สวัสดีค่ะ คุณปราบดา หยุ่น ขอตอบตามประสบการณ์ของตัวเองล่ะกันนะคะ สังคมไทยเป็นสังคมพี่น้องนั้น สำหรับดิฉันแล้วคิดว่าจริงแท้แน่นอนค่ะ แต่คำว่า พี่น้อง นี่แหล่ะค่ะ ที่ทำให้สังคมเราต้องแบ่งแยกกัน เพราะ ถ้าเราไม่นับถือคนอื่นและไม่คิดเผื่อแผ่ผู้อื่นเหมือนดั่งคนที่เรารู้จักดั่งพี่น้องล่ะก็ ประเทศไทยนี้ก็เป็นแค่สังคมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลวงตาคนชาติอื่นเท่านั้นเอง ดิฉันคิดว่า คนไทย นั้นไม่ได้โง่ ถึงแม้คนๆนั้นอาจขาดการศึกษา เพราะการศึกษาไม่ได้วัดว่าคน ๆนั้น ได้ทำประโยชน์แก่สังคมได้มากน้อยแค่ไหน ดูอย่างคุณลุงคนนึงแถวบ้านของดิฉันเอง เค้าเป็นช่างซ่อมรองเท้า รายได้ไม่มากนัก แต่เค้าก็สามารถสร้างประโยชน์แก่สังคมโดยรวมได้ เพราะคุณลุงคนนี้ ถ้าเด็กนักเรียนคนไหนยากจนไม่มีเงินซื้อรองเท้านักเรียน แกก็หารองเท้านักเรียนให้เด็ก ๆ เหล่านี้ได้ เคยสงสัยอยู่เหมือนกันว่าทำไมแกถึงชอบเก็บรองเท้านักเรียนที่เค้าทิ้งแล้ว พอได้รู้ว่าแกเก็บเพื่อนำไปซ่อมแล้วให้เด็ก ก็เกิดชื่นชมทันที สังคมไทยโดยรวมแล้วชอบแบ่งฐานะกัน อย่างเช่นคนรวยมักจะอยู่แต่สังคมฟุ่มเฟือย ส่วนคนธรรมดา ๆก็อยู่ตามแบบพอมีพอกิน ชีวิตง่าย ๆ หรือบางทีก็แทบจะไม่มีกินเลย ถ้าไม่ใช่คนที่มีฐานะเดียวกันก็คงจะไม่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันนั่นแหล่ะที่ดิฉันจะกล่าว แถมบางคนที่รวยก็มักจะไม่นึกถึงคนที่ลำบากกว่าซะด้วยสิ ส่วนมากมีเยอะในสังคมไทย นี่อาจจะไม่ใช่ความเห็นแก่ตัวอย่างเดียวแต่อาจรวมถึงค่านิยมที่ผิด การไม่เปิดใจยอมรับและความยุติธรรมที่ไม่ค่อยมีในสังคมไทยด้วย
ดิฉันลองสังเกตประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอเมริกา เค้าคิดว่าถ้าสิ่งใดทำแล้วมันดีต่อประเทศ หรือต่อประชาชนโดยส่วนรวมนั้น เค้าจะไม่ค่อยคัดค้านกันหรอกค่ะ อีกอย่างนึงไม่ว่าคนรวยหรือคนธรรมดา พวกเค้าก็ไม่ค่อยคิดจะแบ่งแยกฐานะหรอก ดูอย่างคนรวยเจ้าแม่ทอล์กโชว์ อย่าง โอปราห์ สิคะ แม้เค้าจะรวยแต่เค้าก็ทำเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้งงานการกุศล ส่งเสริมการศึกษาเยาวชน
