English Deutsch Français Italiano Español Português 繁體中文 Bahasa Indonesia Tiếng Việt ภาษาไทย
หมวดหมู่ทั้งหมด

5 คำตอบ

GDP (Gross Domestic Product ) หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ถูกผลิตภายในประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด ซึ่งถูกคิดค้นโดย Simon Kuznets
นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ เมื่อปี1971

เป็นระบบบัญชีทางด้านเศรษฐกิจที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก มีกำเนิดขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ.1930 จัดทำโดยอาศัยพื้นฐานการพิจารณากระแสการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจที่สำคัญ อันได้แก่ กระแสการหมุนเวียนของเงินตรา (circular flow money) และกระแสการหมุนเวียนของสินค้า (circular flow of commodities) ในแต่ละประเทศจะมีความคล้ายคลึงกัน เนื่องจากได้ยึดเอาแม่แบบมาจากระบบบัญชีประชาชาติของสหประชาชาติ (United National System of National Accounting : UN SNA) เป็นหลัก สำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เริ่มมีการจัดทำสถิติในรูปแบบบัญชีรายได้ประชาชาติครั้งแรกเมื่อ ปี ค.ศ. 1950 บัญชีนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการคำนวณหารายได้ประชาชาติของประเทศ

ทำไมเราจึงใช้ GDP ในการวัดความมั่งคั่งของแต่ละประเทศ?
**GDP หรือ gross domestic product เป็นตัวมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่มีการผลิตและซื้อขายกันผ่านระบบตลาด ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ดังนั้นเป้าหมายของการสร้าง GDP ขึ้นมาเป็นดัชนีชี้วัด ก็เพื่อให้เราได้ทราบถึงมูลค่าของธุรกรรมทางเศรษฐกิจ ที่ได้เกิดขึ้นในอาณาบริเวณของประเทศเราในช่วงเวลาหนึ่งๆ
หากเรานำตัวเลข GDP ต่างคาบเวลามาคำนวณหาอัตราการเปลี่ยนแปลง เราจะได้ภาพของการเจริญเติบโต (หรือถดถอย) ของมูลค่าธุรกรรมในระบบเศรษฐกิจ
เมื่อเรานำ GDP มาหารด้วยจำนวนประชากร เราจะได้ตัวชี้วัดที่เรียกว่า GDP per capita ซึ่งหมายถึงผลผลิต (ประชาชาติ) ต่อหัวประชากร
ตัวชี้วัดตัวนี้เองที่นักเศรษฐศาสตร์มักใช้เป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงมาตรฐานความเป็นอยู่ หรือความกินดีอยู่ดีของประชาชนโดยเฉลี่ย
จริงอยู่ที่ตัวเลข GDP นี้ไม่ได้นับรวมคุณภาพชีวิตของคนในสังคมเข้าไว้ในการคำนวณ แต่หลักฐานที่ปรากฏในโลกความเป็นจริงสะท้อนให้เห็นว่า ประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงกว่า ย่อมมีความสามารถที่จะจัดหาบริการทางด้านสาธารณสุขที่ดีกว่า หรือระบบการศึกษาที่ดีกว่า ให้กับสมาชิกในสังคมได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง บรรดาสรรพสิ่งที่สะท้อนถึงคุณภาพชีวิตที่ดี มักปรากฏในสังคมที่ประชาชนโดยเฉลี่ยมีรายได้สูง มากกว่าในสังคมที่ประชาชนโดยเฉลี่ยมีฐานะยากจน

แต่ก็มีอีกหลายด้านของคุณภาพชีวิตที่มักเดินสวนทางกับตัวเลข GDP ตัวอย่างเช่น เศรษฐกิจที่ไร้ซึ่งกฎระเบียบในการควบคุมมลพิษอาจมีผลผลิตมวลรวมขนาดใหญ่ มีอัตราการขยายตัวของรายได้สูง แต่สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติที่มีมูลค่ามหาศาลไม่แพ้กันกลับถูกทำลายเสียหาย หรือครอบครัวที่พ่อแม่เอาแต่หารายได้เพื่อยกระดับฐานะในสังคม อาจประสบปัญหาด้านความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกในครอบครัว

ประเด็นเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ตระหนักมานานแล้ว และยอมรับเสมอมาว่า GDP มิใช่ตัวชี้วัดที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งไม่อาจสะท้อนให้เราเห็นถึงความอยู่ดีมีสุขในทุกๆ มิติของชีวิตได้

ปัญหาคือในขณะนี้ เรายังไม่มีตัวชี้วัดที่ครอบคลุมที่ดีกว่าและน่าเชื่อถือมากกว่ามาทดแทน GDP เท่านั้นเอง เรียกได้ว่านี่คือลักษณะปัญหาที่เกิดเพราะเป็นแนวคิดเชิงทฤษฎีที่ก้าวล้ำเกินความสามารถในการวัดค่า (Theory ahead of measurement)

