อาจเป็นความเห็นที่แตกต่างนะครับ
การออกเสียงโหวต"ไม่เลือก"
คำถามว่ามีประโยชน์หรือไม่เพียงใด
ตอบว่า"ไม่มีประโยชน์"ทางการเมืองเพราะทางการเมืองเขาจะนำคะแนนเฉพาะที่เลือกเสียงข้างมากเท่านั้นมาใช้ประโยชน์ฉะนั้นการเมืองจะมาบอกว่าไม่พอใจไม่ถูกใจก็คงไม่ใช่แต่อาจไม่ถูกใจทั้งหมดมีพอฟังได้ก็ควรเลือกที่เห็นว่าที่ดีและเหมาะสมเท่าที่มีให้ขณะนั้นครับ
คำถามที่ว่า"มีความหมาย"หรือไม่เพียงใด
ตอบว่า"มีความหมาย"ทางการเมืองแน่นอนเพราะหากมีจำนวนมากจะแสดงให้เห็นถึงความไม่เห็นด้วยกับอะไรสักอย่างเช่นไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ,ไม่เห็นด้วยกับนโยบายพรรค,ไม่เห็นด้วยกับผู้สมัคร,ไม่เห็นด้วยกับคณะกรรมการเลือกตั้งซึ่งจะแสดงผลออกมามีความหมายแน่นอนครับ
2008-01-01 02:33:02
·
answer #1
·
answered by นายริด 4
·
1⤊
0⤋
ผมคิดว่าการ "ไม่เลือก" พรรคใดหรือผู้สมัครคนใดนั้น แสดงให้เห็นว่า ไม่มีพรรคหรือผู้สมัครคนใดที่เข้าตา ไม่รู้ว่าจะเลือกใคร เพราะไม่มีนโยบาย หรือผลงาน ที่เป็นที่พอใจและคิดว่าทำได้จริง ส่วนใหญ่ยังคงเป็นแบบเดิมๆ พรรคเดิมๆ ผู้สมัครคนเดิม ที่เคยเลือกไปแล้วก็ไม่เห็นว่าจะทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ บ้านเมืองได้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางที่ดีขึ้น
ซึ่งคะแนนตรงนี้ คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ ถ้าหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เอามาทำการวิจัย ดูว่าส่วนใหญ่ คะแนนเหล่านี้กลุ่มคน กลุ่มใด ภาค จังหวัด เขต ไหนลงคะแนน "ไม่เลือก" เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่าทำไมจึงเลือกลงคะแนน "ไม่เลือก" พรรคใดหรือผู้สมัครคนใด และจะมีวิธีหรือปรับปรุงอย่างไร เพื่อที่จะให้คะแนนในส่วนนี้ลดลงไป
น่าเสียดายคะแนนส่วนนี้จริงๆ
2007-12-23 01:49:45
·
answer #2
·
answered by Webmonster™ 5
·
2⤊
0⤋
ก็เป็นการใช้สิทธิของตนเอง
และแสดงความรู้สึกอย่างที่หลายคน
บอกไว้ก่อนหน้าว่าไม่ถูกใจพรรคและคน
ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง
Moment of Truth มีอยู่ว่าคะแนนการไม่เลือก
ไม่เคยมีมากพอที่จะสร้างความสำนึกให้กับ
นักการเมือง (ซึ่งไม่รู้ว่ามีกันอยู่มากน้อยเท่าไร)
เลยทำให้พรรคที่มีคะแนนจัดตั้ง และคะแนนที่ได้
มาด้วย(อ)กุโศลบายมีโอกาสชนะได้
ผมคิดว่าเสียดายของครับ
2007-12-22 22:30:21
·
answer #3
·
answered by Nick 6
·
1⤊
0⤋
การลงคะแนนช่อง"ไม่ขอลงคะแนน"เลือกพรรคหรือผู้สมัครคนใด
อย่างน้อย ก็ถือว่าเค้าได้ใช้สิทธิ์ที่ตัวเองพึ่งมี เป็นคนไทยเต็มตัวคนหนึ่งที่ไม่นิ่งดูดายบ้านเมือง ไม่นอนหลับทับสิทธิ์
โดยปกติแล้ว ความชอบหรือความคิดเห็นของคนเรามักจะแตกต่างกัน ไม่มากก็น้อย
เค้าอาจจะแตกต่างหรือมีแนวทางความคิดไม่เหมือนกับผู้สมัครที่มีให้เลือกอยู่เลย แต่นั้นก็ไม่มีปัญหาอะไร
ยกเว้นเสียจากว่า ผลสรุปในการเลือกตั้งครั้งนั้นๆแล้ว มีผลงดออกเสียงไม่ขอลงคะแนนมามากกว่าครึ่งหรือกึ่งนึง
หากเป็นเช่นนี้แล้ว แม้กฎหมายจะไม่ได้แสดงผลกับจุดนี้อะไรมากนัก แต่ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งไปควรจะรับทราบไว้และพยายามปรับปรุงตัวว่า"ตอนนี้ประชาชนต้องการอะไรกันแน่?"