ไม่ใช่แค่เค้านะ แต่มีอีกหลายคนที่รวยแล้วไม่ลืมมนุษย์ด้วยกันเพราะทำแล้วคนอื่นมีชีวิตที่ดีขึ้น
ดิฉันคิดว่าคนไทยเราต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงมากกว่านี้ และควรมีความยุติธรรม รวมถึงความคิดในทางพัฒนาของสังคมโดยรวม ในทุก ๆ เรื่อง ไม่ใช่เอะอะไม่พอใจก็ก่อการประท้วง รวมถึงต้องคิดผลดีที่ตามมาในการพัฒนาสังคม ไม่ใช่ขัดขวางการพัฒนาสังคมเพียงเพราะจะกลัวกระทบต่อความเป็นอยู่และการเสียผลประโยชน์
2007-11-26 19:41:56
·
answer #1
·
answered by PeG 3
·
2⤊
0⤋
สาธารณะ คือสิ่งที่ทุกคน สามารถเป็นเจ้าของ มีสิทธิ์ใช้ได้ทุกเมื่อ ทุกเวลาตามวาระ
แต่ทำไมถึงได้พัฒนาน้อยมาก ความเห็นส่วนตัวน่ะค่ะ ไม่ได้อ้างถึงผู้ใดทั้งสิ้น
การที่จะพัฒนาเกี่ยวกับสาธารณะ ส่วนหนึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ การจะพัฒนาใดๆ ก็ต้องขอความเห็นชอบจากคนในสังคมนั้น ( ประชามติ ) ถ้าสังคมนั้นไม่ยินยอม แต่รัฐต้องการจัดให้ ก็ต้องมาดูว่าจำเป็นมากน้อยแค่ไหน เมื่อตกลงแล้ว
ขั้นตอนต่อไป ก็ต้องไปดูสิว่า การจะลงทุนด้านนี้ ต้องเอางบมาจากส่วนใด ถ้าประเทศมีพอ ก็ไม่ต้องไปกู้ยืมใคร แต่ถ้าไม่เหมือนอย่างที่ได้ยินได้ฟังว่า ต้องไปกู้ต่างชาติ ข้อเท็จจริงประการใด ข้อตกลงเป็นแบบไหน ก็ต้องขึ้นกับผู้ไปทำข้อตกลง ถ้าท่านเหล่านั้นมีวิสัยทัศน์ แทนที่จะไปกู้มาเฉยๆ ก็ขอเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าของเรา (ไม่ได้กล่าวถึงใครน่ะค่ะ ) ซึ่งก็เป็นการดี โดยที่เราจะได้มีคนมาลงทุน โดยไม่ต้องใช้เงินก้อนโตของประเทศ ( ทั้งๆที่มีหรือเปล่า อันนี้ ไม่ทราบ ) แต่ก็มีเสียงคัดค้านเกินขึ้นว่าจะเป็น ฮั้วทางธุรกิจ สิน่ะ ( อันนี้ถ้ามองในแง่การลงทุน ถือได้ว่า คุ้มทุน มีผู้ได้รับผลประโยชน์ มากมาย ) แต่ก็นั่นอีกแหละ "ผลประโยชน์" ไม่เข้าใคร ออกใคร เธอได้ แต่ชั้นไม่ได้ ... ทุกอย่าง "ไม่ผ่าน"
แล้วเราจะเอาเงินมาจากไหนน้อ การลงทุน มันก็ต้องใช้เงินทุน .... ใช้แรงใจ .... สร้างไม่ได้หรอกน่ะ ....
