English Deutsch Français Italiano Español Português 繁體中文 Bahasa Indonesia Tiếng Việt ภาษาไทย
หมวดหมู่ทั้งหมด

ขวดพลาสติกชนิด PET ที่ใช้บรรจุน้ำดื่มและน้ำมันพืชถ้านำกลับมาใช้ซ้ำมีอันตรายอย่างไร และมีหน่วยงานใดออกมายืนยันเรื่องอันตรายนี้แล้ว หรือเป็นเพียงคำร่ำลือ

2007-11-18 21:58:43 · 1 คำตอบ · ถามโดย Brunello 6 ใน สุขภาพ การกินและการออกกำลังกาย

1 คำตอบ

ข้อมูลจากแหล่งทั่วไป

ขวดน้ำอัดลม หรือ น้ำดื่มต่างๆ ที่เป็นพลาสติกที่มีขายทั่วไป ทำมาจากพลาสติกชื่อว่า PET หรือย่อมาจาก
POLYETHYLENE TEREPHTHLALATE
เป็นพลาสติกประเภทหนึ่งในกลุ่ม
งานด้านวิศวกรรมเพื่อใช้ในการทดแทนโลหะ
เมื่อเสื่อมสภาพ หรือโดนแสงแดดเป็นเวลานานเกินไป ก็จะมีสารก่อมะเร็งบางชนิดละลายปะปนออกมากับน้ำในขวด เมื่อสะสมเข้าไปในปริมาณที่มากๆ ก็อาจก่อให้เกิดมะเร็งได้

พลาสติกที่เรียกว่า Polyethyleneterephthalate หรือ PET บรรจุบรรจุสสารที่เป็นตัวการสำคัญที่เรียกว่า diethyl hydroxylamine or DEHA ขวดเหล่านี้จะมีความปลอดภัยในการใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น หากคุณต้องการเก็บไว้ให้นานขึ้น ก็ต้องไม่นานกว่า 2-3 วัน หรือ 1 สัปดาห์ถือว่านานที่สุด และต้องเก็บไว้ให้ห่างจากความร้อนด้วยเช่นกัน การล้างขวดน้ำซ้ำๆและล้างโดยการเขย่าขวดนั้น เป็นสาเหตุของการเสื่อมตัวของพลาสติกและเกิดสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งที่จะเข้าไปรวมตัวกับน้ำที่คุณใส่ไว้ในขวดสำหรับดื่ม ทางที่ดีคุณควรจัดหาขวดสำหรับใส่น้ำที่สามารถใช้บรรจุน้ำได้หลายๆ ครั้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ สิ่งที่ต้องใช้อย่างประหยัด แต่อยากให้นึกถึงครอบครัวและตัวเราเอง

************************************************************
อีกข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขค่ะ