2007-12-22 20:59:01
·
answer #4
·
answered by Love Love 6
·
1⤊
0⤋
เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของผู้เลือก''โนโหวต'' เพื่อร่วมกันในการผลักดันให้มีการแก้ไขเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ภายหลังจากการเลือกตั้ง โดยอ้างว่าจะเป็นหนทางให้สังคมไทยได้กลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงในอนาคตได้ และเพื่อแสดงว่าไม่มีพรรคการเมืองใดแสดงให้เห็นถึงนโยบายที่ชัดเจน ที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับระบอบประชาธิปไตยและประเทศชาติ
อีกทางหนึ่งเป็นการใช้คะแนนเสียงเพื่อแสดงให้เห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่มีผู้ใดพรรคใดเหมาะสมที่จะได้รับเลือก แสดงให้เห็นว่าประชาชนไม่เห็นสส.คนไหนหรือพรรคใดเหมาะสมหรือดีพอ หรือเบื่อการเมืองที่มีแต่ความสกปรก แก้ไขปัญหาบ้านเมืองไม่ได้เหมือนที่เคยให้สัญญาไว้
แต่ต่อให้เปลี่ยนรัฐธรรมนูญอีกกี่ครั้ง หากผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการบ้านเมือง ยังไม่มีสำนึกและการกระทำที่ดีต่อประเทศชาติ บริหารบ้านเมืองไม่โปร่งใส เต็มไปด้วยการคอรัปชั่น สุดท้ายก็คงอยู่ไม่ได้ และเป็นภาระที่เราคนไทยต้องมาเลือกตั้งกันใหม่ค่ะ
2007-12-22 20:53:46
·
answer #5
·
answered by กระจกใส 7
·
1⤊
0⤋
มีความหมายว่า ผู้เลือกไม่ถูกใจหรือรู้สึกว่าไม่ดีพอ ที่จะเลือกผู้ลงสมัครหรือนโยบายพรรค
การโหวตไม่เลือกเพื่อสะท้อนความรู้สึกของผู้ออกเสียงว่า ผู้สมัครและพรรคควรเปลี่ยนพฤติกรรมเสียใหม่ เพราะผู้มีสิทธิ์ออกเสียงไม่เห็นด้วยกับผู้สมัครและพรรค
ถ้าออกเสียงไม่เลือกกันเกินกว่าครึ่งของการเลือกตั้ง แล้วผู้สมัครยอมรับและแก้ไขตัวเองอย่างจริงจัง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับอย่างแท้จริงเมื่อใด การออกเสียงไม่เลือกจะเป็นอาวุธสำคัญ ในการถ่วงดุลย์พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ของผู้สมัครรับเลือกตั้งในสมัยต่อไป
2007-12-22 20:37:24
·
answer #6
·
answered by Brunello 6
·
1⤊
0⤋
ก่อนอื่น..เรามาตกลงกันก่อนว่า ถ้ามีผู้สมัครสองคนคือ A และ B และผมมีสิทธิออกเสียงได้ 1 เสียง ผมมีทางเลือกสามทางดังนี้
1)เลือกนาย A
2)เลือกนาย B
3)ไม่เลือกใครเลย
การเดินทางไปลงคะแนนเสียง ต้องเสียทั้งเวลาทำมาหากินและเงินค่าเดินทาง ฯลฯ