หรือไม่ก็มีหน่วยงานของต่างชาติเข้ามาพัฒนาประเทศเรา ก็มีอีกน่ะ ว่าเค้าจะเข้ามาเอาผลประโยชน์ไปจากเรา ส่วนนึงก็ดีอยู่หรอก ที่เรารักชาติ แต่ถ้ามีเหตุผลสักนิด เค้าจะมาทำอะไรเราได้ ถ้าเราไม่ให้สักอย่าง (จริงไหม)
ไม่ก็คิดง่ายๆ เช่น เมื่อจะลงทุนทำการใดๆ โดยที่ตัวเองไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง เอาอีกหล่ะ "ผลประโยชน์" ส่วนนี้ชั้นไม่ได้ อย่าให้ผ่านเลย ต้องหยุดเอาไว้ แล้วเป็นไงหล่ะ ผลเสียตกอยู่กับใคร
1. ผู้จะลงทุนพัฒนางาน วางโครงการไว้
2. แรงงาน ที่กำลังรองาน
3. ชาวบ้าน ที่กำลังรอรับผลงานนั้นๆ
แค่เบาะๆ ก็จะเห็นได้ว่ากระทบไปหลายๆ หน่วยย่อย การที่จะลงทุน ก็ย่อมมีการได้ผลประโยชน์กันอยู่หล่ะ ทุกคนก็รู้ ( อย่าบอกน่ะว่า ไม่มี ) แต่ถามว่า แล้วทำไมไม่คิดที่จะทำหรอ ปล่อยเอาไว้ทำไม จะรอให้เกิดสนิม แล้วค่อยมาเคาะออกหรอ เฮ้อ !! ... ตัดคำว่า "ผลประโยชน์" แล้วปิดหู ปิดตาซะบ้าง เพื่อให้ประเทศได้เดินไปก่อน แล้วค่อยมาว่ากัน
ถามว่าเห็นด้วยกับการ ... คอรัปชั่น ... ตามที่คนส่วนใหญ่มองกัน
ตอบว่า ... ไม่สนับสนุน แต่ถามว่า ทำไมเราไม่มีการจัดการกับวิธีการนี้ได้เชียวหรอ วิธีการก็มีมากมาย น่าจะเลือกเอาใช้น่ะ ... มองด้วยตาเปล่าก็เห็น ไมต้องเพ่งกันซะขนาดนั้นหรอก ตรวจสอบไป ตรวจสอบมา สู้เอาเวลาไปออกกฎหมายให้รัดกุมน่าจะดีกว่า
ย้ำอีกครั้ง ... อย่าไปยึดติดกับคำว่า "ผลประโยชน์" อีกเลย และผู้ที่มีหน้าที่โดยตรง เค้าก็คงจัดการอย่างเป็นธรรมด้วย ( เชื่อใจกันหน่อย ) ไม่เช่นนั้น ทุกอย่างก็เดิมๆ "นโยบายกระดาษ" ภาพฝันที่เอื้อมไม่ถึง
2007-11-21 23:25:47
·
answer #2
·
answered by noin@ 4
·
3⤊
0⤋
ขอวิคราะห์สังคมญี่ปุ่นกับสังคมไทยคะ สาเหตุที่ยกมาเปรียบเทียบเพราะสังคมของญี่ป่นมีความเป็นพวกพ้องอย่างแท้จริง มันรวมถึงการเป็นหนึ่งเดียวในวัฒนธรรม การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมด้วย
1. สังคมไทยนั้น...เป็นสังคมตามกระแสอย่างแท้จริง เราขาดมากสำหรับการสอนให้คิดแบบปรัชญาชีวิตแบบพุทธทั้งๆที่เราเป็นพุทธศาสนิกชน สังคมญี่ปุ่นมองความสวยงามของดอกซากุระเปรียบเทียบว่า มนุษย์เรามีช่วงชีวิตสั้นๆเราควรทำประโยชน์ให้แก่โลก ให้ตระหนักต่อสัจธรรมของชีวิตในด้านนี้
2.เราขาดการสอนให้รู้ถึงคุณค่าของสิ่งๆนั้นไม่ว่าจะเล็กเท่าธุลีดินก็ตาม เรากินข้าว ปลูกข้าว เรากลับมองว่า ประเทศเราอุดมแล้ว มีกินแล้ว ไม่อดตาย เราสบาย ความจริงก็คือ เราต้องฝึกการมีวินัย
การเสียสละต่อประเทศชาติให้มากกว่านี้ เราต้องฝึกเด็กของเราตั้งแต่อนุบาลเลยทีเดียว
3.อ่านหน้าประวัติศาสตร์ของไทยและโลกให้มากๆ ทำไมชาติ
ตะวันตกถึงมีนักผจญภัย นักวิทยาศาสตร์ สมองและจิตที่ได้รับการขัดเกลาให้มองโลกในมุมมองกว้างขึ้น อาจทำให้เรารีบพัฒนา
ตัวเราเอง โดยทำคุณประโยชน์ต่อแผ่นดินที่เราเกิด