รายละเอียดที่ได้จากเว็บของกระทรวงสาธารณะสุข

อ้างถึง:
ข้อมูลเรื่องอันตรายจากการใช้ขวดพลาสติก PET บรรจุน้ำดื่มซ้ำ
จากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งต่อมาเป็นทอดๆ ที่ระบุว่า ขวดพลาสติก PET(Polyethylene terephthalate) บรรจุน้ำดื่มหากมีการนำมาใช้ซ้ำหลายๆครั้งจะเกิดอันตรายจากสารพิษ Diethyl Hydroxylamine (DEHA)
โดยก่อให้เกิดมะเร็ง นั้น ข้อมูลในจดหมายมีข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องหลายประการ เช่น
1. DEHA ไม่ได้เป็นอักษรย่อของสาร Diethyl Hydroxylamine
แต่เป็นอักษรย่อมาจาก Diethylhexyl adipate ซึ่งเป็นตัว Plasticizer ที่เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับพลาสติกบางอย่าง แต่ตัว Diethyl Hydroxylamine นั้นเป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เป็นสารป้องกันสีซีดจางในรูปถ่าย ใช้ร่วมในการบำบัดน้ำเพื่อป้องกันการผุกร่อน และเป็นวัตถุดิบใน Silicone sealant และมีกลิ่นฉุนรุนแรงคล้ายแอมโมเนีย ไม่มีการใช้ในการผลิตขวดพลาสติก PET แต่หากมีการใช้ในการผลิตขวดพลาสติก PET และปนเปื้อนสู่น้ำดื่มก็น่าจะสามารถทราบได้ทันทีจากกลิ่น
2. สาร Diethylhexyl adipate (DEHA) ไม่มีการใช้ในการผลิตขวดพลาสติก PET และไม่ได้เป็นวัตถุดิบ หรือผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต (by-product)
หรือสารที่ได้จากการย่อยสลายของขวด PET แต่อย่างใด แต่มีการใช้ในการผลิตแผ่นฟิล์มพลาสติกจำพวก PVC (Polyvinyl Chloride ที่ใช้ในการหุ้มห่ออาหาร ซึ่งสามารถแพร่กระจายสู่ผู้บริโภคอาหารได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่ไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ และเนยแข็ง
แต่เป็นไปในปริมาณที่น้อยมาก จนไม่สามารถก่อให้เกิดพิษต่อร่างกายได้เลย
3. สาร Diethylhexyl adipate (DEHA) เป็นสารที่ International Agency for Research on Cancer (IARC) จัดอยู่ในประเภทสารที่ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ (Not classified as to its carcinogenicity to humans)
4. ทางอีเมลดังกล่าวได้ระบุว่าน้ำดื่มที่บรรจุในขวด PET
มีโอกาสปนเปื้อนด้วย DEHA นั้นอาจมีสาเหตุมาจากการพบ DEHA ในน้ำดื่มก็ได้
จากการทดลองของ Dr.M.Kohler (Swiss Federal Laboratories for MaterialsTesting and Research, June 2003) พบว่ามีการปนเปื้อนของ DEHA อยู่ในน้ำดื่มบรรจุขวดจริง แต่การปนเปื้อนดังกล่าวนั้นจะเป็นการปนเปื้อนอยู่ในน้ำดื่มเอง เนื่องจากพบ DEHA ในน้ำดื่มที่บรรจุขวดแก้วด้วย อย่างไรก็ตามการปนเปื้อนของ DEHA ในน้ำดื่มบรรจุขวด PET ที่ทดสอบโดย
Dr.M.Kohler นั้น พบว่าเป็นการปนเปื้อนที่ต่ำกว่าระดับที่ WHO กำหนดไว้มาก (พบการปนเปื้อนในช่วง 0.010-0.0046 ไมโครกรัมต่อลิตร ในขณะที่ WHO กำหนดให้น้ำดื่มพบ DEHA ได้ไม่เกิน 80 ไมโครกรัมต่อลิตร)
5. อันตรายจากการเก็บขวดน้ำดื่มที่เปิดดื่มไปแล้วบ้างไว้ในรถหรือการใช้ขวดพลาสติก PET ซ้ำนั้น อาจเกิดอันตรายจากการที่จุลินทรีย์ในน้ำดื่มเจริญเติบโตขึ้น
นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะว่า ขวด PET นั้นผลิตขึ้นมาสำหรับใส่อาหารหรือเครื่องดื่มเพียงครั้งเดียว
ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับให้นำมาทำความสะอาดใหม่โดยใช้ความร้อนสูงหรือขัดถูแล้วนำมาใช้ซ้ำ
ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่อาจมีสารบางอย่างจากขวด PET หลุดมาเจือปนกับอาหาร ขวดPET ที่ใช้แล้วควรนำไปผ่านกระบวนการ Recycle เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่มากกว่าการนำกลับมาใช้ซ้ำ แม้ว่าการใช้ซ้ำนั้นจะไม่มีอันตรายจากการที่สารในขวด PET หลุดออกมาก็ตาม แต่ผู้บริโภคอาจได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์เนื่องจากการทำความสะอาดที่ไม่ดีพอ

*******************************************************
กรมวิทย์ยันขวดเพทใช้ใหม่ได้
แต่ต้องหมั่นล้าง-ตรวจคุณภาพ

กรณีที่มีผลงานวิจัยจากต่างประเทศระบุว่า การนำขวดพลาสติคใส หรือขวดเพท (PET : Polyethylene Terephthlalate) ที่บรรจุน้ำอัดลม และน้ำผลไม้ กลับมาใช้ใหม่อาจมีอันตรายต่อสุขภาพได้ หากขวดมีลักษณะบุบ มีรอยร้าว แตก หรือถูกความร้อนทำให้ขวดเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิม โดยสารเคมีจากเนื้อพลาสติคอาจปนเปื้อนกับอาหาร หรือน้ำที่บรรจุในขวด และหากได้รับสารพิษสะสมจำนวนมากจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้ง่ายขึ้นนั้น

