โรคธาลัสซีเมียนั้น นอกจากจะมีผู้ที่เป็นโรคนี้และปรากฏ อาการชัดเจนดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็น "พาหะ" ของโรค คือมี ยีนแฝงโรคนี้อยู่และสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกได้ โดยที่คนในกลุ่มนี้รูปร่างหน้าเป็นปกติเหมือนคนทั่วไป กล่าวคือ ถ้าดูจากภายนอกแล้วจะไม่รู้เลยว่ามียีนแฝงของโรคธาลัสซีเมียอยู่ แต่ถ้าแต่งงาน แล้วมีลูก ลูกมีโอกาส เป็นโรคนี้ได้
ที่น่าตกใจก็คือ เวลานี้ประเทศไทยมีคนที่เป็นพาหะของโรคนี้ประมาณ ร้อยละ 40 ของประชากร ซึ่งนับว่ามีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว
ในกรณีที่พ่อและแม่มียีนแฝงทั้งคู่
ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง
โอกาสที่จะเป็นโรคอยู่ที่ร้อยละ 25
โอกาสที่ลูกมียีนแฝงเหมือนพ่อหรือแม่เท่ากับร้อยละ 50
โอกาสที่จะมีลูกปกติเท่ากับร้อยละ 25
โอกาสเสี่ยงเท่ากันในทุกการตั้งครรภ์ค่ะ
ลูกคนที่สองของคุณก็จะมีโอกาสเป็นโรคหรือพาหะหรือไม่เป็นก็ได้ค่ะ แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอดีกว่านะคะ
ผู้ที่เป็นพาหะหรือผู้ที่มียีนแฝงของธาลัสซีเมียอยู่ในตัว จะเป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีเหมือนคนทั่วไป แต่สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติไปยังลูกได้ ตามแบบแผนการถ่ายทอดของยีน
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะได้รับพันธุกรรมของโรคมาจากบิดา และมารดา ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะพันธุกรรมของมนุษย์มีลักษณะเป็นคู่ ข้างหนึ่งจะได้รับจากบิดา และข้างหนึ่งจะได้รับจากมารดา ทั้ง 2 ข้างนี้จะทำงานร่วมกันเพื่อสร้างลักษณะของมนุษย์แต่ละคนขึ้นมา คนปกติจะมีลักษณะพันธุกรรมทั้ง 2 ข้างที่ปกติทั้งคู่ ส่วนคนที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย จะมีลักษณะพันธุกรรมที่ผิดปกติทั้งคู่ คนที่เป็นพาหะ คือคนที่ลักษณะพันธุกรรมข้างหนึ่งปกติ แต่อีกข้างหนึ่งผิดปกติ คนที่เป็นพาหะนี้ปกติจะไม่มีอาการอะไร แต่หากแต่งงานกับคนที่เป็นพาหะด้วยกัน อาจจะมีโอกาสร่วมส่งพันธุกรรมข้างที่ผิดปกติไปให้บุตร ทำให้บุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียได้
โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ที่เกิดจากการสร้าง "ฮีโมโกลบิน" ที่ผิดปกติไป ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะได้รับกรรมพันธุ์นี้มาจากบิดาและมารดา ทำให้ไม่สามารถสร้าง ฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นสำหรับการขนส่ง ออกซิเจน ของเม็ดเลือดแดงได้เหมือนคนปกติ เม็ดเลือดแดงจะมีประสิทธิภาพต่ำ และอายุใช้งานสั้นกว่าธรรมดา
โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยในคนไทย ประมาณว่ามีคนไทยมีสายพันธุกรรมของโรคนี้อยู่มากกว่า 10%
ธาลัสซีเมียมีความรุนแรงหลายระดับ ตั้งแต่ไม่มีอาการ อาการรุนแรงน้อย จนไปถึงอาการรุนแรงมากจนอาจเสียชีวิตได้ตั้งแต่อายุน้อย แต่ถ้าใครเกิดมาแล้วมีความรุนแรงแค่ไหน ก็มักจะรุนแรงแค่นั้นไปตลอด ไม่เพิ่มขึ้นหรือไม่เปลี่ยนขั้น (ยกเว้นมีภาวะธาตุเหล็กเกิน) ผู้ป่วยส่วนมากจะรู้ตัวว่าเป็นตั้งแต่อายุยังน้อย แต่มีบางรายที่มีอาการไม่มาก หรือมีอาการเฉพาะเมื่อมีไข้ ก็อาจจะมารู้ตัวเอาตอนที่เป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้
โรคธาลัสซีเมียแบ่งตามลักษณะของความผิดปกติได้ 2 อย่าง คือ alpha thalassemia และ beta thalassemia ตามตำแหน่งของความผิดปกติที่เกิดขึ้นใน ฮีโมโกลบิน ในประเทศไทยพบได้ทั้ง 2 ชนิด
