English Deutsch Français Italiano Español Português 繁體中文 Bahasa Indonesia Tiếng Việt ภาษาไทย
หมวดหมู่ทั้งหมด

"ที่วัดจะมีพระพุทธรูป ประจำวันกันทุกวัน แต่วันพุทธ แปลกกว่าวันอื่น มีพระประจำวันพุทธกลางวัน และพระประจำวันพุทธกลางคืน" "วันอื่นทำไมไม่มี" ทั้งที่มีกลางวันและกลางคืนเหมือนกัน" ... งงงงงงงงงงงงงงงงงง รบกวนตอบข้อสงสัยให้หน่อยคร้าบบบบบบบบบบบ

2007-12-02 14:21:09 · 3 คำตอบ · ถามโดย copter 3 ใน สังคมและวัฒนธรรม ศาสนาและจิตวิญญาณ

3 คำตอบ

คนเกิดวันพุธนั้นตามตำราไทยจะแบ่งเป็นเกิดวันพุธกลางวันและวันพุธกลางคืน พุธกลางคืนเป็นราหู ซึ่งเรียกว่าวันราหู ดังนั้นจึงมีลักษณะนิสัยใจคอและอื่นๆแตกต่างกันในรายละเอียด
พุธกลางวันนับตั้งแต่ 06.01น.ของวันพุธเช้านั้นถึง18.00น.
พุธกลางคืน(ราหู)นับตั้งแต่ 18.01-06.00น.ของเช้าอีกวันหนึ่งค่ะ

เมื่อกล่าวถึงวันทางจันทรคติ ใครๆก็ย่อมรู้ว่า หมายถึง วันทั้ง 7 ในสัปดาห์ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ ซึ่งตรงกับชื่อดาวเคราะห์ในท้องฟ้า ที่เรามองเห็นอยู่เป็นประจำนั่นเอง แต่เมื่อพูดถึงทักษาประจำวันเกิดแล้ว ในวิชาโหราศาสตร์ไทยเรา มีการเพิ่มดาวเคราะห์ขึ้นมาอีกหนึ่งดวง คือ ราหู หรือโลกที่เราอยู่นั่นเอง ซึ่งนับเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งเหมือนกัน (ความจริงเป็นจุดคราสของดวงจันทร์) ในการเพิ่มดาวเคราะห์ขึ้นมาอีก 1 ดวง รวมกับของเก่า 7 ดวง เลยทำให้ดาวเคราะห์ประจำสัปดาห์เพิ่มเป็น 8 ดวง และถ้าจะให้เพิ่มวันในสัปดาห์เป็น 8 วันจริงๆแล้ว ก็คงทำให้กฎเกณฑ์และมาตรฐานต่างๆที่วางไว้แล้วต้องเปลี่ยนไป จึงได้มีการแบ่งวันพุธ ซึ่งเป็นวันกลางระหว่าง 7 วัน ออกเป็น 2 ส่วน คือ พุธกลางวัน และพุธกลางคืน โดยการนำเอาราหูไปเป็นวันไว้ในภาคกลางคืนของวันพุธ เรียกว่า วันราหู

ดังนั้นคนเกิดวันพุธกลางวันกับกลางคืน จึงต้องแยกกันคนละแบบ มีประจำวันเกิดต่างกันค่ะ

เกิดวันพุธ กลางวัน พระประจำวันเกิดคือ ปางอุ้มบาตร
เกิดวันพุธ กลางคืน พระประจำวันเกิดคือ ปางป่าเลไลย์
ประวัติของพระประจำวันเกิด อ่านได้จากที่นี่ค่ะhttp://www.mahamodo.com/tamnai/pra_day8born.aspx

2007-12-02 17:31:37 · answer #1 · answered by กระจกใส 7 · 3 0

. พระประจำวันพุธ กลางคืน พระประจำวันเกิดคือ ปางป่าเลไลย์
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งบนก้อนศิลา ห้อยพระบาททั้งสองข้างลง ทอดพระบาทเล็กน้อย พระหัตถ์ซ้ายคว่ำวางบนพระชานุซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวางบนพระชานุขวาเป็นกิริยาทรงรับ มีช้างหมอบถือน้ำยื่นถวาย และมีลิงหมอบถือรวงผึ้งถวายอยู่ข้างหน้า

