English Deutsch Français Italiano Español Português 繁體中文 Bahasa Indonesia Tiếng Việt ภาษาไทย
หมวดหมู่ทั้งหมด

9 คำตอบ

คงต้องให้หมอเป็นคนตัดสินใจ สำหรับคุณแม่ดิฉันทำบายพาสค่ะ ตอนนี้หายเป็นปกติดีแล้ว ผ่าตัดเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ตอนนี้ยังต้องทานยาทุกวันค่ะ และต้องทานตลอดไปตามที่หมอสั่ง

2007-11-19 00:18:51 · answer #1 · answered by e-nai 6 · 0 0

ควรให้คุณหมอเป็นผู้วินิจฉัยและตัดสินใจจะดีและเหมาะสมกว่าทุกกรณีครับ
เพราะคุณหมอจะเข้าใจอาการของคุณพ่อคุณได้ดีที่สุดครับ

ผมขออธิบายถึงวิธีการรักษาที่เรียกว่าทำบอลลูนกับบายพาสดังนี้ครับ

ีการรักษาโรคหัวใจขาดเลือดอีก 2 วิธี คือการทำบอลลูน และการผ่าตัด Bypass แล้วแต่ความรุนแรงของอาการ แต่ส่วนใหญ่ แพทย์จะให้การรักษาทางยาก่อนเป็นอันดับแรก และการทำบอลลูน ส่วนในกรณีที่ไม่สามารถ รักษาด้วย 2 วิธีแรก ก็จะใช้การผ่าตัดเป็นวิธีสุดท้ายครับ


การทำบอลลูน หรือที่เรียกว่า Angioplasty เป็นการขยายเส้นเลือดหัวใจ บริเวณที่มีการตีบตันให้ถ่างออก เพื่อให้เลือดไหลผ่านได้สะดวกขึ้น วิธีการทำบอลลูน ก็คือการเจาะช่องที่ขาหนีบ เพื่อสอดสายยางเข้าไปจนถึงบริเวณที่เส้นเลือดมีการตีบ เพื่อถ่างให้เส้นเลือดส่วนนั้นขยายโป่งออกด้วยวิธีการปั้ม สมัยก่อนการทำบอลลูน จะเจาะที่บริเวณแขน ซึ่งใกล้หัวใจกว่าที่ขาหนีบ แต่เนื่องจากเส้นเลือดที่ขาหนีบ ส่วนใหญ่กว่าที่แขน และสามารถเจาะได้ง่ายกว่า ในปัจจุบันการทำบอลลูน จึงเปลี่ยนมาเจาะที่บริเวณขาหนีบแทน

แต่การทำบอลลูนนั้น ต้องพิจารณาขนาดของเส้นเลือดที่ตีบตันด้วย เส้นเลือดหัวใจที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตร สามารถทำบอลลูนได้ทุกเส้น แต่หากเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร แพทย์ก็จะไม่ใช้วิธีนี้ เนื่องจากเส้นเลือดมีขนาดเล็กเกินไป แม้ทำบอลลูนแล้วเลือดก็จะไหลได้ไม่ดี ไม่นานก็ขอดเป็นลิ่มเลือดขึ้นมาอีก

ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยการทำบอลลูน ร้อยละ 30 มีโอกาสที่เส้นเลือดจะตีบอีกภายใน 1 ปี

ซึ่งผู้ป่วยในส่วนร้อยละ 30 ที่ว่านี้ แพทย์จะใช้วิธี การทำสเต้นท์ (Stent) สเต้นท์คือ ตาข่ายลวดเล็กๆ ที่สามารถขยายใหญ่ขึ้นได้ วิธีการทำสเต้นท์ จึงหมายถึง การเอาตาข่ายเล็กๆ ครอบบอลลูน แล้วสอดเข้าไปในเส้นเลือดจากบริเวณขาหนีบ เช่นเดียวกับการทำบอลลูน เมื่อถึงบริเวณเส้นเลือดที่ตีบ ก็ปั้มให้บอลลูนขยายตัว บอลลูนก็จะดันให้สเต้นท์ขยายตัว ขึงอยู่ที่เส้นเลือด เพื่อไม่ให้เส้นเลือดแฟบตีบอีก

