ก่อนอื่นต้องตีความคำว่าการพัฒนาเมืองและประเทศก่อนว่าหมายถึงอะไร ตรงนี้ผมเข้าใจว่าหมายถึงการพัฒนาทางด้านจิตใจ โดยให้ศิลปะกล่อมเกลาจิตใจของประชาชน ผ่านทางการออกแบบเมือง ผังเมือง
คงไม่ได้หมายความว่านำเอาศิลปะมาพัฒนาให้ประเทศร่ำรวยขึ้นอย่างกรณีเกาหลีเอาแดจังกึมมาขาย แล้วแปรสภาพเป็นเงิน ผ่านทางการขายไลเซนส์หนังเกาหลี และเอาดารามาโปรโมทการท่องเที่ยว (ซึ่งก็รวยขึ้นทางอ้อมได้เช่นกัน)
ผู้คนในวิกิพีเดียได้ระบุไว้ว่าวัฒนธรรมสมัยนิยม หรือ วัฒนธรรมร่วมสมัย (popular culture หรือ pop culture) หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมของผู้คนในสมัยนั้น เกิดจากการสื่อสารของบุคคล ความต้องการของวัฒนธรรมในจังหวะช่วงเวลานั้น ซึ่งเกิดขึ้นทุกวันและแสดงเป็นภาพลักษณ์ออกมา ซึ่งสามารถรวมได้ถึงทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การแต่งกาย สื่อมวลชน กีฬา หรือวรรณกรรม โดยวัฒนธรรมสมัยนิยม มักจะมีลักษณะตรงข้ามกับวัฒนธรรมชั้นสูง
ผมลองเสิร์ชคำว่า "Creative Cities" ดูแล้วเจอที่นี่นะครับ http://portal0.unesco.org/culture/admin/ev.php?URL_ID=28053&URL_DO=DO_TOPIC&URL_SECTION=201
ผมเข้าใจว่าในความหมายของคุณประธานหมายถึงศิลปะในแนวดังต่อไปนี้
- Literature
- Cinema
- Music
- Craft and Folk Art
- Design
- Media Arts
- Gastronomy
ศิลปะเหล่านี้ผมเข้าใจว่าถ้าเรานำมาผสมผสานในการ "สร้างบรรยากาศ" ให้กับสังคมเมือง สังคมเมืองจะดูน่าอยู่มากขึ้น ความรู้สึกเครียดของคนในสังคมจะลดน้อยลง มีสุนทรียภาพมากขึ้น ซึ่งส่งผลทางด้านจิตใจ และเมื่อจิตใจสบายก็มีความสุขมากขึ้น เช่นการออกแบบสร้างสวนสาธารณะ การออกแบบเสียง (sound design) ในตึกให้คนได้รู้สึกคลายเครียด ฯลฯ
ในขณะเดียวกันอาจรวมไปถึงการออกแบบวัตถุให้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากยิ่งขึ้น เช่น การออกแบบห้องน้ำ ชักโครกอัตโนมัติ เสียงชักโครกเป็นเสียงเพลงแทนที่จะเป็นเสียงน้ำดังๆ หรือที่รองโถส้วมแบบนั่งไปแล้วอุ่น (เพราะที่ญี่ปุ่นบางทีหนาว นั่งโถไปแล้วอุ่นๆ มันจะมีประโยชน์มาก) ในเมืองไทย ถ้ามันร้อน เป็นไปได้ไหมว่าปลูกต้นไม้ให้ครึ้มเมืองมากขึ้น เด็กไทยชอบหนีเรียนไปเล่นเกม เป็นไปได้ไหมสร้างเกมคาเฟ่ดีๆ ให้เด็กเล่นเกมที่เราคัดเลือกแล้วว่าไม่รุนแรง แล้วสอนเด็กว่าจะสร้างเกมดีๆ ได้อย่างไร เกมที่เราชอบ เขาสร้างมาได้อย่างไร
2007-11-18 00:47:30
·
answer #1
·
answered by Jakrapong 5
·
1⤊
0⤋
ศิลปะ มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามยุคสมัยและความนิยมในยุคนั้น ๆ จนกลายเป็นแม่แบบของศิลปะในยุคต่าง ๆ มีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป
การนำ ศิลปวัฒนธรรมแบบเดิม ๆ มาใช้ไม่ว่าจะเป็นด้าน ภูมิสถาปัตย์ ภูมิทัศน์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้น คงไม่ตอบสนองของผู้บริโภค ในปัจจุบัน ซึ่งต้องการบริโภคความใหม่ ไม่จำเจซ้ำซาก มีความแตกต่างและหลากหลาย ถึงแม้ว่าจะบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมได้อย่างชัดเจนก็ตาม