ความรุนแรงของโรคธาลัสซีเมียของแต่ละคนไม่เท่ากัน ถึงแม้ในคนที่เป็นโรคนี้เหมือนกัน บางคนอาจจะมีอาการมาก จนต้องได้รับเลือดบ่อยๆ จึงจะอยู่ได้ แต่บางคนอาจจะมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่นเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
ทำอย่างไรเมื่อพบว่าคุณเป็นพาหะของโรค
เมื่อคุณตรวจเลือดพบว่ามียีนแฝงธาลัสซีเมีย ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะแต่งงานไม่ได้ ก่อนจะแต่งงานชวนคู่ของคุณไปตรวจเลือดหายีนธาลัสซีเมีย ปรึกษาและรับคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสเสี่ยงที่จะมีลูกเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
แต่ถ้าคุณกำลังตั้งครรภ์และตรวจเลือดพบว่ามียีนธาลัสซีเมีย ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ ก่อนคลอด เพื่อหลีกเลี่ยงการมีลูกเป็นเลือดจางธาลัสซีเมีย และวางแผนในการมีลูกคนต่อไป
เมื่อเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร
แม้ว่าโรคนี้ยังรักษาให้หายขาดได้ยาก ผู้ที่เป็นโรคนี้ ไม่ควรตื่นตกใจ เพราะบางรายอาจมีอาการ ไม่รุนแรง การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง จะทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้ตามปกติ ดังนั้นจึงควรปฏิบัติดังนี้
รับประทานผักสด ไข่ นม หรือ นมถั่วเหลืองมากๆ
ดื่มน้ำชาหลังอาหาร เพื่อลดการดูดซึมธาตุเหล็ก
ควรตรวจฟัน ทุก 6 เดือน เนื่องจากฟันผุง่าย
หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก หรือ การเล่น รุนแรง
งดดื่มสุรา หรือ ของมึนเมา
ถ้ามีอาการปวดท้องที่บริเวณชายโครงขวาอย่างรุนแรง มีไข้และตาขาวมีสีเหลืองมากขึ้น ควรไปพบแพทย์
ผู้ป่วยโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ห้าม! กินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก
ผู้ที่เป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมียมีโอกาสหายหรือไม่
ผู้ป่วยโรคนี้ที่ยังอายุน้อยและไม่มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง ตับม้ามไม่โตมาก ถ้ามีพี่หรือน้อง ที่มีเม็ดเลือดขาวที่เข้ากันได้ ก็อาจจะพิจารณาการปลูกถ่ายไขกระดูกทำให้หายจากโรคนี้ได้
2007-10-10 15:40:43
·
answer #1
·
answered by กระจกใส 7
·
1⤊
0⤋
ใน สมัยนี้มีการเจาะนำครำไปตรวจ ซึ่งจะสามารถทราบได้ว่าเด็กในครรภ์ จะเป็นอย่างไร ถ้าคุณอยากมีบุตรมากก์ต้อง ทดลอง ลูกคุณอาจเหมือนคุณแต่ก็ต้องแบ่งใจไว้ว่าเสี่ยงสูง..... คนเราแต่ละคนที่เกิดมาบนโลกใบนี้ไม่ได้บังเอิญ เช่น... เด็กบางคนเกิดมามีพร้อม ....เด็กบางคนเกิดมาท่ามกลางความไม่มี...ไม่พร้อม ....ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่....คุณคือคนที่พระเจ้าเลือกให้มาเกิด...( ความเชื่อส่วนบุคคล) เพราะฉนั้น..... จงเชื่อในสิ่งคิดว่าดีแล้ว.....ไม่ต้องกลัวเพราะคุณ......ไม่ได้เป็นคนเลือกแต่มี......ผู้เลือกไว้ล่วงหน้าแล้ว....ตั้งแต่ก่อนคุณเกิด.... ด้วยซำ)
2007-10-12 08:38:53
·
answer #2
·
answered by kate 1
·
0⤊
0⤋
ถามใจตัวเองว่าอยากมีลูกขนาดไหน ถ้ายังไม่มากยังไม่แนะนำให้มี
เนื่องจากมีโอกาส 25% ที่ลูกจะเป็นธาลัสซีเมีย ซึ่งจะมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีนัก
50 % จะเป็นพาหะซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการอะไร แต่ก็เท่ากับว่าเพิ่มจำนวนพาหะในประชากร (ทุกวันนี้มีอยู่ประมาณ 40 % ในประเทศ)
แต่ถ้าอยากมีบุตรอีกคนก็แนะนำให้เตรียมตัวหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ
2007-10-11 08:27:59
·
answer #3
·
answered by Sumeth J 4
·
0⤊
0⤋
ลูกสาวคนแรกเป็นพาหะด้วยหรือเปล่า ?