เกาหลีพัฒนาได้อย่างไร เราก็ควรพัฒนาได้อย่างนั้น
4.การมองแบบองค์รวม....ทำได้ยากในสังคมไทย วิธีคิดง่ายๆคือ
สลัดตัวเองให้หลุดพ้นและท่องไว้ว่า For all one / one for all Thailand.ลองซื้ออะไรให้หลวงโดยไม่คิดเบิกบ้างซิ แล้วเข้าห้องน้ำสาธารณะแล้วทำความสะอาดราวกับห้องน้ำบ้านตัวเองดู
ฝึกทำเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องตัวเองโดยไม่คิดหวังผลตอบแทน เราพยายามนะ แต่ยังไม่เป็นรูปร่าง เด็กไทยมีคะแนนคุณธรรรม จริยธรรมนะ แต่จะวัดที่ไหนละ ในเมื่อตอนเช้าก็ไม่มีใครทำเวรห้อง สกปรกมาก สมุดก็ไม่มีใครเอาไปส่งครู เลิกเรียนก็ไม่เคยปิดหน้าต่าง ประตู คิดว่าภาระนี้ ภารโรงทำ... ธุระไม่ใช่ โรงเรียนควรฝึก......นิสัยการรับผิดชอบตั้งแต่อยู่ในห้องเรียน มันไม่ได้ไร้สาระเลยรวมถึงการช่วยงานพ่อแม่เล็กๆน้อยๆไม่ใช่เรียนอย่างเดียว
ซักผ้าไม่เป็น ทำกับข้าวไม่เป็น
5. ก่อนวิจารณ์อะไร ว่าให้ใคร เรียกร้องสิทธิผลประโยชน์
คิดก่อนทำ คิดก่อนพูด อ่านให้มาก เลิกดูข่าวทีมีคนพูด คนวิจารณ์ให้ฟัง หัดคิดเอง หัดนิ่ง เพื่อจะชนะ เพื่อจะวิเคราะห์อย่างที่คนๆหนึ่งพอที่จะไม่ให้ใครมาสร้างกระแส สร้างภาพ หลอกตา
อย่างทุกวัน
2007-11-23 01:27:39
·
answer #3
·
answered by สุ่ยเอ๋อ 3
·
2⤊
0⤋
ประเด็นแรกสังคมไทยเป็นสังคมพี่น้อง และมากเกินไปจนเป็นระบบพวกพ้องซึ่งถ้าระบบพวกพ้องอยู่เหนือระบบคุณธรรมก็ทำให้สังคมโดยรวมมีปัญหา ทำให้ระบบในสังคมสับสน เห็นได้จากคำคมเช่น "ค่าของคนอยู่ที่คนของใคร" "ไม่ฆ่าน้อง ไม่ฟ้องนาย ไม่ขายเพื่อน" (แล้วถ้าเพื่อนทำผิดกฎหมายละ?) เมื่อเป็นดังนี้แต่ละกลุ่มคนจึงรักษาสถานะตัวเองไว้ และแน่นอนกลุ่มคนที่มีฐานะทางสังคมและชี้นำได้จึงเป็นผู้คุมกฏเองและการดูแลและพัฒนาเรื่องสาธารณะซึงไม่ใช่เป็นสิ่งอำนวยความสดวกหลักของกลุ่มที่มีฐานะจึงถูกละเลยได้ง่ายด้วยระบบพวกพ้อง
ประเด็นที่สอง คนไทยไม่ค่อยมีหรือมีน้อยเรื่องจิตสำนึกสาธารณะ เช่น ห้องน้ำสาธารณะ ผู้คนที่ใช้มักไม่รักษาความสะอาดไม่มีจิตสำนึกว่าเหมือนห้องน้ำที่บ้านตัวเองซึ่งต่างจากชาวต่างชาติเช่นชาวตะวันตกที่มีสำนึกสาธารณะ การรักษาสมบัติส่วนรวมรวมถึงการรักษาระเบียบการใช้สมบัติสาธารณะเช่นการเข้าคิวรอคิว การรักษากฎจราจร ซึ่งอาจปรับปรุงได้โดยการให้การศึกษาแก่เด็กและการให้ผู้ใหญ่ที่ดีทำเป็นตัวอย่าง จิตสำนึกสาธารณะน้อยหรือไม่มีเพราะการขาด "วินัย"ซึ่งต้องฝึกและมีกันตั้งแต่เยาวชน ตัวอย่างชัดเจน นักศึกษาสมัยนี้แต่งกายผิดระเบียบมากกว่าครึ่งในหลายสถาบัน และเขาเหล่านั้นคิดว่ากฎมีไว้แหก อนิจจัง
2007-11-22 03:00:04
·
answer #4
·
answered by peterpan 3
·
2⤊
0⤋