แต่ GDPก็ไม่สามารถนำมาใช้ในการวัดความสุขส่วนรวมของคนในประเทศได้ เรายังต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆอีกมาก รวมทั้งสัดส่วนการผลิตและสัดส่วนการบริโภค ซึ่งจัดเป็นตัวชี้วัดด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีค่ะ

50 อันดับประเทศที่มีเศรษฐกิจดีที่สุดในโลก
วัดตาม ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP
http://webboard.mthai.com/7/2006-08-17/260142.html

2007-11-19 22:34:41 · answer #1 · answered by กระจกใส 7 · 1 0

GDP เป็น "เครื่องมือ" มากกว่า เป็น "ความหมาย"
เหมือนอุณหภูมิ วัด เป็นเซลเซียส ก็ได้ เป็น ฟาเรนไฮด์ ก็ได้

การที่แต่ละประเทศใช้ GDP เป็น "เครื่องมือ" ทำให้ทราบระดับ
อุณหภูมิเศรษฐกิจของประเทศเมื่อเทียบกับชุมชนอื่น ส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับชุมชนอื่นแล้ว มี"ความหมาย" สุข ทุกข์ หนาว ร้อน ทางเศรษฐกิจอย่างไร จึงพัวพันกับ "ใคร" เป็นผู้กำหนด

แต่ไม่ว่า "ใคร" จะกำหนดก็ตาม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จึงตกกับ "เขา" ที่เป็นผู้กำหนด ไม่ใช่ เครื่องมือ

2007-11-22 10:38:22 · answer #2 · answered by กองกอย 4 · 1 0

คุณจักรพงษ์ถามนั้นคำว่าเราน่าจะหมายถึงทุกคนคงไม่ใช่แต่การที่เขากำหนด
ตัวชี้วัดทางเศษรฐกิจหรือความมั่งคั่งในความคิดผมนะคือหาตัวเลขทาง
บัญชีหนึ่งใดมาแสดงออกให้เห็นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็คือรายได้
ประชาชาติหมายถึงรวมเอารายได้ทุกคนมารวมกันแต่ก็ไม่แน่นอนจึงเอา
ที่จับต้องได้เป็นผลผลิตมวลรวมทุกภาคส่วนเกษตร,อุตสาหกรรม,บริการ
การส่งออกมาเป็นตัวชี้วัดตามหลักสากลแต่ก็ยังไม่ใช่ของจริงเพราะบ้านเรา
หรือประเทศไทยเป็นแบบรวยกระจุกจนกระจายรวยก็ล้นฟ้าถึง80กว่า%
มาเป็นตัวตั้งเมื่อหารด้วยจำนวนประชากรดูดีก็เท่านั้นเลยเป็นการหลอกลวงนั่นเอง
ส่วนในต่างประเทศเขาพัฒนาความรู้จนมีการกระจายรายได้ที่ใกล้กันทำให้
GDPจึงเป็นตัวชี้วัดที่ใกล้เคียง
ในความเห็นผมว่าน่าจะใช้องค์ประกอบอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่นอัตราการ
กระจายรายได้ในแต่ละภาคการผลิตหรือบริการจะสนองความเป็นจริงมากขึ้นครับ

2007-11-20 20:52:18 · answer #3 · answered by นายริด 4 · 1 0

ความหมายของ GDP คงทราบแล้วจากคำตอบด้านบน ครบถ้วน
ใครเป็นคนกำหนด Term นี้ ? ก็คงเป็นพวกนายทุน ผู้ว่าแบ๊งค์ ของประเทศมหาอำนาจทั้งหลายแหล่ล่ะครับ พวกเขาใช้ GDP วัดว่าจะไปลุยประเทศไหนดี ประเทศไหนน่าลงทุน และประเทศไหนน่าอยู่

2007-11-21 02:30:44 · answer #4 · answered by Joey07 5 · 0 0

อาจตอบไม่ตรงคำถามเท่าไหร่นัก แต่ขอเพิ่มเติม

ตอนนี้ เห็นว่ามีการนำ "Gross Products of Happiness" ความสุขมาวัดกันอีก 1 ตัว เห็นว่า ไทยเราอยู่ในเกณฑ์สูง เช่นเดียวกับประเทศธิเบต แต่ก็นั่นสิน่ะ มีแต่ความสุขแต่ GDP ต่ำไปหน่อย ทำไมน้อ จึงมีความสุขได้ ความสุขจริงหรือเปล่า ส่วนตัวไม่ใช่ "พวกวัตถุนิยม" แต่เราเป็นสัตว์สังคม ในความเป็นจริงเราก็ต้องเข้าใจกระแสสังคม ที่ต้องปรับตัว ให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ในระดับหนึ่ง

2007-11-20 06:49:32 · answer #5 · answered by noin@ 4 · 0 0

fedest.com, questions and answers