English Deutsch Français Italiano Español Português 繁體中文 Bahasa Indonesia Tiếng Việt ภาษาไทย
หมวดหมู่ทั้งหมด

อะๆ อย่าเพิ่งเป็นงงไปว่ามันเป็นกิจกรรมอะไร

หากหลายๆท่านลองสังเกต บางคนหรือเพื่อนๆเราๆเองนั้น
อาจจะมีอาการเสียววูบที่ท้องน้อยขณะเล่นไวกิ้ง เล่นรถไฟเหาะ
หรือแม้แต่กระทั่งการขับรถลงสะพานที่ลาดชันด้วยความเร็วระดับนึง

และด้วยอาการเสียววูบที่เกิดนี้ทำให้เจ้าของกระทู้เองคนนึงนี่ล่ะ ที่ไม่สามารถเล่นไวกิ้งได้ (T T) หรือแม้แต่กระทั่งรถไฟเหาะก็ตามที เหอๆ
จึงอยากจะทราบว่ามันเกิดจากสาเหตุอะไร (ขอเป็นวิชาการนิดนึงนะอันนี้ ฮะๆ)


ปล. (ไม่เกี่ยวกันนิดนึง) - ไม่ได้เข้ามานานเลย วุ่นๆเรื่องงาน T^T คิดถึงช่วงเวลาที่ได้นั่งตอบนั่งอ่านกระทู้ที่นี่จริงๆน้อ

2007-11-10 23:22:52 · 6 คำตอบ · ถามโดย Eizmo 2 ใน สุขภาพ อื่นๆ เกี่ยวกับสุขภาพ

เรียนคุณ Circumlocution ค่ะ
คือต้องบอกว่าเราก็ไม่ได้สังเกตก่อน
เพราะว่ามีเวลาแค่ 5 นาทีตอนนั้นเนื่องจากมีธุระต้องไปทำต่อ แล้วคำถามก็คิดไว้นานแล้วเพราะอยากรู้ แต่ไม่มีโอกาสเข้ามาถาม ยังไงก็ขออภัยนะคะ ไม่ได้ตั้งใจจะโพสต์ซ้ำกัน เพราะเราก็รู้ๆกันอยู่ว่าจะโพสต์คำถามซ้ำกันไปก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ถูกไหมคะ?

2007-11-14 13:14:35 · update #1

6 คำตอบ

เวลาตื่นเต้นตกใจ จะรู้สึกใจหายวูบ หรือเสียววูบในท้อง เป็นอาการปกติ จาก Autonomic nervous activity เปลี่ยนแปลงทันทีค่ะ

ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System)

ระบบประสาทอัตโนมัติ เรียกว่า autonomic nervous system เป็นระบบประสาทที่สำคัญในการควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในของร่างกาย ดังนั้นความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติจะทำให้เกิดโรคต่างๆขึ้นเป็นจำนวนมาก ระบบประสาทชนิดนี้ศูนย์กลางอยู่ภายในไขสันหลัง แกนสมอง และสมองส่วนฮัยโปธาลามัส โดยจะทำงานเป็นอิสระอยู่นอกเหนือการควบคุมของอำนาจจิตใจ ระบบประสาทอัตโนมัติทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ ระบบประสาทอัตโนมัตินี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
-ระบบประสาทซิมพาเตติก
-ระบบประสาทพาราซิมพาเตติก

ระบบประสาทซิมพาเตติก (sympathetic nervous system)มีผลควบคุมต่ออวัยวะภายในคือทำให้ร่างกายมีการเตรียมพร้อม ในภาวะเครียด โกรธ ตกใจ และการทำงานหนัก เรียกว่า การตอบสนองแบบสู้หรือหนี (The fight or flight response) จะเริ่มต้นจากไขสันหลังส่วนอกที่ 1 จนถึงไขสันหลังส่วนเอวที่ 2 โดยมีศูนย์กลางอยู่ในไขสันหลัง ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์อยู่ในบริเวณด้านข้างของเนื้อสีเทาของไขสัน หลังจากศูนย์กลางจะมีเส้นใยประสาทไปสู่ปมประสาท ซึ่งจะอยู่ห่างจากอวัยวะที่ไปสู่ แต่จะมีเส้นทางประสาทแยกออกไปควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ดังกล่าว การเร้าประสาทซิมพาเตติกจะทำให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับเผชิญอันตรายหรือภาวะฉุกเฉิน
Sympathetic neurons ที่เกี่ยวข้องกับเส้นประ
สาทสมองนั้น ส่วนใหญ่จะมี cell body ของ postganglionic neurons ที่ตำแหน่ง cranial cervical ganglion ได้แก่ การรับความรู้สึกด้านกลิ่น รับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น และอื่นๆอีกรวม 12 ประเภท แต่
ที่เกี่ยวกับการเสียวท้องน้อยนั้นมาจากส่วน Acoustic หรือ Auditory หรือ vestibulocochlear nerve แขนง vestibular หรือที่เราเรียกว่าระบบประสาทการทรงตัว (Vestibulocochlear sensory) ค่ะ

