English Deutsch Français Italiano Español Português 繁體中文 Bahasa Indonesia Tiếng Việt ภาษาไทย
หมวดหมู่ทั้งหมด

ได้ข่าวมาบ้างว่ารูโอโซนกำลังเล็กลง แต่ต้องใช้เวลาอีกหลายสิีบปีกว่าจะคืนสภาพสมบูรณ์ แล้วรูโอโซนนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับโลกร้อนหรือไม่

2007-12-21 03:02:22 · 4 คำตอบ · ถามโดย Brunello 6 ใน วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โลกวิทยาและธรณีวิทยา

4 คำตอบ

จากข้อมูลของยานอวกาศที่ศึกษาบรรยากาศโลก ทั้งของนาซ่า และของ National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) ที่ปรากฏมา แสดงให้เห็นว่า รูโอโซน มีขนาดและความหนาในชั้นบรรยากาศพอกัน ซึ่งผิดไปจากแนวทางเดิม ที่ลดลงเรื่อยมาทุกปีตั้งแต่เรามีการสำรวจโอโซนในอวกาศเป็นต้นมาตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ ๑๙๗๐

การที่ขนาดของรูโอโซนเริ่มปรากฏว่ามีความคงที่เป็นครั้งแรก ก็แสดงให้เห็นว่า มาตรการลดการผลิต Chlorofluorocarbon(CFC) เริ่มปรากฏผลในทางที่ดีให้เห็นได้เป็นครั้งแรก เนื่องจาก CFC สามารถทนอยู่ในบรรยากาศได้เป็นเวลานานมาก แม้เราตัดการผลิตทั้งหมดบนโลกอย่างปุปปับวันนี้ กว่าจะเห็นผลที่แท้จริงก็ต้องเป็นอวลาอย่างน้อยๆเป็นสิบปีขึ้นไป

หากเราสามารถรักษามาตรการลดการผลิต CFC ไปเรื่อยๆแล้ว ขนาดของรูโอโซนคงจะเริ่มหดตัวลงในไม่ช้านี้เป็นแน่ หากไม่มีเหตุการณ์สุดวิสัยทางธรรมชาติ เช่นการระเบิดภูเขาไฟ ที่พ่นละอองของเหล็วเล็กๆ ที่เรียกว่า aerosol ขึ้นไปในบรรยากาศเป็นจำนวนมาก จนไปช่วยเพิ่มอัตราการทำงานโอโซนในธรรมชาติ เราก็คงจะได้เห็นการฟื้นตัวของโอโซนอีกในไม่นานเกินรอ

**รูโหว่โอโซนนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับโลกร้อนหรือไม่

เกี่ยวข้องแน่นอน เพราะมีรายงานว่ามีการตรวจสอบสภาวะเรือนกระจกที่ขั้วโลกเหนือเมื่อเดือนกันยายนปี 2006 ที่ผ่านมา พบว่า
กลุ่มโอโซนเป็นช่องโหว่(ภาษาสวีดิชใช้คำว่า)"รูโอโซน" ขยายตัวเป็นวงกว้างถึง 27.4 ล้านตารางกิโลเมตร เปรียบเทียบให้ดูง่ายๆคือคงจะใหญ่กว่าประเทศไทยถึง60เท่า
โลกของเรามีก๊าซต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่โดยรอบ ทำหน้าที่คล้ายเรือนกระจกหรือกรีนเฮาส์เป็นเกราะกำบังกรองความร้อนที่จะผ่านลงมายังพื้นผิวโลกและเก็บกักความร้อนบางส่วนเอาไว้ ทำให้โลกมีอุณหภูมิพอเหมาะสำหรับการดำรงชีวิต
แต่ในปัจจุบัน มนุษย์กำลังเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกอย่างร้ายแรงโดยการก่อและใช้สารเคมีบางชนิดในกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถทำลายเกราะป้องกันของโลกทำให้เกิดก๊าซบางชนิดเช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4)
ก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC8) และก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) เป็นต้น
และก๊าซเหล่านี้บางยังก่อให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก GREENHOUSE EFFECT
โดยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจนหนาแน่นขึ้นทำให้เก็บกักความร้อนได้มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิอากาศของโลกสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ต่าง ๆ และมหาสมุทรจะขยายตัวจนเกิดน้ำท่วมได้ในอนาคต

การปล่อยก๊าซเรือนกระจก( GREENHOUSE EFFECT ) เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ
ก่อมลพิษทางอากาศ
ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนซึ่งปกป้องผิวโลก
ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนอันเนื่องมาจากอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกสูงขึ้น

และการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนนี่เองที่มีการตรวจพบล่าสุดว่า เกิดรูโหว่ของชั้นบรรยากาศโอโซน ที่เรียกว่า"รูโอโซน" ขยายตัวเป็นวงกว้าง
ถึง 27.4 ล้านตารางกิโลเมตรเปรียบเทียบให้ดูง่ายๆคือคงจะใหญ่กว่าประเทศไทยถึง60เท่า

สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC)
สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอนเรียกสั้นๆ ว่า “สาร CFC” หรืออีกชื่อหนึ่ง “ฟรีออน” (Freon) เป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ มิได้เกิดเองตามธรรมชาติ หากแต่มีแหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และสเปรย์ สาร CFC มีองค์ประกอบเป็น คลอรีน ฟลูออไรด์ และโบรมีน ซึ่งมีความสามารถในการทำลายโอโซน ตามปกติสาร CFC ในบริเวณพื้นผิวโลกจะทำปฏิกิริยากับสารอื่น แต่เมื่อมันดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ โมเลกุลจะแตกตัวให้คลอรีนอะตอมเดี่ยว และทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน เกิดก๊าซคลอรีนโมโนออกไซด์ (ClO) และก๊าซออกซิเจน
ถ้าหากคลอรีนจำนวน 1 อะตอมทำลายก๊าซโอโซน 1 โมเลกุล ได้เพียงครั้งเดียวก็คงไม่เป็นปัญหา แต่ทว่าคลอรีน 1 อะตอม สามารถทำลายก๊าซโอโซน 1 โมเลกุลได้นับพันครั้ง เนื่องจากเมื่อคลอรีนโมโนออกไซด์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนอะตอมเดี่ยว แล้วเกิดคลอรีนอะตอมเดี่ยวขึ้นอีกครั้ง ปฏิกิริยาลูกโซ่เช่นนี้จึงเป็นการทำลายโอโซนอย่างต่อเนื่อง
การลดลงของโอโซน
นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจพบรูโหว่ขนาดใหญ่ของชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์คติก บริเวณขั้วโลกใต้ เกิดขึ้นจากกระแสลมพัดคลอรีนเข้ามาสะสมในก้อนเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ ในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤษภาคม – กันยายน (ขั้วโลกเหนือไม่มีเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ เนื่องจากอุณหภูมิไม่ต่ำพอที่จะทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำในอากาศ) เมื่อถึงเดือนตุลาคม ซึ่งแสงอาทิตย์กระทบเข้ากับก้อนเมฆ ทำให้คลอรีนอะตอมอิสระแยกตัวออกและทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน ทำให้เกิดรูโหว่ขนาดใหญ่ของชั้นโอโซน ซึ่งเรียกว่า “รูโอโซน” (Ozone hole)

***รูโหว่โอโซน มีส่วนทำให้น้ำในโลกระเหยออกไปนอกอวกาศหรือเปล่า?

รูโหว่โอโซนไม่ได้ทำให้น้ำในโลกระเหยออกไป แต่โอโซนทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้รังสีที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์ตกมาถึงโลกมากเกินไป ทำหน้าที่กรองรังสีอุลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ออกไป 99% ก่อนถึงพื้นโลก ถ้ามีรูโหว่แสงอาทิตย์ก็จะส่องลงมายังพื้นโลกได้มากขึ้น หากร่างกายมนุษย์ได้รับรังสีนี้มากเกินไป จะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ส่วนจุลินทรีย์ขนาดเล็ก เช่น แบคทีเรีย จะถูกฆ่าตาย
ที่เราเรียกว่า รูโอโซน คือระดับที่ต่ำของปริมาตรโอโซน ในบรรยากาศการสูญเสียโอโซนในบรรยากาศระดับสูง เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง
เพราะว่า โอโซน ช่วยดูดซับรังสียูวีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก จะทำให้ผิวหนังของมนุษย์มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง สูงขึ้น
รูรั่วของโอโซนมีผมต่อจุลินทร์ชีพ ถ้าจุลินทรีตาย ก็เรื่องใหญ่มาก ห่วงโซ่อาหารขาดสะบั้น
มนุษย์คงจะมีปัญหาในการดำรงชีพแน่นอน