การนำเอาความต้องการของคนรุ่นใหม่ รวมกับ ศิลปวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ กลายมาเป็นศิลปร่วมสมัย ซึ่งนำเสนอ ความแตกต่างและตื่นตาตื่นใจ ในกลยุทธการพัฒนารูปแบบของบ้านเมือง ในด้านต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ในสังคมบริโภคที่มีการแข่งขันการนำเสนอสิ่งใหม่ ๆอยู่ตลอดเวลา
และประเทศไทย เรามีรายได้จากผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่เป็นตลาดต่างชาติ เราควรนำศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย มานำเสนอความเป็นไทยอย่างสากล เพื่อตอบสนองความต้องการและการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาทางธุรกิจ หรือภูมิทัศน์เพื่อการท่องเที่ยวแต่ก็ต้องรักษาศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของเราเองไว้ด้วย
2007-11-19 01:10:30
·
answer #2
·
answered by e-nai 6
·
2⤊
0⤋
ผมขอตีโจทย์เป็นสองประเด็น
1.ศิลปร่วมสมัยเป็นงานศิลปที่บ่งบอกหรือแสดงถึงการมอง,คิด,จิตนาการ
จากอดีตหรือประสบการณ์,ปัจจุบันและอนาคตที่ถ่ายทอดความรู้,รู้สึกออกมา
หากก่อให้เกิดปัญญาที่ได้จากใช้สติ,สมาธิพิจรณา
2.วัฒนธรรมร่วมสมัยเป็นการเกิดความรู้จากการรับร,ู้เรียนรู้,ความเชื่อ,ค่านิยม,
ทัศนคติที่หล่อหลอมจากครอบครัว,สถาบันการศึกษา,ชุมชน,สังคมหรือประเทศ
ทั้งสองประเด็นจะเห็นได้ว่าเป็นการสร้างให้เกิดความรู้ใหม่ที่จะนำไปต่อยอด
ในด้านการผลิตและบริการทั้งภาครัฐและเอกชนสู่การพัฒนาคนให้มีความคิด
ความกล้าแสดงออกการยอมรับฟังและรับแก้ไขจากการกระทำด้วยความมีเหตุผล
ด้วยสติทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรม,ค่านิยม,ทัศนคตินำไปสู่การจัดการ
ตนเองในการดำเนินชีวิต,ดำเนินกิจการ,บริหารประเทศ
สรุปศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในความคิดของผมนั้นจะทำให้คนได้รู้จักคิด,พิจรณา,
ด้วยปัญญา,อย่างรอบด้าน,รอบคอบ,ระมัดระวังซึ่งก่อเกิดการเรียนรู้สู่ความรู้ที่ทำให้
เกิดสร้างคุณธรรมนำไปสู่การพัฒนาคน,งานและสังคมต่อไปครับ
2007-11-15 14:16:37
·
answer #3
·
answered by นายริด 4
·
2⤊
0⤋
สวัสดีค่ะ คุณประธาน
ตามที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย(Art Culture Literacy) แบ่งได้เป็น 9 สาขา อันได้แก่
1. สาขาทัศนศิลป์ (VISUAL ARTS)
2. สาขาวรรณศิลป์ (LITERATURE)
3. สาขาดุริยางคศิลป์ (MUSIC)
4. สาขานาฏศิลป์ (PERFORMING ARTS)
5. สาขาสถาปัตยกรรม (ARCHITECTURE)
6. สาขาภาพยนตร์ (FILM)
7. สาขามัณฑนศิลป์ (INTERIOR DESIGN)
8. สาขานฤมิตศิลป์ (GRAPHIC DESIGN)
9. สาขาแฟชั่น (FASHION DESIGN)
*** ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยจะมีบทบาทในการพัฒนาประเทศได้แน่นอนค่ะ เพราะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของศิลปิน ให้เป็นแรงขับเคลื่อนวัฒนธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจ การแลกเปลี่ยน เชื่อมโยง และผสมผสานด้านศิลปะและวัฒนธรรมจนเกิดเป็นเครือข่ายใหม่ๆให้เข้ามามีบทบาทในการตอบสนองสังคมร่วมสมัย การสนับสนุนให้ศิลปินมีพื้นที่ในการนำเสนอผลงานศิลปะ เป็นการพัฒนาคุณภาพของการสร้างสรรค์งาน เป็นโอกาสที่จะนำทุนทางศิลปะร่วมสมัย มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นการช่วยต่อยอดอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า บริการ รวมทั้งสินค้า OTOP ในประเทศ ทำให้เกิดรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีความแปลกใหม่ ทันสมัย แต่ยังคงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดีและเพิ่มคุณค่าทางสังคม และยังเป็นการทำให้ชาวต่างประเทศรู้จักผลงานของศิลปินไทยรุ่นใหม่มากขึ้นอีกด้วยค่ะ
แต่ในปัจจุบันศิลปินไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในสภาพล้มลุกคลุกคลาน ทำงานอย่างโดดเดี่ยว ขาดระบบการบริหารจัดการและการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐและเอกชนในการที่จะสนับสนุนกิจกรรมด้านศิลปะ เราขาดการบริหารจัดการ ขาดพื้นที่ให้ศิลปินได้แสดงออก ได้ประลองฝีมือ ซึ่งทำให้เรามองไม่เห็นศักยภาพที่อยู่ในตัวศิลปินไทย ถึงแม้ว่ารัฐและเอกชนบางกลุ่มจะได้จัดตั้งหน่วยงานเข้ามามีบทบาทให้ความสำคัญกับศิลปกรรมร่วมสมัยกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่ก็ยังคงต้องใช้เวลาที่จะทำคนในประเทศจะเห็นความสำคัญเพิ่มมากขึ้น และต้องมีการร่วมมือร่วมแรง ประสานกันให้เป็นรูปธรรมมากกว่านี้ค่ะ หากกระจายไปสู่ชุมชนระดับท้องถิ่นได้มากเท่าใด ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น เป็นงานที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบของสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับการยอมรับในระดับสากลค่ะ
ศิลปร่วมสมัยมีความเป็นไทยแฝงอยู่ มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีสเน่ห์ในการผสมผสานวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของคนไทยเข้าไปในผลงาน ทำให้ประเทศของเราแตกต่างจากที่อื่น เพราะเรามีศิลปวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนใครและเป็นเอกลักษณ์ หากการพัฒนาประเทศก้าวเดินไปบนความสร้างสรรค์หลายสาขาของศิลปวัฒนธรรม ย่อมเกิดรูปแบบงานที่สวยงาม โดดเด่น มีเอกลักษณ์และทรงคุณค่าแตกต่างจากประเทศอื่นแน่นอน ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบของเราที่เรามีศิลปวัฒนธรรมเป็นของเราเอง ขณะที่หลายๆประเทศไม่มีค่ะ
การวางผังเมือง การออกแบบสร้างอาคารบ้านเรือน การตกแต่งภายใน ล้วนทำให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม มีแบบแผน ส่วนงานด้านอื่นๆก็ทำประโยชน์ให้เกิดผลงานและยกระดับจิตใจคนในชาติแตกต่างกันไปในหลายรูปแบบ จะทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปในแนวทางที่ดี มีแบบแผนและสวยงามทั้งทางวัตถุและจิตใจ โดยการผสมผสานเอกลักษณ์ไทยเข้าไปในผลงานให้ก้าวไกลสู่สายตาชาวต่างชาติ อันจะนำมาซึ่งรายได้ทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การกระจายรายได้ไปสู่ชุมชน เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้คนในสังคมแผ่ขยายออกไปได้รวดเร็วทางหนึ่งค่ะ