ระบบประสาทพาราซิมพาเตติก (parasympathetic nervous system) จะออกจากระบบประสาทส่วนกลาง โดยผ่านร่วมไปกับเส้นประสาทสมองบางเส้น และประสาทไขสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ ใยประสาทพาราซิมพาเตติกมากกว่าร้อยละ 80 อยู่ในเส้นประสาทเวกัส ซึ่งไปเลี้ยงบริเวณช่องอกและช่องท้อง เป็นระบบประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการสะสมพลังงาน ควบคุมระดับการทำงานของอวัยวะภายใน หลอดเลือดส่วนต่างๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงานได้

ผลของระบบประสาทซิมพาเตติกและพาราซิมพาเตติก จะแสดงต่ออวัยวะต่าง ๆ เช่นหัวใจ ม่านตา ระบบทางเดินอาหาร หลอดเลือด หลอดลม ต่อมเหงื่อ อุณหภูมิร่างกาย มดลูกและกระเพาะปัสสาวะค่ะ

อาการเกร็งและเสียวท้องน้อยก็เกิดจากผลของระบบประสาทซิมพาเตติกที่มีต่อกระเพาะปัสสาวะ ประสาทซิมพาเตติกทำให้กระเพาะปัสสาวะขยายยืดออก
***เมื่อร่างกายตื่นตัว ตื่นเต้น ตกใจ ซิมพาเธติกจะทำงานผลก็ตามทั้ง 9 ข้อ แต่หลังจากนั้นสักช่วงเวลาหนึ่งขึ้นอยู่กับบุคคลร่างกายจะค่อยปรับตัว คลายความตื่นเต้นลง สัญญาณประสาทที่ส่งจากซิมไปยับยั้งพาราซิมก็จะลดลง พาราซิมก็จะค่อยแสดงหน้าที่ออกมา ซึ่งแต่ละคนก็ใช้เวลาต่างกันขึ้นกับจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก และประสบการณ์แต่ละคนค่ะ

***ส่วนอาการเสียวแปลบเกิดจาก visceral refer pain เพราะบริเวณที่ร้าวมาจากกระเพาะปัสสาวะ จะรู้สึกที่ท้องน้อย และหลังส่วนเอว ลำไส้ก็รู้สึกบริเวณสะดือ ซึ่งการหดหรือขยายตัวอย่างกระทันหันของอวัยวะดังกล่าว อาจทำให้เกิดความรู้สึกบริเวณดังกล่าวได้

กลไกการทรงตัว
การที่ร่างกายของคนเราสามารถทรงตัวอยู่ได้ และรับรู้ว่าศีรษะและร่างกายอยู่ในท่าใดนั้น สมองต้องได้รับข้อมูลจากอวัยวะรับความรู้สึกที่เกี่ยวกับการทรงตัว 3 ระบบคือ

1. อวัยวะทรงตัวในหูชั้นในที่เรียกว่า vestibular apparatus ซึ่งประกอบด้วย semicircular canal, utricle และ saccule

2. อวัยวะรับรู้โดยการเห็น (visual system) ได้แก่ ตา

3. อวัยวะรับความรู้สึกจากกล้ามเนื้อและข้อ (proprioceptive system)

กรณีที่อวัยวะรับความรู้สึกที่เกี่ยวกับการทรงตัวระบบหนึ่งมีความผิดปกติ ข้อมูลที่ส่งไปยังสมองจะขัดแย้งกับข้อมูลที่ได้รับจากอวัยวะรับความรู้สึกอื่นๆ เป็นผลให้การรับความรู้สึกด้านการทรงตัวผิดไปจากปกติ (The sensory conflict) หรือกรณีที่อวัยวะในการรับรู้เกี่ยวกับการทรงตัวทำงานเป็นปกติ แต่มีการกระตุ้นที่มากเกินกว่าการทำงานตามปกติของอวัยวะรับความรู้สึกที่เกี่ยวกับการทรงตัว เช่น การกลัวที่สูง (Height vertigo)

รายละเอียดเรื่องกลไกการทรงตัวอ่านได้จากที่นี่ค่ะ
http://202.28.92.162/mediacenter/mediacenter-uploads/libs/html/725/Vertigo%20for%20MD_files/page0001.htm