จากรายงานการประเมินโอโซนในปี ค.ศ. 1991 พบค่าโอโซนต่ำลงในฤดูร้อนด้วย
และเมื่อผู้คนอยู่กลางแจ้งจะได้รับแสงอัลตราไวโอเลตสูงสุดในฤดูร้อนเนื่องจากโอโซนสูญเสียไปในเวลาเดียวกัน และในปีหลังๆ พบว่ามีปัญหาสุขภาพมากขึ้น หากมีรังสียูวีเล็ดรอดลงมาบนโลกได้มากขึ้นจะมีผลกระทบมากมายในทางเศรษฐกิจของทั้งโลกได้

2007-12-21 11:24:17 · answer #1 · answered by กระจกใส 7 · 1 0

นี่ไม่ใช่คำตอบ แต่เป็นความสับสน

1) คำกล่าวว่ารูโอโซน มันอยู่ตรงไหน โลกหมุนรอบ
ตัวเองตลอดเวลามันจะเปลี่ยนไหม ความกดอากาศ
ไม่เท่ากันตลอดเวลามีผลการช่องโอโซนนี่ไหม
หรือมันเป็นช่องถาวร ที่ไม่สามารถเกลี่ยระบายให้ปิดได้

2) ที่ว่าคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้นเหตุของโลกร้อน
สังเกตไหมว่าความกดสูงไม่ได้แผ่มาประเทศไทย แต่มัน
ปลิ้นไปทางซีกโลกอื่น ทำให้หนาวเย็นรุนแรงกว่าทุกปี
แต่ประเทศไทย (กรุงเทพ+ภาคใต้) กับร้อนและฝนตก
แสดงว่าสมมติฐานที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี
ใช้ไม่ได้แล้วหรืออย่างไร เพราะอุณหภูมิไม่ได้ลดลง

3) เป็นที่ทราบกันดีว่า CO2 มีน้ำหนักมาก จะลอยอยู่
บนผิวโลก เข้ากับทฤษฎีโลกร้อน ถ้ามากจริงสภาวะ
อากาศที่เราหายใจจะเป็นอย่างไร เพราะออกซิเจน
จะต้องมีปริมาณลดลง เราจะหายใจกันอย่างไร
ทำไมพูดถึงแต่ความร้อน ทำไมไม่แก้ไขปัญหาอากาศ
ไม่มีสำหรับหายใจ หรือคนบนโลกนี้ไม่สำคัญเสียแล้ว

4) ทฤษฎีที่ว่าต้นไม้ต้องการ CO2 เปลี่ยนไปแล้วหรือ
ต้นไม้มีไม่เพียงพอที่ที่จะทำลาย CO2 ในอากาศ
ทำไมไม่รณรงค์ให้ปลูกต้นไม้ให้เต็มโลกล่ะ แปลกจริง
จริงอยู่เราอาจจะคิดที่ปลายเหตุ แต่ก็ช่วยได้มิใช่หรือ

5) นักวิทยาศาสตร์เรื่องสิ่งแวดล้อมไปไหนหมด ทำไม
ปล่อยให้อดีตนักการเมืองเป็นตัวการปล่อยข่าว และ
ตื่นเต้นเฉพาะบางประเทศ และเป็นประเทศคู่ต่อสู้กัน
ทางเศรษฐกิจ หรือมีอะไรแอบแฝง หรือเป็นจุดเริ่มของ
การทำลายคู่แข่งทางเศรษฐกิจ และเกิดผลในความ
อ่อนแอทางยุทธศาสตร์กันแน่

6) ผู้ผลิตน้ำมันอันเป็นตัวการ ไม่ได้รับผลกระทบ ในทาง
กลับกัน เริ่มมีข่าวว่าน้ำมันจะหมดเมื่อนั้นเมื่อนี้ ปล่อยให้
คนในตลาดหุ้นน้ำมันรวยอีกฝ่ายเดียวและไม่กี่คน
และผลกระทบคนจนกันทั้งโลก ควรมีตลาดน้ำมันนี้
อยู่ต่อไปในโลกหรือไม่ เฮดฟันด์ทั้งหลายควรคบหรือควร
ทำลายให้สิ้นซาก แล้วปล่อยให้การค้าน้ำมันเป็นเรื่อง
ของรัฐบาลต่อรัฐบาล ปัญหาเรื่องราคาก็จะกลับมาที่เดิม

บ่นซะน้ำลายเหนียว

2007-12-21 16:42:47 · answer #2 · answered by Kanes 6 · 1 0

ได้ข่าวว่าไม่มีครับ น้ำแข็งแค่ละลายเร็วลงมากองอยู่ในมหาสมุทร ทำให้น้ำทะเลมีจะนวนมากขึ้นทันใจ ส่วนโลกร้อนเป็นเพราะน้ำทะเลซึ่งทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิโลกมันไม่ทำหน้าที่ตามปรกติ เพราะมันร้อนขึ้นเหมือนรถที่วิ่งตอนหม้อน้ำร้อนจัด จนถึงเดี๊ยวนี้ยังไม่มีอะไรระเหยออกไปนอกโลกเลยครับ ความจริงให้คนไม่ดีมันระเหยออกไปบ้างก็คงจะดี เอหรอกถามหรือเปล่า