สิ่งที่คนไทยขาดน่าจะเป็นความกล้าออกความคิดเห็น ความกล้าในสิ่งที่ควรกล้า ความรับผิดชอบในหน้าที่ การแสดงความคิดเห็น และ กล้าที่จะออกมาเป็นผู้นำในสิ่งที่ถูกต้อง พื้นฐานของคนไทยมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักพวกพ้อง รักสันติ เลยทำให้อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงหรือการออกมาโต้แย้งในสิ่งที่พึงกระทำ หน่วยงานที่รับผิดชอบบ้านเมือง ระบบการทำงานยังเป็นแบบที่ไม่ถูกต้องนัก ใครเส้นสายใหญ่ก็ขึ้นมามีอำนาจ ทั้งๆที่บางคนไม่ได้เป็นผู้ที่ชำนาญในสาขานั้นเลยหรือบางทีก็ไม่ใช่คนดีที่มีคุณธรรมและวิสัยทัศน์ที่ก้าวหน้า และยิ่งเงินเดือนข้าราชการไม่สูงนัก ก็ทำให้เกิดหนทางยัดยอกเบียดบังเงินหลวง งบประมาณที่จะนำไปใช้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เกิดระบบน้ำร้อนน้ำชา รับซองใต้โต๊ะกันอย่างหน้าชื่นตาบาน สังคมไทยมันก็เลยไม่เจริญกันสักทีค่ะ คนที่ดีเขาก็มี แต่ดีอย่างเดียว ทำงานไม่เป็น ก็ช่วยสังคมไม่ได้ค่ะ เห็นแก่ตัว ก็น่าจะใช่ เพราะถ้าไม่เห็นแก่ตัวคงไม่กล้าคอรัปชั่นค่ะ ดูเหมือนว่าคนบางจำพวกอยากมีหน้ามีหน้าโดยอาศัยการสร้างฐานะเพื่อให้ผู้อื่นยกย่องตัวเอง เพื่อที่จะนำมาซึ่งอำนาจในมือ แต่อย่างไรก็ตามนะคะ คิดว่าคนไทยอีกมากค่ะ ที่ไม่ได้เป็นแบบนั้น แต่ขาดโอกาสที่จะโต้แย้ง ไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย มันก็เลยทำให้สังคมของเราถูกพวกคนที่ไม่ดีมีบทบาทมากกว่าค่ะ คงต้องสังคายนาความคิดและปลูกฝังเยาวชนและคนไทยทุกคนในเรื่องที่พูดมาข้างต้น และอย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล ว่าแต่ใครจะเป็นผู้กล้ากันสักทีแล้วมาร่วมมือร่วมใจกัน อย่าให้คนไม่ดีมีบทบาทค่ะ
2007-11-21 22:42:20
·
answer #5
·
answered by กระจกใส 7
·
2⤊
0⤋
ผมว่าธรรมชาติของคนส่วนใหญ่ต้องพยายามตอบสนองความต้องการที่ตัวเองมองว่าเป็นความต้องการพื้นฐานของตัวเองก่อนที่จะคิดช่วยคนอื่นครับ
ในสภาพสังคมที่ต้องแข่งขันกันสูง ทำมาค้าขายลำบากบางทีก็ทำให้คนเราคิดถึงส่วนรวมน้อยลง แล้วยิ่งเดี๋ยวนี้ความเป็นวัตถุนิยมในสังคมเรายิ่งมากขึ้นคนเราก็ยิ่งต้องการมากขึ้น
(เดี๋ยวนี้มือถือกลายเป็นความต้องการพื้นฐานไปแล้วมั้ง) แล้วก็คิดถึงคนอื่นน้อยลงครับ นอกจากนั้นสังคมเมืองใหญ่ๆเดี๋ยวนี้ผู้คนมากมาย ความเป็นสังคม "พี่น้อง"
ก็ยิ่งจะลดน้อยลง คนที่ไม่รู้จักกันย่อมไม่มีความผูกพันทำให้ความคิดที่จะช่วยเหลือกันยิ่งน้อยลงครับ
แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนดีๆจะไม่มีครับ ผมว่าคนที่เขาพอใจแล้วและพยายามที่จะทำประโยชน์ให้สังคมหรือช่วยเหลือคนอื่นก็มีเยอะครับ แต่ผมว่าบางทีขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดีและ
ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจังก็ทำให้ ความตั้งใจดีของคนเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างครับหรือ บางทีรู้สึกว่าการทำดีให้สังคมมันยาก คนดีก็ท้อเลิกทำซะงั้นครับ