2007-11-15 07:23:02
·
answer #4
·
answered by กระจกใส 7
·
2⤊
0⤋
creative cities ชื่อบอกแนวความคิดได้ดีครับควรที่จะพัฒนาเมืองเล็กๆ(เช่นเมืองปาย)ที่มีศักยภาพไห้กลายเป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์,สร้างสรรค์ประหยัดพลังงานและมีศิลปร่วมสมัยให้เสพสายตาในระยะยาวๆยิ่งดีทำเลยเราก็ได้ปลูกฝังค่านิยมคนของเราไห้หันมามองความงามแบบเราๆบ้างครับ
2007-11-19 22:17:44
·
answer #5
·
answered by Ƹ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒmimi antodiniƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒ 6
·
1⤊
0⤋
ผมว่าศิลปะช่วยให้คนเข้าใจภาวะต่างๆของคน หรือเรื่องราวเกี่ยวสังคมมากขึ้น ศิลปินได้ inspiration จากโลก ตัวเองและคนในสังคม การที่เราได้เสพงานคิลปะ ทำให้ได้รู้ความนึกคิดของคนอื่น เข้าใจคนอื่น และทำให้เราเปิดกว้าง และเริ่ม respect ความคิดของคนอื่น
ศิลปะคือการเรียนรู้อย่างหนึ่ง คือได้เรียนรู้จากศิลปินที่อยู่และเห็นรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของชีวิต ศิลปินบางท่านยังเน้นไปทางศาสนา หรือการพัฒนาตัวเองและสังคม ศิลปินทำให้เห็นความจริงของสิ่งต่างๆ ข้อมูลความจริงมีผลช่วยในการดำรงชีวิตและการตัดสินใจในชีวิต
ศิลปะยังสร้างจินตนาการ ทำให้คนได้เห็นสิ่งแปลกใหม่หรือมุมมองแปลกใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนชอบ ผมเชื่อว่าี้ศิลปะยังช่วยทำให้คนมีความสุขหรือสร้างสุนทรีย และการที่คนมีความสุขเขาจะไม่คิดทำร้าย ผมเชื่อว่านี้เป็นการพัฒนาในตัวเอง และจะถูกปฎิบัติออกมาสู่สังคมและประเทศต่อไป
2007-11-16 04:13:45
·
answer #6
·
answered by Klyth 3
·
1⤊
0⤋
คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งในตอนนี้ดูเหมือนกับว่าเอกลักษณ์ของไทยเริ่มลดน้อยลงไปเรื่อยๆ อาจจะเป็นจากเรายอมรับวัฒนธรรมต่างชาติได้ง่าย กลายเป็นแฟชั่นไปในชั่วเวลาสั้นๆ ทำให้วัฒนธรรมไทยเริ่มเลือนหายไป ทั้งๆ ที่เรามีสิ่งดีๆ ที่ต่างชาติยอมรับอีกมากมาย
ลึกๆ ก็รู้สึกเสียดาย แต่การต้านกระแสสังคมเป็นสิ่งที่ยาก นอกจากการปลูกฝัง จิตสำนึกตั้งแต่เด็ก ว่าแต่ผู้ใหญ่ก็ยังไม่เป็นแบบอย่างให้เด็กดู จึงยากหน่อยที่เราจะเรียกความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้น กลับคืนมา
ก็คงให้เป็นการนำเสนอวิถีชีวิตแบบไทยๆ โดยบูรณาการร่วมกับแนวคิดสมัยใหม่เข้าด้วยกัน อย่างน้อยก็เป็นการคงเอกลักษณ์ความเป็นไทยเอาไว้ด้วย
2007-11-16 00:53:17
·
answer #7
·
answered by noin@ 4
·
1⤊
0⤋