ไม่มีใครเก่งและรู้ดีกว่าธรรมชาติแน่ๆ ธรรมชาติพยายามจะให้สิ่งดีๆกับเราอยู่ตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่ของคุณเป็นพาหะด้วยหรือเปล่า? และ คุณพ่อคุณแม่ของภรรยาคุณเป็นพาหะด้วยหรือเปล่า?
ถ้าทุกคนเป็นเหมือนกันก็น่าคิดนะ น่าจะเชื่อคุณหมอ แต่ถ้าไม่เป็นอย่างที่ถามมา ผมค่อนข้างจะเชื่อเรื่องกฏของธรรมชาติมากกว่าที่จะเชื่อวิทยาศาสตร์พื้นๆของวงการแพทย์ธรรมดาๆกับตึกใหญ่ๆที่ทำให้ดูน่าเชื่อถือแต่จริงๆแล้วไม่ค่อยเวิร์คกับโรคภัยไข้เจ็บอะไรเลย แม้กระทั่งไข้หวัดธรรมดาๆปัจจุบันยังไม่มียาอะไรรักษาได้เลย
ตัวเราเองต่างหากที่พยายามจะรักษาตัวเราเองอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยมีหมอหรือยาอะไรเลยทำให้เล็บและผมเรายาวได้ ไม่เคยมีหมอหรือยาอะไรเลยที่ช่วยย่อยไก่หรือผักหรือผลไม้ที่เราทานเข้าไป ไม่มีใครเก่งกว่าธรรมชาติในตัวเราแน่ๆ 1+1 = 1 มีใครทำได้นอกจากธรรมชาติ ถ้าเป็นวิทยาศาสตร์ 1 + 1 = 2 ลองเลือกใช้ดูถ้าเราฉลาดที่จะเลือก
2007-10-11 03:19:17
·
answer #4
·
answered by pern5050 2
·
0⤊
0⤋
ส่วนตัวแล้วผมไม่แนะนำให้มีอีกคนน่ะครับเพราะว่าหากพิจารณาจากโอกาสแล้วจะพบว่า โอกาสที่คุณจะมีบุตรเป็นโรคนี้เต็มๆก็คือ 1 ใน 4 ครับ ถ้าหากว่ายังงงเรื่องโอกาสและความน่าจะเปิ็นอ่านส่วนวงเล็บครับ(แปลว่าถ้าเกิดว่าคุณมีไพ่สีแดงสามใบและไพ่สีดำหนึ่งใบเอามาผสมๆกันแบบคว่ำหน้าไว้ นั่นแปลว่าคุณไม่รู้หรอกว่าใบไหนเป็นใบแดงหรือใบดำ แล้วเอาไพ่สีใบนั่นคว่ำหน้ามาเรียงไว้ที่ตรงหน้าของคุณ และตอนนี้สภาพที่คุณจะเปิดไพใบเดียวครั้งเดียวแล้วได้ไพ่่ใบดำคือ 1 ใน 4 ครับ)
ถ้าหากว่าคิดเป็นโอกาสแล้วมันจะน้อยกว่าที่คุณจะได้บุตรแบบปกติ(ปกติคือ ไม่ได้เป็นโรคนะครับแต่ว่ารวมถึงว่าอาจจะเป็นพาหะก็เหมือนกับคุณน่ะหละที่ผมยังคิดว่าเป็นปกติอยู่) แม้ว่าโอกาสที่คุณจะได้บุตรออกมาไม่ปกติ(เป็นโรค)มันจะน้อยกว่าโอกาสที่จะได้มาปกติ(ไม่เป็นโรค หรือเป็นพาหะ) ก็ไม่คุ้มค่าที่เสี่ยงครับ เพราะเป็นแล้วต้องไปลำบากฟอกเลือดเป็นประจำต้องไปทรมานกับการเป็นโรค คุณอยากให้บุตรของคุณต้องอยู่ในสภาพนั้นหรือป่าวล่ะครับ หรือจะดีซะกว่าก็คือไม่ให้เกิดซะ ก็เท่านั้นครับ