ประวัติและความสำคัญ
ณ เมืองโกสัมพีมีพระภิกษุ ๒ ฝ่ายอยู่ในวิหารเดียวกันคือฝ่ายพระวินัยธร ที่ถือเคร่งครัดทางพระวินัย และฝ่ายพระธรรมธร ที่ถือการแสดงธรรมเป็นใหญ่ แต่ละฝ่ายก็มีลูกศิษย์เป็นบริวารมากมาย วันหนึ่งพระธรรมธรได้เข้าไปในห้องน้ำ ใช้น้ำแล้วเหลือไว้นิดหนึ่ง เมื่อพระวินัยธรเข้าไปเจอน้ำเหลือไว้ จึงได้ตำหนิพระธรรมธร ตัวพระธรรมธรเองก็ได้ยอมรับผิดต่อพฤติกรรมนั้น แต่พระวินัยกลับนำเรื่องเพียงเล็กน้อยนี้เป็นพูดกับอันเตวาสิกของตนว่า พระธรรมธรขนาดทำผิดแล้วยังไม่รู้สึกตัวอีก ต่อมาอันเดวาสิกของพระธรรมธรก็ได้พูดถากถาง ทำนองเดียวกันกับอันเดวาสิกของพระธรรมธร ว่าอาจารย์ของพวกท่านทำผิดแล้วยังไม่รู้อีก น่าละอายนัก ฝ่ายลูกศิษย์ก็นำเรื่องนี้ไป ปรึกษากับพระธรรมธร พระธรรมธรได้ฟังดังนั้น จึงพูดว่าทำไมพระวินัยธรจึงพูดอย่างนี้ เราทำผิดกฎก็ยอมรับผิดและแสดงอาบัติไปแล้ว ไฉนจึงพูดกลับกลอกเช่นนี้เล่าจึงพูดกับอันเตวาสิกว่า พระวินัยธรพูดเท็จและทั้งสองฝ่ายก็ได้เกิดการทะเลาะวิวาทกัน เพราะเหตุเพียงเล็กน้อยเอง เมื่อไม่สามารถจะระงับกันได้ พระพุทธเจ้าได้แสดงเหตุของการแตกแยก และคุณของความสามัคคี แต่ก็หาเชื่อต่อพระพุทธเจ้าไม่ ซ้ำยังแสดงคำพูดที่ไม่เหมาะสมว่า ขอให้พระพุทธเจ้าอยู่เฉยอย่ามายุ่ง พระพุทธองค์เห็นว่าไม่สามารถจะระงับได้ จึงส่งพระโมคคัลลานะ ไปช่วยระงับ แต่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่ยอมเชื่อฟัง ทำให้พระพุทธองค์เกิดความเบื่อหน่ายระอาใจต่อเหตุการณ์นี้เป็นอย่างยิ่ง แม้ชาวบ้านเองก็แตกเป็น ๒ ฝ่ายตามพระที่ตนเองนับถือ ส่วนพุทธศาสนิกชนที่มีศีลก็ระอาพากันคว่ำบาตร ไม่ให้การบำรุงพระสงฆ์เหล่านั้น เป็นประวัติศาสตร์ที่น่าสะเทือนใจเป็นอย่างยิ่ง ฝ่ายพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จไปอยู่ ณ ป่าได้มีช้างปาริไลยกะและลิงคอยทำการอุปัฏฐาก มีความพระเกษมสำราญในการอยู่คนเดียว จากเหตุการณ์นี้ ถือว่าเป็นเหตุการณ์อันน่าสลดใจเป็นอย่างยิ่ง ถึงพฤติกรรมของพระ ๒ ฝ่ายในขณะนั้น ไม่เชื่อฟังแม้กระทั้งพระพุทธเจ้า พุทธศาสนิกชนจึงได้สร้างพระปางนี้ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจถึงการแตกสามัคคี การทะเลาะวิวาทกัน

คาถาสวดบูชา
สัพพาสีวะชาตีนัง ทิพพะมันตาทะคัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง
อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณิณัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเส ฯ

วันพุธ กลางวัน พระประจำวันเกิดคือ ปางอุ้มบาตร
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ส้นพระบาททั้งสองชิดติดกัน พระหัตถ์ทั้งสองข้างชิดกัน พระหัตถ์ทั้งสองยกประคองบาตรราวสะเอว มีบาตรอยู่ฝ่าพระหัตถ์ในท่าประคอง