เพิ่งอ่านบทความของคุณประชา สุวีรานนท์ในมติชนสุดสัปดาห์เกี่ยวกับ tcdc ที่กำลังมีปัญหา ชอบมากกับคำถามที่ว่ามันเป็นประชานิยมสำหรับชนชั้นกลาง? สำหรับคนที่ดิดว่าtcdc เป็นประชานิยมที่ตนเองชอบน่าจะสำนึกขึ้นมาได้ว่าชนชั้นล่างที่กำลังถูกกล่าวหาว่าเสพติดประชานิยมหรือถูกซื้อเสียงโดยนักการเมืองเค้ารู้สึกอย่างไร การนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้พัฒนาประเทศนั้นต้องระมัดระวังกล่าเดิม เพราะการใช้งบประมาณประเทศไปกับสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและต้องการใช้งบประมาณกับเรื่องของเขาเช่นกัน คนที่เข้ามาทำต้องเสียสละ รักงานนี้จริงๆ ถ้าติดหรู ติดรูปแบบจะถูกรังเกียจ หรือตั้งข้อแปลกแยกได้ หวังว่าทิศทางของรัฐบาลขุดหน้าจะรอบคอบกว่านี้ ค่อยๆชึมไต้องหวือหวา ไม่ทำลายระบบคุณธรรม ระบบเงินเดือนของราชการที่มีคนดีๆเก่งๆอยู่เช่นกัน เรื่องวัฒนธรรมเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องการคนที่เข้าใจจริงๆมาทำ
2007-11-15 21:03:28
·
answer #8
·
answered by นินา 1
·
1⤊
0⤋
สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราเป็นศิลปวัฒนธรรมซึ่งต้องอาศัยการออกแบบทั้งสิ้น ทั้งผลิตภัณฑ์และสถาปัตยกรรม
งานออกแบบทุกชิ้นตั้งแต่ไม้จิ้มฟัน โทรศัพท์มือถือ ผังเมือง สถาปัตยกรรม ทุกอย่างล้วนมีอิทธิพล มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ทั้งสิ้น
งานออกแบบจะเกิดการพัฒนาให้เกิดประโยชน์ในเชิงสังคม เชิงเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
เช่น ภาพเพ้นท์อาจช่วยในการจรรโลงจิตใจของมนุษย์ หรืออาจสอนให้คนมีคุณธรรม
งานสถาปัตยกรรมก็อาจส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนให้เหมาะสมกับกาลเวลา
ผลิตภัณฑ์ต่างๆมีการออกแบบทำให้สะดวกสบายในการใช้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตอบสนองความต้องการใช้งานในปัจจุบัน และเกิดประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน
ทุกอย่างในชีวิตประจำวันจึงต้องมีการออกแบบและพัฒนาให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตและความต้องการของคนในยุคนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม การออกแบบในปัจจุบันจะต้องคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม และมีการนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อไม่เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติด้วย
2007-11-21 02:30:25
·
answer #9
·
answered by jang 2
·
0⤊
0⤋
คิดว่าความเจริญก้าวหน้าย่อมต้องตระหนักถึง ศิลปวัฒนธรรมที่แต่ละประเทศมี โดยไม่ละทิ้งรากเหง้าของตนเอง นำสิ่งที่มีอยู่แต่ดั้งเดิมมาใช้ประโยชน์เกื้อหนุน ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่มีกลิ่นอายวัฒนธรรมของตนเอง สิ่งที่ทำให้แต่ละเมืองจะมีความเป็นตัวตนเด่นชัด เป็นเอกลักษณ์อันน่าภาคภูมิใจ ควบคู่ไปกับความเจริญสมัยใหม่ อย่างลงตัวและน่าชื่นชม
2007-11-19 13:57:24
·
answer #10
·
answered by Anonymous
·
0⤊
0⤋