ลองนึกๆนะครับ ถ้าเกิดว่าออกมาแล้วปกติ .. แล้วมีประโยชน์อะไรล่ะครับ เพราะว่าคุณก็มีแล้วคนนึง หรือว่าจะหามาเป็นน้องให้กับลูกคนแรกของคุณ หรือว่าคุณกลัวที่จะเหงาว่าถ้าเกิดว่าลูกคนแรกของคุณตายแล้วจะไม่มีคนอื่นดูแลหรือป่าวล่ะครับ ถ้าเกิดว่าไม่ใช่ ก็คิดว่า การที่ทำโอกาสให้คนที่เกิดมามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรค กับการที่ไม่ได้เกิดออกมานั่น การที่ไม่ให้เกิดออกมาจะมีประโยชน์ต่อตัวคุณมากกว่าครับ
อย่าเพิ่มพาหะให้กับสังคมเลยครับ ตอนนี้ก็เยอะอยู่แล้วครับ
สำหรับคนอื่นๆนะครับ แนะนำว่า ให้ตรวจโรคนี้ซะก่อนเพราะว่าโอกาสที่คุณจะต้องมาเจอกับเรื่องแบบนี้จะลดลงไปได้ถ้าเกิดว่าคุณมีข้อมูลว่าใครเป็นพาหะหรือใครไม่เป็นซะก่อนก่อนที่จะรักกันซะก็จะทำให้ช่วยๆกันลดคนที่เกิดมาเป็นพาหะของโรคนี้ได้ครับ
สุดท้่ายก็ขึ้่นกับตัวคุณน่ะหละครับ ว่า .. คุณน่ะคิดยังไง.. ไม่มีใครตัดสินใจแทนได้หรอกครับ
2007-10-11 01:25:16
·
answer #5
·
answered by RackmanagerPro 3
·
0⤊
0⤋
ขอยืนยัน 1,000% ว่าอย่ามีค่ะ เพราะว่าตอนนี้เป็นความรู้สึกของพ่อแม่ที่อยากมีลูกอีกคน แต่ยังมีความรู้สึกของอีก 1 ชีวิตที่คาดว่าจะเกิด (ถ้าคุณจะมีอีกคน) ว่าหากเค้าเป็นโรคขึ้นมา จะมีความเจ็บปวดแค่ไหน ความรู้สึกของลูกสำคัญที่สุดค่ะ แม้ว่าจะยังไม่เกิด :P
เป็นกำลังใจให้ค่ะ สู้ สู้
2007-10-11 00:37:56
·
answer #6
·
answered by polla 2
·
0⤊
0⤋
ถ้าเป็นอย่างที่คุณหมอว่ามาจริงๆ ก็อย่าฝืนเลยครับ น้องเขาไม่รู้เรื่องเลย ถ้าต้องเกิดมาแล้วมีปัญหาเรื่องสุขภาพ เขาก็จะต้องระวังรักษาสุขภาพเขามากๆ เราก็จะเป็นทุกข์ตามเขาไปด้วยนะครับ แล้วคุณและภรรยาก็มีลูกคนนึงแล้วด้วย
แต่ในขณะที่คิดอยู่นี้ไม่แน่ใจว่าวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์พอจะช่วยเหลือในเรื่องนี้ได้ไหม เช่นป้องกันโรคนี้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ ถ้ามันทำได้แบบเบ็ดเสร็จ 100% ก็น่าคิดครับ ถ้าไม่ได้ตามนั้น ผมว่าอย่าเลยครับ
2007-10-10 23:06:34
·
answer #7
·
answered by Jakrapong 5
·
0⤊
0⤋
เป็นผม ถ้ามีความเสี่ยงแล้วยิ่งเป็นบุตรเราด้วยแล้ว คงไม่มีดีกว่าครับ
2007-10-10 22:31:13
·
answer #8
·
answered by vudhipong 2
·
0⤊
0⤋