ประวัติและความสำคัญ
ประวัติที่เป็นเรื่องราวนั้นสืบเนื่องต่อมาจากพระพุทธรูปปางแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ กล่าวคือ เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จไปยังพระนครกบิลพัสดุ์ ครั้งแรกทรงทำอิทธิปาฎิหาริย์ เหาะขึ้นไปบนอากาศ ทรมานให้พระประยุรญาติได้ถวายบังคมแล้วเสด็จลงมาประทับนั่ง บนพระบวรพุทธอาสน์ ยังฝนโบกขรพรรษ์ให้ตกลงในท่ามกลางสมาคมพระญาติ แล้วทรงประกาศมหาเวสสันดรชาดก ยกขึ้นเป็นเทศนา ครั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบแล้ว บรรดาพระญาติทั้งหลาย มีพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาเป็นประธาน ก็ได้เบิกบานปีติปาโมทย์ เปิดพระโอษฐ์แซ่ซ้องสาธุการแล้ว พระญาติทั้งหลายก็กราบทูลลาคืนยังพระราชสถานแห่งตน มิได้มีพระญาติสักองค์หนึ่ง ได้กราบทูลอาราธนาให้ทรงรับอาหารบิณฑบาตรในยามเช้าพรุ่งนี้ แม้แต่พระเจ้าสุทโธทนะ ก็เพียงแต่ทูลลามิได้ทูลอาราธนาเสวยพระกระยาหารเช้า เช่นกัน ด้วยทรงนึกไม่ถึงว่า ธรรมดาพระจะต้องอาราธนา จึงจะได้มารับบิณฑบาตรในบ้านซึ่งเป็นปกติของสามัญชนธรรมดาทั่วไป พระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา ทรงรู้สึกอย่างเป็นพระญาติที่สนิทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระโอรส พระสงฆ์สาวกเหล่านั้นก็เป็นศิษย์ของพระโอรสแล้วพระโอรสจะเสด็จไปไหนเสีย เมื่อไม่มายังพระราชนิเวศน์ของพระองค์ จึงไม่จำเป็นต้องทูลอาราธนา พระเจ้าสุทโธทนะทรงแน่พระทัยเป็นอย่างยิ่งว่า พระบรมศาสดาจะต้องพาพระสาวก ทั้งหลายมาเสวยพระกระยาหารในพระราชนิเวศน์ของพระองค์แน่นอน จึงไม่ทรงทูล อาราธนา ยิ่งไปกว่านั้นยังกลับเห็นว่า หากออกพระกระแสรับสั่งอาราธนา ก็จะกลายเป็นว่า พระบรมศาสดาเป็นคนอื่นมิใช่พระโอรส ครั้นพระเจ้าสุทโธทนะเสด็จถึงพระราชนิเวศน์ จึงโปรดให้พนักงานจัดแจงตกแต่งอาหารอันประณีตเป็นพิเศษไว้พร้อมมูล เพื่อถวายพระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์สาวกทั้งมวลในวันพรุ่งนี้ ตลอดเวลาเย็นถึงเวลารุ่งเช้า เมื่อไม่ปรากฏว่ามีใครมาอาราธนาพระบรมศาสดาไปเสวยที่ใดแล้ว พระองค์ก็ทรงพิจารณาว่า พระพุทธเจ้าในปางก่อน เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระนครของพระพุทธบิดาแล้ว ทรงปฎิบัติอย่างไร ก็ทรงทราบด้วยพระญาณว่า พระพุทธเจ้าในปางก่อนได้เสด็จไปบิณฑบาตรตามลำดับตรอก ครั้นพระพุทธองค์ทรงทราบอย่างนี้แล้ว จึงทรงถือเอาบาตรและจีวรพาภิกษุสงฆ์ เสด็จพระดำเนินไปตามท้องถนนหลวง ปรากฏแก่ประชาราษฏร์ ต่างได้มีโอกาสชมพระบารมี และมีความปีตียินดีประณมหัตถ์นมัสการ นับเป็นครั้งแรกที่ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้เห็น พระบรมศาสดาทรงอุ้มบาตร เสด็จพระพุทธลีลาโปรดประชาสัตว์ เป็นการเพิ่มพูนความปีติ โสมนัส พระพุทธจริยาตอนนี้เป็นเหตุให้พุทธบริษัทสร้างพระพุทธรูป เรียกว่า ปางอุ้มบาตร

คาถาสวดบูชา
สัพพาสีวะชาตีนัง ทิพพะมันตาทะคัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง
อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณิณัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเส ฯ

2007-12-03 00:05:55 · answer #2 · answered by esara 2 · 3 0

คุณ esara กับ คุณ Natta ตอบถูกต้องค่ะ หนุงหนิงไม่ต้องตอบแล้ว ( เพราะหนุงหนิงก็ไม่ทราบ ) ฮิฮิ...... แต่ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

2007-12-03 02:52:28 · answer #3 · answered by Anonymous · 0 0

fedest.com, questions and answers