ผู้ป่วยที่ทำบอลลูนหรือ Angioplasty ได้ผลดี ก็ไม่จำเป็นต้องทำสเต้นท์ (Stent) แต่หากทำบอลลูนแล้ว เส้นเลือดยังกลับแฟบตีบอีก ก็ต้องใส่สเต้นท์ เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะมีการทำสเต้นท์ในผู้ป่วยรายใด ผู้ป่วยรายนั้นจะต้องผ่านการทำบอลลูน มาก่อนเสมอ

แต่ผู้ป่วยที่ทำบอลลูนแล้ว เส้นเลือดกลับมาตีบอีก แพทย์อาจวินิจฉัยให้ทำการผ่าตัด หรือทำสเต้นท์ก็ได้ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับอาการของการตีบและการวินิจฉัยของแพทย์ เช่น เมื่อแพทย์เห็นว่าผู้ป่วยมีอายุมาก ก็อาจจะทำเสต้นท์ซักทีก่อน ถ้าไม่ได้ผลก็ทำการผ่าตัด หรืออาจให้ทำการผ่าตัดเลยก็ได้



การผ่าตัด By pass

เมื่อพูดถึงการผ่าตัดหัวใจ คนส่วนใหญ่มักนึกถึงการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนอวัยวะหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจ จึงขอกล่าวถึงประเภทของการผ่าตัดหัวใจไว้สักเล็กน้อย เพื่อความเข้าใจ

การผ่าตัดหัวใจ มี 3 อย่าง คือ การผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจมาแต่กำเนิด อย่างที่สอง คือ การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ และสุดท้ายคือ การผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือที่เราเรียกว่า การทำบายพาส (Bypass)

การผ่าตัด หรือการ Bypass Surgery ภาษาไทยเรียกว่า การเปลี่ยนเส้นเลือดหัวใจหรือการทำทางเบี่ยงของเส้นเลือดหัวใจ

เป็นการผ่าตัดต่อเชื่อมเส้นโลหิตแดงเข้าสู่หัวใจ โดยการนำเส้นเลือด จากส่วนอื่นของร่างกายมาใช้ต่อเชื่อมเพื่อให้เลอืดผ่านทางเชื่อมใหม่นี้แทนเส้นเลือดเดิม ที่มีปัญหาตีบตัน โดยคร่อมส่วนของเลือดเดิมที่อุดตัน

ส่วนใหญ่เส้นเลือดที่มักนำมาใช้เป็นเส้นเลือดทางเบี่ยงนี้คือ เส้นเลือดดำจากขา (Saphenous vein) เส้นเลือดแดงจากแขนท่อนล่าง (ระหว่างข้อศอกกับข้อมือ) หรือเส้นเลือดจากบริเวณเต้านม

เมื่อนำเส้นเลือดดำจากขา หรือเส้นเลือดแดงจากแขนมาใช้ทำ Bypass ให้กับหัวใจ กระทำโดยการต่อปลายด้านหนึ่งเข้ากับเส้นเลือดแดงใหญ่ จากห้องล่างซ้ายของหัวใจ ซึ่งเป็นเส้นเลือดที่ใหญ่ที่สุดที่ออกจากหัวใจ ส่วนปลายอีกด้านของเส้นเลือด Bypass จะต่อเข้ากับส่วนที่ต่ำกว่าบริเวณที่เส้นเลือดอุดตัน หากใช้เส้นเลือดจากบริเวณทรวงอก จะต่อปลายด้านหนึ่งเข้ากับเส้นเลือดแดงใหญ่จากห้องล่างซ้ายหัวใจเช่นกัน และอีกด้าน ต่อเข้ากับส่วนที่พ้นจากส่วนที่อุดตันออกมา

พูดง่ายๆ เหมือนเป็นการทำทางเบี่ยงเพื่อเปลี่ยนเส้นทางการไหลของเลือด คือเมื่อเลือดไม่สามารถไหลผ่านเส้นเลือดเดิมได้ แพทย์ก็ต้องทำทางไหลใหม่ให้เลือด วิธีการก็คือ นำเส้นเลือดอีกเส้นมาเชื่อมต่อเป็นทางเดินของเลือดอีกเส้นหนึ่ง เพื่อให้เลือดสามารถไหลผ่านเส้นเลือดนี้แทน โดยที่ไม่ต้องผ่านทางเส้นเลือดเดิม ที่มีปัญหาการอุดตัน เช่นเดียวกับหลักการการสร้างถนนที่เราเรียกว่า ทางบายพาส ซึ่งเป็นถนนที่อ้อมผ่านช่องทางที่การจราจรติดขัดมากๆ ทางเชื่อมนี้จะเป็นทางของเลือด ที่จะผ่านเข้าสู่หัวใจโดยข้ามส่วนที่อุดตัน