นายประกาย บริบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ผลการวิจัยดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความโกลาหลไปทั่วโลก จนกระทั่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต้องทำวิจัยศึกษาวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยเรียกเก็บขวดเพทจากทั่วประเทศยุโรปมาศึกษา แต่ผลการศึกษาไม่พบว่าขวดเพทที่มีรอยบุบ ร้าว จะมีสารเคมีที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปนเปื้อนแต่อย่างใด

"นักวิจัยจึงได้สอบถามกลับไปยังมหาวิทยาลัยที่ได้เคยศึกษาเรื่องนี้ไว้เดิม โดยได้มีการตรวจสอบใหม่อีกครั้ง จึงพบว่า ขั้นตอนที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนสารเคมีเกิดจากความผิดพลาดระหว่างที่ปฏิบัติการในห้องทดลอง" นายประกายกล่าว และว่า อย่างไรก็ตาม แม้จะมีผลการทดลองยืนยันว่า ขวดเพทปลอดภัยไม่มีสารเคมีปนเปื้อนก็ตาม แต่การนำกลับมาใช้ใหม่ต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาด ต้องล้างทำความสะอาดขวดก่อนนำมาใช้ใหม่ โดยเฉพาะภายในขวดที่มีร่องเป็นลวดลายอาจทำความสะอาดไม่ทั่วถึง และเมื่อใช้ไปนานๆ ต้องหมั่นสังเกตว่าสีของขวดเปลี่ยนไปหรือไม่ หากมีคราบสีเหลือง หรือขวดไม่ใสเหมือนเดิมให้ทิ้งทันที เพราะอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนได้

"กรณีที่ขวดบุบ มีรอยร้าว หรือแตก แม้จะไม่มีสารเคมีปนเปื้อนแต่ก็จะเป็นช่องว่างทำให้เชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียต่างๆ เข้าไปเกาะตามรอยร้าวนั้นได้ ซึ่งส่วนใหญ่รอยเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคในการล้างทำความสะอาด ทำให้ล้างคราบสกปรกออกไม่หมด ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย หากเห็นว่าขวดที่ใช้มีรอยร้าว หรือบุบ ก็ให้ทิ้งทันที ส่วนขวดพลาสติคขุ่นไม่ควรนำมาใช้ใหม่โดยเด็ดขาด" นายประกายกล่าว

นอกจากนี้ นายประกายกล่าวอีกว่า ยังมีบรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมที่ต้องระมัดระวัง ร้านอาหารต่างๆ ไม่ควรนำโฟมมาใส่อาหารที่มีความร้อนและอาหารมัน เพราะจะทำให้โฟมละลายสารเคมีและปนเปื้อนในอาหารได้ หากสารเคมีสะสมในร่างกายมาก จะเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง แต่หากเลี่ยงไม่ได้ ควรจะใช้ถุงพลาสติค ถุงร้อน หรือใบตอง รองทั้งด้านบนและด้านล่างกล่องโฟม เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารสัมผัสกับโฟมโดยตรง
สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข
19/พ.ย/2550

สรุป เราไม่ควรเสี่ยงนำขวดpet ที่ใช้แล้ว นำกลับมาใช้ใหม่ค่ะ เพราะการนำมาใส่น้ำดื่มในตู้เย็นอีกนั้น จะทำให้เราไม่สามารถล้างขวดให้สะอาดได้ อาจมีจุลินทรีย์เจือปนและหากเราใช้แปรงขัดถูบ่อยๆ ถึงจะไม่มีการยืนยันว่าจะมีสารบางชนิดหลุดออกมาปะปนในน้ำดื่มได้ เราก็ไม่ควรเสี่ยงค่ะ ให้ใช้ขวดพลาสติกคุณภาพดีปากกว้างหรือขวดแก้วไปเลยจะดีกว่าค่ะ

2007-11-18 22:27:00 · answer #1 · answered by กระจกใส 7 · 3 0

fedest.com, questions and answers