นอกจากนั้นปัญหาใหญ่ๆ หลายๆอย่าง เช่นมลภาวะ ผมว่าเป็นปัญหาที่ภาครัฐ ต้องเป็นคนเริ่มแก้ปัญหาครับ จริงอยู่ว่าคนในสังคมมีส่วนในการแก้ปัญหาแต่ว่าการที่จะแก้ปัญหาให้
ได้ผลในภาพรวมและส่งผลระยะยาวจริงๆ ต้องใช้ ทรัพยากรหลายๆอย่างที่คนทั่วๆไปคงทำให้เกิดขึ้นได้ยากครับ เพราะฉะนั้นผมว่าปัญหาหลายๆอย่างก็เกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพของภาครัฐด้วยครับ
ไม่ใช่เป็นเพราะความเห็นแก่ตัวของคนในสังคมอย่างเดียว
2007-11-27 05:12:58
·
answer #6
·
answered by OzY! 3
·
1⤊
0⤋
ขออาจเอื้อมตอบคำถามที่ยาก และลำบากใจ กับสังคมไทยที่จะ เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล กับสังคมที่จะห่างเหินจากความเมตตา กรุณา ห่วงหาอาทร ซึ่งกันและกัน กับวัฒธรรมที่ไม่มีรายละเอียด ง่าย และของกูตัวกู(ขออภัยที่ใช้คำว่า กู) จนทำให้ความเป็นคนไทย ลดน้อยถอยลงทุกที ทุกที
สิ่งที่เกี่ยวกับสาธารณะจึงมีการพัฒนาน้อยและช้ามาก เพราะสังคม ไทยเริ่มแบ่งชั้นวรรณะ กันแล้ว มีไฮโช มีคนรวย มีคนชนชั้นกลาง และมีคนชนชั้นล่าง(รากหญ้า) สิ่งที่พัฒนากันก็อยู่ในเมืองแทบทั้งสิ้น อยู่ในย่านไฮโช คนรวย ส่วนที่ชนบท หรือถิ่นคนจน จะหาถนนชักเส้นที่ดี สามารถสรรจร
ทำมาค้าขาย อย่างสะดวกก็ยังไม่มี ต้องเสียเงินกับการซ่อมบำรุง รถทุกเดือน ต้องเสียค่าน้ำมันที่แพงกว่า ฯลฯ
ล้วนเกิดจากความเห็นแก่ตัวของเราหรือไม่? ถูกต้องแล้วครับ
2007-11-22 16:45:09
·
answer #7
·
answered by Joey07 5
·
1⤊
0⤋
เหตุผลง่ายๆ ครับ ไม่ใช่ความเห็นแก่ตัวประการเดียวหรอกครับ
แต่เป็นเพราะเรายังขาดจิตสำนึกต่อส่วนรวม เพราะสังคมไทย
นั้นชอบสอนลูกหลาน " รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดคน "
สอนให้เป็นคนที่ชอบง่ายๆ อะไรก็ได้ง่ายๆคือไทยแท้
ไม่ต้องลึกซึ้ง ไม่ต้องใช้ความพยายามมากนัก
ชอบรวยทางลัด มองเห็นคนรวยว่าเป็นคนดี
นั้นคือ สาเหตุที่ทำให้เกิดระบบอุปภัมถ์ขึ้นมาในสังคมไทย
อยากได้งานดีก็ใช้เส้น ประจบเจ้านายบ้าง ติดสินบน
พฤติกรรมกินตามน้ำ ต่างแก่งแย่งกันแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอาแบบนี้
เมื่อได้มาแล้วก็ต้องทำให้ตัวเองมั่นคงยิ่งขึ้น ใหญ่โตยิ่งขึ้น
มีอำนาจมากขึ้น ผลประโยชน์ของชาติคือผลประโยชน์ของตัวเอง
จิตสำนึกในการสร้างชาติไม่รู้อยู่ตรงไหน ที่คุณบอกว่าสังคมไทย เป็นสังคมที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นั้นไม่ผิดหรอกครับ แต่ผมขอเพิ่มรายละเอียดเป็น การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบบผลประโยชน์ต่างตอบแทนมากกว่าน่ะครับ
ส่วนทางแก้ไขนั้นผมมองว่าเราคงต้องดูสาเหตุข้างต้นดังที่ผมกล่าวมาว่า
เราสามารถแก้ไขได้หรือไม่ และจะแก้ไขอย่างไร แต่ที่แน่ๆ มันคงไม่ใช่ชั่วเวลาเพียงข้ามคืนหรอกครับ คงต้องอีกหลาย
Generation ที่เดียว
2007-11-22 05:31:50
·