การทำ Bypass สามารถทำได้มากกว่า 1 จุด หากมีจุดที่เส้นเลือดอุดตัดมากกว่า 1 จุด บนเส้นเลือด 1 เส้น ก็สามารถทำ Bypass ได้ 2 จุด หรือหลายจุดตามความเหมาะสม

ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ป่วยจะทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดหรือทำอะไรก็ตาม ถือเป็นการรักษาเพียงแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะอีกครึ่งหนึ่งที่ถือเป็นส่วนสำคัญ ไม่แพ้กันก็คือ การปฏิบัติตัวของคนไข้ที่จะเป็นตัวกำหนดว่าจะทำให้ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดน้อยลงได้หรือไม่ เพราะการลดปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น ถือเป็นเรื่องที่ผู้ป่วยต้องทำอย่างเคร่งครัดและต้องทำไปตลอดชีวิต เพื่อว่าเส้นเลือด ที่แพทย์ทำบายพาสไว้หรือทำบอลลูนถ่างไว้ จะได้อยู่ได้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้

2007-11-19 05:28:26 · answer #2 · answered by Kid D 5 · 3 0

การขยายหลอดเลือดหัวใจ

การทำบอลลูน
การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำบอลลูน เป็นการรักษาที่ทำกันมานานพอสมควร และมีการศึกษาเพื่อพัฒนาวิธีการนี้ตลอดมา จนทำให้ได้ผลการรักษาที่ดี เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป และเรียกวิธีการรักษาแบบนี้ว่า PTCA ซึ่งย่อมาจาก
P ย่อมาจาก Percutaneous หมายถึง การรักษาโดยการเจาะรูผ่านทางผิวหนังบริเวณขาหนีบ เพื่อใส่สายสวนหัวใจเข้าไป
T ย่อมาจาก Transluminal หมายถึง การรักษานี้กระทำภายในหลอดเลือด
C ย่อมาจาก Coronary หมายถึง หลอดเลือด Coronary ที่ไปเลี้ยงหัวใจ
A ย่อมาจาก Angioplasty หมายถึง การรักษาโดยใช้สายสวนหัวใจที่มีบอลลูน หรือลูกโป่งเล็กๆ อยู่บริเวณปลายของสายสวน ซึ่งบอลลูนนี้จะใส่เข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ตีบอยู่ หลังจากนั้นแพทย์จะดันให้ลูกโป่งพองออกตรงตำแหน่งที่ตีบ แรงกดของลูกโป่งก็จะดันผนังหลอดเลือดที่ตีบนั้นให้ขยายออก ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านไปเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้นนั่นเอง
การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำบอลลูนหรือที่เรียกว่าทำ PTCA ให้ผลในการรักษาที่ดีและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปนั้น ก็มีเหตุผลมาจากมีระยะเวลาในการทำ PTCA โดยเฉลี่ยประมาณ 1/2 - 1 1/2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและจำนวนของหลอดเลือดที่ตีบ นอกจากนี้การทำ PTCA ยังสามารถทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บหน้าอกได้อย่างรวดเร็วและใช้ระยะเวลาพักฟื้นภายในโรงพยาบาล น้อย อีกด้วย โดยผู้ป่วยส่วนมากสามารถกลับบ้านได้ภายใน 1-2 วัน และกลับไปทำกิจกรรมหรืองานต่างๆ ได้ตามปกติภายใน 1 สัปดาห์เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดที่ผู้ป่วยจะต้องอยู่ในโรงพยาบาลถึง 1-2 สัปดาห์ และกลับไปทำงานได้ตามปกติในอีก 3-4 สัปดาห์ และจากที่กล่าวมานี้นี่เองที่เป็นเหตุผลที่ว่าเหตุใดจึงต้องขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยวิธี PTCA นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำบอลลูนหรือ PTCA ให้ได้ผลที่ดีที่สุด คุณควรนำผู้ป่วยมาถึงแพทย์ภายใน 6 ชั่วโมงหรือเร็วกว่านั้น หลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงจากโรคหัวใจ

การทำบายพาส

"ขั้นตอนของการทำการผ่าตัด อันแรกคือ ต้องวินิจฉัยให้ได้เสียก่อนว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้แล้วก็ต้องมีการฉีดสีซึ่งจะช่วยให้แพทย์ ตัดสินใจได้ว่า จะรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีไหน ถ้ารักษาด้วยการผ่าตัด จะต้องผ่าตัดกี่เส้น จะต้องต่อเส้นเลือดตรงไหน อันนี้เป็นการเตรียมตัว การเตรียมตัวของผู้ป่วยก็ไม่มากมีการเจาะเลือด เอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น ผู้ป่วยก็จะเข้ามาอยู่โรงพยาบาลก่อนผ่าตัดประมาณสัก 1 วัน เพื่อจะเตรียมตัวผ่าตัด และหลังจากผ่าตัดแล้วก็จะพักฟื้นสัก 1 อาทิตย์-10 วัน และกลับไปพักที่บ้านอีก 1 เดือน หรือ 6 อาทิตย์ "

"ผู้ป่วยคนไหนที่ควรจะทำบายพาสอันนี้จะพิจารณาอันใหญ่ก็จากผลที่ได้จากการฉีดสีว่าผู้ป่วยเป็นมาก-น้อยแค่ไหน เช่น เป็น 3 เส้น หรือมากกว่า 3 เส้น แล้วก็ดูถึงกล้ามเนื้อหัวใจดีหรือไม่ดี ผู้ป่วยที่เหมาะที่จะทำบายพาสคือผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจปกติแต่ขาดเลือด แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อหัวใจเสียไปแล้วทำบายพาสไม่ได้ แต่ต้องเลือกเป็นบางรายไป อีกอันหนึ่งก็จะพิจารณาจากสภาพของคนไข้ว่ามีโรคอื่นร่วมด้วยหรือไม่ อาทิเช่น โรคไต โรคเบาหวาน ความดัน หรือผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต อัมพฤกษ์มาก่อนหรือผู้ป่วยที่มีแต่ปอดไม่ดีในการทำบายพาส อัตราความเสี่ยงการทำบายพาสน้อยมาก โดยทั่วไปแล้วประมาณ 3-4 % แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดฉุกเฉินหรือในรายที่กล้ามเนื้อหัวใจเสีย ความเสี่ยงก็จะเพิ่มขึ้น การทำบายพาสจะได้ผลดีมากแต่ในการรักษาผู้ป่วย 90-95% จะมีอาการดีหลังการผ่าตัด แต่อย่าลืมว่าการรักษาโรคนี้จะด้วยวิธีใดก็ตาม ไม่ได้เป็นการรักษาให้หายขาดแต่เป็นการซื้อเวลาให้ผู้ป่วย"

การทำบายพาสมีข้อจำกัดของผู้ป่วยหรือไม่
สำหรับการผ่าตัดอันนี้มีข้อจำกัดอยู่ 2 ประการ อันแรกคือ จากหัวใจ อันที่สองคือ สภาพทั่วไปของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยอายุมากหรือมีโรคอื่นอยู่หลายโรค ไตไม่ดีต้องล้างไต ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยที่ล้างไตอยู่แล้วจะผ่าตัดนี้ไม่ได้ ในรายที่ล้างไตรอเพื่อที่จะไปเปลี่ยนไตในอนาคต สิ่งสำคัญที่สุดก็คือจะต้องเช็คหัวใจว่าหัวใจผู้ป่วยดีหรือเปล่า ถ้ามีโรคเส้นเลือดตีบก่อนที่เราจะทำการผ่าตัดเส้นเลือดให้ก่อน และก็เตรียมตัวรอสำหรับเปลี่ยนไตและสภาพทั่วไปของผู้ป่วยอย่างอื่น อาทิเช่น ผู้ป่วยเป็นอัมพาต ไม่แข็งแรง ไม่สามารถเดินไปไหนมาไหนได้ นั่นก็เป็นข้อจำกัด เรื่องการรักษานี้ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระยะเกือบจะขั้นสุดท้ายอะไรแบบนี้ อันที่สอง คือข้อจำกัดจากหัวใจเอง เช่น ผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบเยอะและก็ตีบหลายจุด โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานหรือในคนไข้บางรายที่มีไขมันสูง พวกนี้เส้นเลือดจะตีบมากและก็ตีบหลายๆ จุด การรักษาด้วยการทำบอลลูนหรือการผ่าตัดไมได้ กลุ่มนี้ก็จะต้องรักษาด้วยการใช้ยาและถ้าอีกอันหนึ่งคือ สภาวะของกล้ามเนื้อหัวใจ ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจเสียไปเยอะแล้วก็เป็นกล้ามเนื้อที่ตายไม่ใช่ว่าขาดเลือดพวกนี้ทำการผ่าตัดแล้วก็ผลไม่ดี ฉะนั้นถ้าเป็นมากๆ ก็จะแนะนำไม่ให้ผ่าตัดแค่ให้ใช้วิธีอื่น