2007-11-11 00:07:12 · answer #1 · answered by กระจกใส 7 · 3 0

อาการดังกล่าวเป็นปฏิกิริตอบสนองอัตโนมัติ(reflex) ที่กระตุ้นผ่านระบบการทรงตัวของร่างกาย (vestibular system)
ซึ่งมีตัวรับความรู้สึกอยู่ในหูชั้นกลาง ในส่วนของ saccule และ utricle ซึ่งภายในจะมี receptor organd ที่เป็นขนเรียกว่า hair cell ทำหน้าที่ตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของโลก และการ
เคลื่อนที่ด้วยความเร่งหรือความหน่วงในแนวเส้นตรง
(linear acceleration or deceleration) เพื่อบอก
ตำแหน่งการเอนเอียงของศีรษะเมื่อเทียบกับพื้นโลก
และทิศทางการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง

และการเคลื่อนที่ดังกล่าว เช่นเวลารถขับลงเนิน เป็นต้น ก็เหมือนกับว่าศีรษะเราเคลื่อนที่ลงในแนวดิ่งรวมกับแนวระนาบ ซึ่งมันไปกระตุ้นการทำงานของระบบรักษาสมดุลของร่างกายผ่านเจ้า hair cell ส่งผ่านไปตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 (CN VIII) ส่งผ่านไปที่ก้านสมอง (brain stem) เข้าสู่ vestibular center ในระบบบบประสาทส่วนกลาง เมื่อมีการแปลผลก็จะมีการนำสัญญาญลงมายังอวัยวะตอบสนอง ซึ่งมีผลในการควบคุมการเคลื่อนไหวดวงตาให้สัมพันธ์กับตำแหน่งของศีรษะ
รีเฟล็กซ์การทรงตัว(Equilibrium reaction) , ตำแหน่งและ
อัตราเร่งของร่างกาย ทำให้เราเกิดการเกร็งตัว กลั้นหายใจเพื่อรักษาสมดุลของร่างกายให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
ร่วมกับ sensory input ที่รับเข้ามาทางดวงตา ร่วมกับประสบการณ์ มีผลกระตุ้นระบบประสาท Sympathetic nervous system ทำเกิดการรู้สึกตื่นเต้น ตกใจ มีผลทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน (adrenaline) ซึ่งมีผลทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น เหงื่ออกมากขึ้น มือสั่น เหงื่ออกที่มือ ขนลุกซู่ และทำให้กระเพาะปัสสาวะยืดขยายออก รู้สึกมวนท้อง ซึ่งทำให้เรารู้สึกแปลกๆ ครับ

2007-11-11 05:15:51 · answer #2 · answered by Anonymous · 1 0

ขอบคุณที่ช่วยถามคำถามตรงตามที่ผมอยากถามครับ
แต่อยากถามว่าคุณถามคำถามนี้ ก่อนหรือหลังจากเห็นคำถามของผมครับ?
หรือไม่เห็นครับ?
http://th.answers.yahoo.com/question/index;_ylt=AtyAPCYoxj52JhENPkPFwpq.Tgx.;_ylv=3?qid=20071111040846AAt049x

2007-11-11 03:58:29 · answer #3 · answered by Circumlocution 1 · 0 0

เป็นความรู้สึกของสิ่งที่มีชีวิตว่ากำลังอยู่ในสภาวะอันตรายก็ตื่นตัวเตรียมพร้อมรับสภาพที่จะมากระทบขั้นเต็มพิกัดพร้อมรับความเสียหายและป้องกันเหตุฉุกเฉิน จึงทำให้เกิดความรู้สึกเช่นว่านั้นขึ้นซึ่งเกิดเพราะยังไม่มีประสพการณ์มาก่อน หากเล่นติดต่อสัก 2 ครั้ง ความรู้สึกดังกล่าวข้างต้นก็ไม่เกิดแต่จะเกิดความรู้สึกใหม่ที่สนุกและไม่เกิดอาการเกร็ง

2007-11-11 02:07:04 · answer #4 · answered by ิBl38 1 · 0 0

จะขอตอบตามความคิดเห็นที่เกิดจากตัวเราเองถ้าเราสังเกตุลึกๆ ไอ้ที่ว่าเสียววูบน่ะมันคือความกลัวที่ผสมไปกับด้วยความกล้า แต่จิตใต้สำนึกจริงๆ แล้วมันกลัวภัยอันตรายนั่นเอง(เป็นทางกวนไม่ใช่วิชาการ) ฮ่วยอยากตอบเด๋

2007-11-11 01:21:49 · answer #5 · answered by John 4 · 0 0

เอาเป็นว่าเข้าใจกันแล้ว ก็ยินดีครับ ดีกันดีกว่าเรา

2007-11-11 21:27:02 · answer #6 · answered by Devilmaycry 4 · 0 1

fedest.com, questions and answers