answer #8
·
answered by Kid D 5
·
1⤊
0⤋
"สังคมไทยเป็นสังคมพี่น้อง เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ้"
เพราะพื้นฐานสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม จึงเป็นเหตุให้ครอบครัวไทย เป็นครอบครัวขยาย ในบ้านทีอยู่อาศัยและรอบบ้านจะมีแต่พ่อ แม่ พี่ ป้า น้า อา ญาติโก โหติกาทั้งนั้น ชีวิตความเป็นอยู่ก็พึ่งพาอาศัยกัน เป็นอย่างนี้มาแต่โบร่ำ โบราณ
ความเจริญของประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้วิธีชีวิตไทยเปลี่ยนแปลงไป จากสังคมเกษตรกรรม เป็นภาคอุตสาหกรรม ครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดียว จำนวนสมาชิกในครอบครัวลดลง ความเร่งรีบในการทำมาหากิน การหลั่งไหลของวัฒนธรรมต่างชาติ รวมไปถึงความรวดเร็วของการใช้สื่อต่างๆ สิ่งที่ได้รับเข้ามา จึงสวนทางกับสิ่งที่สูญเสียไป ความเห็นแกประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม การแก่งแย่งชิงดีในสังคม การทำมาหากินเพื่อประโยชน์ของตัวเองมากกว่าผลประโยชน์โดยรวม
กล่าวโดยสรุป
สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยทฤษฎีเราจำเป็นต้องก้าวตามให้ทันความเจริญ แต่ไม่คำนึงถึงสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของเรา มันจึงเสื่อมโทรมลง ถึงแม้ว่าจะมีหน่วยราชการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อจะรื้อฟื้นสิ่งที่ดีของเรา แต่ดูจะเล็กเชื่องช้าไม่ทันการณ์เสียแล้ว จึงอยูที่จิตสำนึกของคนไทยที่จะดำรงรักษาสิ่งที่ดีของเราเอาไว้ ขณะที่ยังไม่สายจนเกินแก้
ปล.เราคงเห็นประเทศจีน ที่กำลังเดินเข้าสู่วังวนแห่งวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงในไม่ช้า
2007-12-01 15:46:15
·
answer #9
·
answered by Kanes 6
·
0⤊
0⤋
It is not concern about brotherhood.
Thai are full of the excellent senses, but are lack of the sense to be the excellence.
For Thai, everything is just ok and happy all the time, all the way, be happy, don't worry, don't be serious, no need to try to do better, to be the best, to be the excellence. We are satisfied.
Chinese and Japanese are more brotherhood than Thai, but they are full of the sense of insearch of the excellence, so they try to build an excellent nation and the excellent people.
The million of The Buddhas are the best examples of the excellence. From the ordinary men, they help people and try (in team) to do every goodness for the billion times of birth until they can achieve to be "The Buddhas".
The real excellence is to think of the humanity, not only the nation.
2007-11-28 16:28:40
·
answer #10
·
answered by MB 1
·
0⤊
0⤋