***การตรวจวัดสมรรถภาพหลอดเลือดด้วย
เครื่อง ABI เป็นอย่างไร

ด้วยนวัตกรรมทางแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งทางด้านการพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้การตรวจและวินิจฉัยโรคต่างๆ เป็นไปอย่างดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังตัวอย่างที่จะพูดถึงก็คือ การตรวจวัดสมรรถภาพของหลอดเลือดด้วยเครื่อง ABI ที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดทางการแพทย์ที่สามารถตรวจวัดสมรรถภาพของหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เวลาในการตรวจเพียงเล็กน้อยซึ่งผลที่ได้สามารถบอกได้ว่า หลอดเลือดมีสภาพแข็งตัวของหลอดเลือด เกิดการอุดตันอันจะนำไปสู่ปัญหาการไหลเวียนของหลอดเลือด ไม่สามารถผ่านไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายส่งผลให้ปลายนิ้วหรือปลายเท้าเย็น นอกจากนี้ยังนำผลดังกล่าวมาคาดคะเนถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้อีกด้วย โดยการทำงานของเครื่อง ABI จะเป็นการวัดค่าความดันเลือดที่แขนและขาทั้งหมด 4 จุด แล้วนำไปคำนวณร่วมกับข้อมูลของคนไข้ที่ป้อนเข้าไปในเครื่อง ได้แก่ ชื่อ สกุล เพศ ปีเกิด น้ำหนักและส่วนสูง จากนั้นเครื่องจะประมวลผลพร้อมพิมพ์ผลการตรวจวัดแบบอัตโนมัติ โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้อธิบายผลการตรวจวัดให้กับคนไข้

ราคาผ่าตัดหัวใจราคาเท่าไร ของรพ.เอกชนนะคะ

- ผ่าตัดต่อหลอดเลือดหัวใจ หรือ ที่เรียกว่า Bypass ราคา Package 480,000 บาท ให้นัดพบแพทย์
ผ่าตัดก่อนเพื่อให้คำแนะนำก่อนตัดสินใจ
-ปกติรักษาโรคหัวใจที่อื่นอยู่ แพทย์แนะนำให้ฉีดสีและทำบอลลูน การฉีดสีราคา Package 45,000 บาท รวมค่าห้องพัก ค่าแพทย์ ค่าอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ในการสวนหัวใจ หากต้องทำบอลลูนต่อในคราวเดียวกัน ราคา Package อยู่ที่ 175,000 บาท ไม่รวมค่าขดลวด (Stent) แต่ถ้าไม่สะดวกจะมาทำบอลลูนทีหลัง ราคา package การทำบอลลูน 150,000 บาท

***คุณควรพาคุณพ่อไปตรวจที่โรงพยาบาลโรคหัวใจที่มีเครื่องมือทันสมัยทันทีค่ะ เพื่อจะได้วินิจฉัยว่าควรทำบอลลูนหรือบาสพาสนะคะ

***รายชื่อ ศูนย์โรคหัวใจ
ข้างล่างนี้เป็นศูนย์หัวใจที่มีบริการครบ เช่น echocardiogram, exercise stress test, ห้องสวนหัวใจ และ ฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ, การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน, การผ่าตัดหัวใจค่ะ

รพ.รัฐบาลในกรุงเทพฯ และ นนทบุรี :
รพ.จุฬาลงกรณ์ ตึกส.ก.ชั้น 17 โทร. 0-2256-4917, 0-2252-8181 ต่อ 3318., รพ.ตำรวจ, วชิรพยาบาล, รพ.รามาธิบดี, ศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ รพ.ศิริราช, รพ.พระมงกุฏเกล้า, รพ.ภูมิพล, รพ.ราชวิถี, รพ.โรคทรวงอก จ.นนทบุรี

