดูกในลักษณะเฉียง ๆ เช่น ก้มหลังยกของหนัก หรือ ยกของแล้วเอี้ยวตัว เป็นต้น ก็จะทำให้หมอนรองกระดูกแตกออก ทำให้เกิดปวดหลัง หลังแข็ง ก้มหลังหรือเอี้ยวตัวไม่ได้ แต่ถ้าหมอนรองกระดูกที่แตกออกมาไปกดทับเส้นประสาท ก็จะมีอาการปวดหลัง ร่วมกับมีอาการปวดร้าวไปที่ขา ขาชา หรือ ขาอ่อนแรง ร่วมด้วยค่ะ

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการกดทับเส้นประสาท มีการแบ่งลักษณะของหมอนรองกระดูกออกเป็นระยะๆ ทั้งนี้ เนื่องจากการรักษาในแต่ละระยะแตกต่างกัน

1.ในระยะ Protusion ผนังของหมอนรองกระดูกจะยังไม่เสียความยืดหยุ่นไปมากนัก การรักษาด้วยยา กายภาพบำบัด ตลอดจนการรู้จักวิธีเสริมสร้างกล้ามเนื้อหลังเพื่อป้องกันไม่ให้มีการอักเสบ จะสามารถช่วยให้อาการของโรคไม่กำเริบและหายได้ในที่สุด

2.ในระยะ Prolapse ในระยะนี้ผนังของหมอนรองกระดูกเริ่มเสียความยืดหยุ่นไปแล้วแต่ยังไม่ถึงกับแตกจนส่วนแกนในไหลออกมา การรักษาโดยการผ่าตัดน่าจะได้ผลดีที่สุด

3.ระยะ Extrusion ผ่าตัดแน่นอน

4.ระยะ Sequestration ระยะนี้ก็ต้องผ่าตัดเหมือนกัน

จะเห็นได้ว่า ทั้งสี่ระยะโอกาสที่จะไม่ต้องผ่าตัดมีเพียงระยะแรกเท่านั้น การผ่าตัดกระดูกสันหลังเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่พึงปรารถนา แม้ว่าปัจจุบันอันตรายจะน้อยลงกว่าสมัยก่อนมากมายก็ตาม การป้องกันไม่ให้โรคเลื่อนจากระยะแรกจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่สุด ทำได้โดยรีบไปพบแพทย์ทันทีที่มีอาการปวดหลังแล้วร้าวลงขาและให้ความสำคัญกับการปวดหลังทุกครั้ง การรักษาคือต้องแก้ที่สาเหตุ และสาเหตุของอาการปวดหลังที่พบบ่อยที่สุดคือ การอยู่ในท่าต่างๆ ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ Warm ร่างกายก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง ทำ Stretching Exercise ของกล้ามเนื้อหลังทุกครั้งก่อนออกรอบ

การนวดจะดีสำหรับอาการเมื่อยและไม่ดีสำหรับอาการปวด ถ้าท่านไม่แน่ใจว่าที่เป็นอยู่เป็นอาการปวด หรือเมื่อย ก็ไม่ควรไปนวด เพราะจะทำให้อาการแย่ลงในกรณีที่ไปเจอหมอนวดประเภทมือใหม่ไฟแรง

การรักษา โดยวิธี Nucleoplasty (Coblation) โดยใช้คลื่น RF(RADIOFREQUENCY) ความร้อนประมาณ 40-70° C สลายหมอนรองกระดูกสันหลังที่เคลื่อนกดทับเส้นประสาท โดยไม่มีการ ทำลาย หรืออันตรายต่อเนื้อเยื่อที่ใกล้เคียง ซึ่งหัวเข็มที่ปล่อยคลื่น RF ขนาดเข็มฉีดยาเบอร์ 17 สอดผ่านผิวหนังเข้าไปในหมอนรองกระดูกสันหลัง
ใช้เวลา 20-30 นาที

ข้อดีของการรักษาด้วยวิธี Nucleoplasty
-ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
-ไม่ต้องถูกวางยาสลบ
-ไม่มีแผลผ่าตัด
-หลังรับการรักษาแล้วประมาณ 2-3 สัปดาห์ ผู้ป่วยสามารถอุ้มลูกหรือยกของได้
-ผลดีในการรักษา มากกว่า 80%

วิธีการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยนวัตกรรมใหม่ (Nucloplasty)นี้ ได้ผ่านการรับรองโดยองค์การ อาหารและยาจากสหรัฐอเมริกาเรียบร้อยแล้วค่ะ

2007-12-18 07:26:38 · answer #2 · answered by กระจกใส 7 · 5 0

การจัดกระดูกไม่ถื่อว่าเป็นการทำกายภาพบำบัดแต่ว่านักกายภาพบำบัดบางท่านก็สามารถทำการเคลื่อนกระดูกได้(ข้อต่อ)แต่ไม่เรียกว่าจัดกระดูกอาจเรียกว่า(manual manipulation) ส่วนการจัดกระดูกจะเป็นแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเรียกว่าไคโรแพรคติค(Chiropractic)ซึ่งการจัดปรับข้อกระดูกของแพทย์ด้านนี้จะเรียกว่าAdjustment ซึ่งไม่ถือว่าเป็นManipulate

ลองหาวิธีการรักษาอย่างอื่นก่อนนะครับ ผ่าตัดสมัยนี้ไม่ยากเลยแต่ความรับผิดชอบกับสุขภาพของเราในระยะยาวต้องคิดให้ดีก่อน เคยเห็นบางท่าน"เดินเข้า" รพ.เพราะปวดหลังแต่เวลาออกไปต้อง"นั่งรถเข็นออก"แล้วก็ไม่รู้อีกกี่เดือนถึงจะกลับมาเดินได้ปรกติ แล้วจะเป็นปัญหากับสุขภาพในอีก 3 ปี 5 ปี 10 ปี ข้างหน้าหรือเปล่า ผมว่าการผ่าตัดเก็บเอาใว้เป็นทางเลือกสุดท้ายดีกว่า ไม่ว่าจะเป็น รพ.เล็กหรือใหญ่เขาจะไม่มีการ"รับประกัน"กับการรักษาโรคให้ใครทั้งนั้นว่าจะทำให้หายขาดหรือไม่ เคยได้ยินคำพูดแบบนี้จากหมอมั้ย"เอายานี้ไปทานอีกสองอาทิตย์กลับมาใหม่" นี่คือการลองเฉยๆ ถ้าคุณดีขึ้นก็ok ถ้าไม่ดีขึ้นก็เหลี่ยนเป็นยาใหม่(ให้ลองอีก)

คิดว่าคงได้ไอเดียนะครับ โชคดีครับ

2007-12-19 04:52:49 · answer #3 · answered by pern5050 2 · 3 0

"Hernia Disc" รักษาได้ด้วยการผ่าตัด ตามการวินิจฉัยของแพทย์ เดี๋ยวนี้วิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมาก ไม่ต้องเป็นกังวล

การผ่าตัดก็โดยการใส่เหล็กดามไว้ (พูดตามภาษาผู้ป่วย) หรือในบางโรงพยาบาลก็ผ่าตัดโดยใช้กล้อง ซึ่งค่าใช้จ่ายคงสูงมากธรรมดา

หลังผ่าตัดแล้วก็ต้องพักฟื้น กายภาพบำบัดตามลำดับ

บทความด้านล่างเป็นคำอธิบาย ศึกษาดูล่วงหน้าน่ะ

หมอนกระดูกสันหลังคืออะไร
1. โรคหมอนกระดูกสันหลังแตกทับเส้นประสาทขา เป็นอย่างไร (นพ.ไพโรจน์)