2007-12-21 09:28:26 · answer #3 · answered by Anonymous · 1 0

เรามาจำแนน ชั้นบรรยาโลกก่อนครับ
ชั้นบรรยากาศโลก (ถ้าไม่กล่าวถึงชั้นย่อยที่เป็น isothermal)
แบ่งเป็น

-Troposphere ระดับความสูงจากพื้นโลก[ 0-11 km]
... เป็นชั้นหลักที่เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพถูมิอากาศ อาทิ ฝน ลม พายุ และอุณหภูมิจะลดลงตามความสูงจากพื้นผิวไปจนถึงประมาณ -55 องศา C คิดเป็น 75% ขององค์ประกอบหลักของบรรอากาศ

-Stratosphere [20-48 km]
... ชั้นนี้อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นตามความสูง มีโอโซนเป็นองค์ประกอบ เรียกว่า Ozone layer

-Mesophere [48 - 80 km]
... เป็นชั้นที่อณหภูมิจะลดลงสู่ระดับความเย็นถึงประมาณ -90 C

-Thermosphere [90 - ขึ้นไป - 600 km]
... ชั้นสุดท้ายของบรรยากาศ ซึ่งอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นตามความสูง เนื่องจาก radiation จากดวงอาทิตย์ *ชั้นนี้แบ่งย่อยเป็น 2 ชั้น ซึ่งเรียกว่า
...*- Ionosphere : ใช้สะท้อนคลื่นวิทยุในการสื่อสารได้
...*- Exosphere : ชั้นสูงสุดของบรรยากาศ

หมายเหตุ* รอยต่อส่วนบนของ 3 ชั้นแรก ยังแบ่งเป็นชั้นย่อย ๆ ซึ่งลักษณะ isothermal อีก ซึ่งเรียกว่า tropopause, stratopause, mesopause ตามลำดับ

เรารู้หลักคราวๆชั้นบรรยากาศแล้วนะครับ
ความสำคัญของชั้นบรรยากาศ โอโซน จะของป้องกันไม่ให้แสงอาทิตย์ ส่องเข้ามาโลกโดยตรงครับ พูดง่ายๆเป็นด่านป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์โดยตรง หน้าร้อนเราก็จะร้อนไม่มากเพราะ ชั้นบรรยากาศโอโซน ช่วยลดระดับรังสี uv ครับ
แต่ในขณะนีโลกเรากำลังเผชิญปัณหาสถาวะโลกร้อนเพราะปริมาตรในชั้นบรรยากาศโอโซนลดลงอย่ามากเนื่องจาก สารcfc ไปทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน และก๊าซคาร์บอนไดออนไซน์ มีปริมาตรมากจนส่งผลกระทบทำไห้เกิดสภาวะเรือนกระจก
อะไรคือสภาวะเรื่อนกระจก
สาเหตุสำคัญมาจากก๊าซ CO2 ทำหน้าที่กั้นความร้อนจากแสงไม่ให้สะท้อนออกไปนอกโลก
พูดง่ายคือความร้อนจากแสงอาทิตย์มาได้แต่ออกไปไม่ได้ ส่งผลให้โลกเกิดความร้อนสะสมอยู่ตลอดเวลาครับ
การขาดชั้นบรรยากาศโอโซน
ทำให้โลกอยู่ในสภาวะที่ร้อนตลอดเวลาเพราะไม่มีตัวกันกลางความร้อนและรังสี uv จากพระอาทิตย์
ก๊าซคาร์บอนไดออไซน์รึ CO 2 ทำให้เกิดสถาวะเรือนกระจก ความร้อนจึงไม่มาสามารถออกไปจากโลกได้ครับ
การคืนสถาพธรรชาติและชั้นบรรยากาศต้องเวลาเป็นร้อยปี่ขึนไปครับไม่ใช่ 10-20 ปี่แน่ แต่เราไม่ลดก๊าซและปริมาตรสารต้องห้ามละก็เราคงต้องเป็นล้านปี่ครับกว่าโลกจะคืนสภาพเดิม

2007-12-21 05:35:11 · answer #4 · answered by tawat 2 · 1 0

fedest.com, questions and answers