รพ.เอกชนในกรุงเทพฯ :
รพ.สมิติเวช, รพ.บำรุงราษฎร์, รพ.ธนบุรี, รพ.เจ้าพระยา, ศูนย์หัวใจกรุงเทพ รพ.กรุงเทพ, รพ.พระราม 9, ศูนย์หัวใจวิชัยยุทธ, ศูนย์หัวใจพญาไท-ฮาวาร์ด (รพ.พญาไท 2) รพ.เซนต์หลุย รพ.เปาโลเมมโมเรียล (สะพานควาย)

รพ.รัฐบาลในต่างจังหวัด :
ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ (ศูนย์โรคหัวใจภาคเหนือ), ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด รพ.มหาราชนครราชสีมา, รพ.สงขลานครินทร์ (กำลังติดตั้งห้องสวนหัวใจ)

2007-11-19 13:04:08 · answer #3 · answered by กระจกใส 7 · 2 0

มีสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องเส้นเลือดในสมองตีบ อุดตันค่ะ เห็นผลหลายท่านแล้วค่ะ ถ้าท่านใดสนใจติดต่อ 081-7853779, Id line 31773164

2016-06-14 19:05:57 · answer #4 · answered by จตุพร 1 · 0 0

ต้องแล้วแต่ดุลพินิจของหมอค่ะ เพราะผู้ป่วยแต่ละคนมีภาวะสุขภาพที่แตกต่างกัน เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ต้องให้คุณหมอเป็นคนเลือกวิธีจะดีกว่านะคะ

2007-11-23 16:22:27 · answer #5 · answered by Anonymous · 0 0

เป็นกำลังใจให้น่ะค่ะ หายเร็วๆ

2007-11-21 22:23:20 · answer #6 · answered by Anonymous · 0 0

ยายของเพื่อนเราก็เป็นโรคหัวใจ เห็นเขาบอกว่าต้องทำบายพาสเหมือนกัน แต่เราก็ไม่มั่นใจว่ามันเป็นยังไง แต่ตอนนี้เขาบอกว่าเขาให้ยายของเขารักษาโดยใช้โปรแกรมโภชนาการบำบัดด้วย เขาบอกว่ายายของเขาสุขภาพดีขึ้นเยอะ แข็งแรงดี กินอาหารได้เยอะขึ้นด้วยเขาดีใจมากเลย เขาบอกว่าคนที่แนะนำเขาบอกว่ากินเพื่อเข้าไปซ่อมแซมระบบการทำงานในร่างกายให้ดีขึ้น เมื่อระบบการทำงานดีขึ้นสุขภาพก็แข็งแรง รู้มาแค่นี้เหมือนกัน แต่ถ้าสนใจถามมาก็แล้วกันจะหาข้อมูลเพิ่มเติมให้นะ

2007-11-19 21:33:38 · answer #7 · answered by Anonymous · 0 0

คงต้องขึ้นกับ แนวทางการวินิจฉัยของแพทย์ว่าเหมาะสมจะทำการรักษาด้วยวิธีใด

ซึ่งแต่ละวิธีจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน (อธิบายไว้ค่อนข้างชัดเจน ข้างต้นจึงขอแค่สนับสนุนน่ะค่ะ)

ซึ่งแนวทางการรักษาแบบใหม่นิยมวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด (ถ้าสามารถทำได้) เป็นวิธีที่ผู้ป่วยไม่ต้องเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างจะสูงมากกกว่าการผ่าตัดและที่สำคัญ ขึ้นกับความถนัดของแพทย์ท่านนั้นๆด้วย

2007-11-19 08:55:42 · answer #8 · answered by noin@ 4 · 0 0

ต้องเคารพในคำวินิจฉัยของคุณหมอนะคะ แต่ถ้าต้องการหาข้อมูลเพื่อศึกษาเป็นความรู้ ก็ลองเข้าเวบ สถาบันโรคทรวงอก สิคะ จะได้ทราบข้อมูลต่างๆประกอบบ้าง

2007-11-19 03:12:08 · answer #9 · answered by Anonymous · 0 0

fedest.com, questions and answers