- ปัจจุบันการรักษาโดยการผ่าเอาหมอนกระดูกทับเส้นประสาทออก อาการปวดเอวและประสาทจะหายไป พบผู้ป่วยบางส่วนยังมีอาการปวดหลัง (Back pain) เพราะขาดความแข็งแรง และบางส่วนจะเป็นซ้ำได้อีก (Recurrent) ประมาณ 20 - 30%
- ต่อมาได้มีการแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยการผ่าตัดเอาหมอนกระดูกออก และได้ใส่กระดูกแทน พร้อมยึดด้วยสกรู ก็ทำให้แข็งแรง แก้ปัญหาเรื่องปวดหลัง และการเป็นซ้ำได้อีก แต่มีปัญหาใหม่เรื่อง ข้อกระดูกหลังแข็งและทำให้หมอนกระดูกระดับใกล้เคียงเสื่อมเร็วขึ้นในผู้ป่วยบางส่วน
- เพื่อการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ทั้งหมด ทางกลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ จึงได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่จากต่างประเทศ การทำผ่าตัดใส่หมอนกระดูกเทียมเข้ามาใช้ในการผ่าตัด ดังที่เห็นในภาพ ซึ่งนำมาใช้ในต่างจังหวัดเป็นแห่งแรกของประเทศ เพื่อให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่ชาวปักษ์ใต้

2. ลักษณะหมอนกระดูกเทียม เป็นอย่างไร (นพ.สุรสิทธ์)
ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนบน
2. ส่วนล่าง
3. ชิ้นกลาง
- ทำน้าที่คล้ายหมอนกระดูกธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ตามธรรมชาติ ขณะที่ก้ม หรือเงย , และแอ่น ทางซ้าย หรือ ขวา
- การผ่าตัด ผ่าทางหน้าท้องแผลประมาณ 2 นิ้ว เข้าหากระดูกสันหลัง แล้วขยับเส้นเลือดใหญ่ เพื่อนำหมอนกระดูกเข้าไปวางในตำแหน่งเดิม

3. มีวิธีการคัดเลือกผู้ป่วยที่นำมาผ่าตัดอย่างไร (นพ.อำนาจ)

Indication
1. Mono and bisegmental degenerative disc เป็นหมอนรองกระดูกหนึ่งถึงสองระดับ
2. Post – nucleotpmy syndrome เคยผ่าตัดหมอนกระดูกมาแล้ว
3. Segemental instability c degen – disc มีความหลวมในข้อหมอนกระดูกที่แตก
4. Recurrent Hermia disc หมอนกระดูกแตกช้ำ
5. Uccessful conservative therapy วิธีการรักษาตามอาการ
6. < 50 year female , < 60 year ใน male ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 50 ปี ในผู้หญิงและ 60 ปีในผู้ชาย

ข้อห้าม
1. Osteopathies กระดูกผุ
2. Polysegmental instabilities เป็นหลายระดับมากกว่า 2 ระดับ
3. Spondylolisthesis กระดูกสันหลังเลื่อน
4. Bony lumbar stenosis กระดูกสันหลังตีบตัน และกดทับกระดูก
5. Radicular syndrome in herniated disc เศษกระดูกแตกทับเส้นประสาท
6. Situation following infection มีอาการติดเชื้อที่กระดูกหลัง
7. > 50 year female , > 60 year ใน male ผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปี ในผู้หญิงและ 60 ปีในผู้ชาย

4. ผลการรักษา เป็นอย่างไร (นพ.ประดิษฐ์)

1. ทำให้ผู้ป่วยหายเร็ว เนื่องจากแผลเล็ก
- ผ่าทางหน้าทองมีความช้ำน้อยกว่าผ่าทางสันหลัง
- หลังผ่าผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้ นิ่มนวลใกล้เคียงธรรมชาติ
- เป็นการป้องกันไม่ให้หมอนรองกระดูกสันหลังระดับอยู่ใกล้เคียงกับระดับที่ผ่าตัด มีการเสื่อมเสียเร็วจนเกินไป คือระดับสูง หรือระดับต่ำกว่าระดับส่วนที่ผ่าตัด , มีความปลอดภัยสูงขึ้น (เพราะเป็นรุ่นที่มีการพัฒนามาเป็นตระกูลที่ 3 แล้ว) ในส่วนของงานนี้มีการติดตามผลมานานพอสมควร > 12 ปี จนเป็นที่พอใจของผู้ใช้ และปลอดภัยมีผลข้างเคียงน้อย

5. นโยบายของทางโรงพยาบาล (ผอก.)

1. เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้ผู้ป่วย โดยการส่งเสริมให้แพทย์ในโรงพยาบาลได้ไปศึกษาหาความรู้สิ่งที่ดี มาให้แก่ประชาชน ถึงแม้ทางใต้จะมีเหตุการณ์รุนแรงมาโดยตลอด แต่เราก็ไม่ละทิ้งการพัฒนาเทคโนโลยีการแพทย์แก่ประชาชน
2. ส่งเสริมศักยภาพแก่บุคลากรในโรงพยาบาล
3. เนื่องจากยังเป็นของที่ใหม่มาก ราคาวัสดุยังไม่อยู่ในการคุ้มครองของสิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้าและในส่วนราชการ ซึ่งทำให้ผู้เลือกใช้จำเป็นต้องรับผิดชอบรายจ่ายส่วนนี้ และจะนำเรื่องรายจ่ายนี้ไปปรึกษาหารือกับกระทรวงต่อไป

2007-12-18 19:28:59 · answer #4 · answered by noin@ 4 · 3 0

มีพิธีกรคนหนึ่งที่ชื่อน้องเล็ก ฉัตริษา เธอเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ เธอบำบัดด้วยวิธี เล่นโยคะ แต่เป็นแบบไม่หักโหม ก็ดูน่าสนใจ เพราะอาการของเธอ ก็เอาเรื่องอยู่เหมือนกัน ลองหาดูนะคะ เมื่อวานเห็นมีวางขายแถวร้าน นายอินทร์ เล่มละ 175 บาทค่ะ ชื่อหนังสือ ฉันผ่าตัด ด้วยตัวเอง ทำนองนี้ล่ะค่ะ

2007-12-19 02:16:52 · answer #5 · answered by Anonymous · 2 0

โรคนี้ผมคิดว่าต้องอาศัยการบำบัด หรือการนวดนั่นเอง อย่ากลัวเจ็บนะครับ เพราะมีคนที่หายนะครับ

2007-12-18 10:13:48 · answer #6 · answered by say 1 · 2 0

ถ้าเกี่ยวกับโรคทางกระดูกลองอ่านการรักษาแบบใหม่ดู
อ่านเจอข้อมูลเกี่ยวกับชีวโมเลกุล น่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการทดลองเกี่วกับการซ่อมแซมกระดูกแต่คิดว่าอีกไม่นานน่าจะเอามารักษาในคนได้ เลยลองแปล abstractมาให้ดูคร่าว แต่เคยได้ยินมานะว่ามันช่วยทำให้กระดูกซ่อมแซมได้เร็วถ้าใช้เซลล์รักษา มีคนเคยรักษาด้วยชีวโมเลกุล แถวพระรามสอง เค้าบอกมา

2014-11-19 03:33:16 · answer #7 · answered by โฟม 2 · 0 0

ผมมีญาติที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยไปรักษา แบบรักษาเองพวกหมอพื้นบ้าน นวดแก้อาการอะไรทำนองนั้น ตอนหลังเขาบอกมันเจ็บมากขึ้นเรื่อยๆ เลยทนไม่ได้ก็ต้องไปหาหมอ ดีที่ได้คนรู้จักแถวบ้านแนะนำให้ไปหาหมอที่คลินิก npain clinic อยู่ตรงแถวๆ เลียบทางด่วนรามอินทรา เห็นบอกว่าเขาไปรักษามาก็ดีขึ้น จึงลองไปรักษาดู การรักษาก็แบบใช้แพทย์ร่วมกับนักกายภาพ รวมถึงใช้เครื่องมือเพื่อกระตุ้นเซลล์ประสาท ตอนนี้ก็อาการก็ค่อยๆ ดีขึ้นเป็นลำดับ แต่ไม่ได้หายแบบพรวพราดแล้วหายเลย ใครเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ก็ลองโทรไปปรึกษาดู โทร. 084 712 3711 หรือเข้าไปหาข้อมูลในเว็บเขา http://www.npainclinic.com ทางคลินิกมี facebook ด้วยนะครับลองค้นจาก google ดูครับด้วยชื่อคลินิก Npain Clinic เลยครับ เข้าไปสอบถามในนั้นได้เลยมีเจ้าหน้าที่คอยตอบอยู่ตลอดครับ

2014-08-13 11:06:27 · answer #8 · answered by Anonymous · 0 0

fedest.com, questions and answers