ดังนั้นการไม่ออกเสียง ถือเป็นการ"ตั้งใจ"แสดงออก ที่ควรได้รับการรับรองตามกฏหมายว่า"ถูกต้อง"
เพราะคนลงคะแนนเสียงไม่มีหนทางใดอื่นจะแสดงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรู้ได้ว่า พรรคหรือผู้สมัครที่มีให้เลือกนั้น "ยังไม่สมควรจะมาบริหารจังหวัด หรือบริหารประเทศ"
หนทางที่ประชาชนจะทำได้คือการกา"โนโหวต" และการ"โนโหวต"นี้น่าจะเป็นการปลุกสำนึกแด่พรรคการเมืองและนักการเมืองน้ำเน่าทั้งหลาย ให้หันมาดู และฟังเสียงของประชาชนบ้าง
แม้เขาจะเป็นประชาชนส่วนน้อยของประเทศ..แต่เขาก็เป็นคนส่วนใหญ่ของท้องถิ่นนั้น ที่สามารถพลิกผันผลเลือกตั้งได้ อย่างที่เราเห็นๆกันมา
2008-01-05 18:54:16
·
answer #7
·
answered by Stardust 7
·
0⤊
0⤋
ก็หมายความว่าในบรรดาผู้สมัครทั้งหมด ไม่มีใครน่าลงคะแนนเสียงให้ ถ้า no vote กันมากๆ มันก็สะท้อนให้นักการเมืองและพรรคการเมืองได้รู้ว่าพวกเขายังต้องทำการบ้านอีกเยอะ ประชาชนเค้าฉลาดขึ้นนะ เก่งแต่เลวก็ไม่พอ ดีแต่ช้าก็ไม่เอา ฉลาดแต่ชั่วก็ไม่ดี
2007-12-29 06:38:00
·
answer #8
·
answered by nut_themad 3
·
0⤊
0⤋
คิดว่าการออกเสียงโหวต ไม่เลือก มีประโยชน์คือสามารถที่จะได้รับทราบว่าประชาชนจำนวนมากน้อยแค่
ไหนที่ไม่พึงพอใจต่อคุณสมบัติหรือความสามารถของผู้ลงสมัครหรือพรรคการเมืองเหล่านั้น เป็นผลสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย เพราะหากว่าเราไม่ชอบใครหรือพรรคใดเลยแต่ก็อุตส่าห์เลือกไปจนได้เช่นนี้ก็ทำให้
เป็นการจำใจเลือกและผลที่สุดเราก็อาจได้คนหรือพรรคที่ไม่ดีพอในการบริหารบ้านเมืองต่อไป
และคิดว่าสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องอธิบายให้ประชาชนอีกมากมายที่ยังไม่เข้าใจสิทธิในการที่จะไม่เลือก
ใครหรือพรรคใดๆก็ได้
2007-12-28 13:28:27
·
answer #9
·
answered by picasso 2
·
0⤊
0⤋
ไม่เลือกมีประโยชน์มีความหมายถึงการปฏิเสธที่จะไม่เลือกใครสักคนที่มาให้เลือก
ถ้าไม่เลือกมีจำนวนน้อยก็ไม่มีประโยชน์
แต่ถ้ามากถือว่าผิดปรกติ
แต่ไม่มีประโยชน์ในระบบประชาธิปไตยแม้แต่น้อย
เพราะระบบประชาธิปไตยจะสมบูรณ์ต้องเลือกตั้งให้ได้คนหรือพรรค ถ้าไม่เลือกก็เหมือนคนที่เลือกอาหารที่จะเสพไม่ได้เสพ
แล้วการเสพจะเกิดได้อย่างไร
ไม่เลือกมีประโยชน์แค่ลางบอกเหตุแต่ไม่เป็นประโยชน์แห่งความสำเร็จของประชาธิปไตย
2007-12-26 10:27:19
·
answer #10
·
answered by sthitmas1375 2
·
0⤊
0⤋