English Deutsch Français Italiano Español Português 繁體中文 Bahasa Indonesia Tiếng Việt ภาษาไทย
หมวดหมู่ทั้งหมด

ในประสบการณ์การทำงานของผมที่ทำร่วมกับคนไทยมา ไม่ว่าจะเป็นระดับต่ำกว่า เท่ากัน หรือสูงกว่าผม มีคนไทยจำนวนมากเลย (ผมว่าเกิน 50%) ที่มีนิสัยการทำงาน ที่ผมคิดว่าไม่ดีเลย ไม่เหมือนชาวตะวันตกที่นิสัยในข้อนี้ของเขาถูกใจผมมาก

สิ่งที่ผมพูดถึงก็คือ ....
1. ความเกรงใจอกเกรงใจ ไม่กล้าพูด โดยเฉพาะเรื่องอะไรที่ไม่เห็นด้วย (ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่ดี) ยิ่งถ้าไม่เห็นด้วยกับความคิดของคนระดับสูงกว่า ยิ่งไม่พูดเลย เก็บเงียบไว้คนเดียว ไปจนถึงการไม่ยอมถกเถียงเพื่อหาข้อยุติหรือแก้ปัญหา แต่จะเอามาพูดลับหลังกันเอง

2. ชอบประนีประนอมในสิ่งที่ไม่ดี มีความเป็นมิตรภาพสูง ถ้าเพื่อนหรือคนรู้จักทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง ก็จะหยวนๆ ปล่อยมันผ่านไป เพราะเห็นว่าเป็นคนรู้จักกัน

.... ยังไม่จบ แต่เนื้อที่คำถามไม่พอพิมพ์ต่อ เดี๋ยวผมเอามาลงไว้เพิ่มเติมด้านล่างนะครับ

2007-11-04 21:22:13 · 8 คำตอบ · ถามโดย Tum B. 4 ใน สังคมและวัฒนธรรม อื่นๆ เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม

3. ไม่สามารถแยกงานกับเรื่องส่วนตัวได้ ... ในการทำงาน คงไม่ได้มีอารมณ์แค่อารมณ์เดียว อาจจะต้องมีโมโห ถกเถียง เสียงดัง ดุ ว่ากล่าวตักเตือน แต่คนไทยเมื่อได้รับสิ่งเหล่านั้น จะไม่สามารถแยกแยะได้ ว่าอารมณ์ไหนมาจากการทำงาน อารมณ์ไหนมาจากเรื่องส่วนตัว อย่างฝรั่งถ้าทำผิดก็ว่าไปตามผิด ว่ากล่าวตักเตือนไป จบแล้วก็โอเค เป็นคนรู้จักกันเหมือนกันเดิม ไปกินข้าวกันได้ แต่คนไทยทำแบบนี้ไม่ได้ จะลามไปเสียหมายทุกๆ เรื่อง ผมว่าอันนี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อที่ 1 หรือ ข้อ 2 ด้านบนด้วย

ทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนความคิดในการทำงานของคนไทยที่เป็นแบบนี้ได้ ผมพบทั้งในเด็กที่จบใหม่ คนทำงานมาสักระยะแล้ว ไปจนถึงคนแก่ที่ทำงานมาหลายสิบปี ในความคิดของผม ผมคิดว่ามันคือส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยไม่เจริญ ตราบใดที่การทำงานเรายังไม่เป็นการทำงาน ไม่สามารถถกเถียงกันได้ ไม่สามารถตักเตือนว่ากล่าวกันได้ และมีอะไรในการทำงานไม่พูด หรือเสนอกันตรงๆ ทำให้ระบบโดยรวมไม่สามารถพัฒนาไปได้

ปล. ผมเชื่อว่าแก้ยาก คงไม่สามารถแก้ได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น ระบบราชการ (พ่อแม่ผมเป็นข้าราชการ) แต่ก็เชื่อว่าทุกอย่างถ้าเราไม่เริ่มก็จะไม่เกิดขึ้น

2007-11-04 21:22:48 · update #1

ตอบคุณเซนบะ (และคนอื่นๆ ที่จะมาตอบเพิ่มครับ)

ผมมองแยกกันนะครับ อย่าเอาไปรวมกัน ผมพูดถึงปัญหาแค่ตอนทำงาน ส่วนในชีวิตจริงของคนไทย ผมว่านิสัยของคนไทยเราดีมากๆ เลยครับ สมควรที่จะเก็บสิ่งที่ดีๆ ไว้

ถ้างั้นถามต่อ ... หรือว่ามันแยกกันไม่ได้ครับ เพราะคนไทยเรามีนิสัยปกติโดยทั่วไปเป็นแบบนี้ (ใจดี ประนีประนอม ฯลฯ) เลยทำให้นิสัยการทำงานบางเรื่องมีผลกระทบ ถ้าเราจะปรับให้การทำงานดีขึ้น จะทำให้นิสัยส่วนรวม (ในชีวิตประจำวัน) ของคนไทยไม่ดีเท่าเดิมหรือเปล่าครับ?

2007-11-04 21:50:57 · update #2

ตอบคุณ Natta

ตามที่คุณ Natta พูดมา ผมเห็นด้วยครับ บางส่วนก็เป็นแบบนั้นอยู่แล้ว แต่บางส่วนยังไม่เป็นครับ ซึ่งผมถามถึงส่วนไม่เป็นครับ ส่วนที่ดีอยู่แล้ว ผมไม่ได้พูดถึง (ละไว้ในฐานที่เข้าใจ)

และที่สำคัญผมไม่ได้พูดถึงตัวผมเองนะครับ ผมพูดถึงคนรอบข้าง ยกตัวอย่างเช่น ลูกน้องบางทีทำอะไรผิดไว้ ก็จะไม่กล้ามาพูดมาบอกตรงๆ ก็จะปล่อยไว้จนคนอื่น (หรือผม) ไปเจอ ซึ่งบางทีมันก็จะเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ถ้ามาพูดกันในทีมตรงๆ ตั้งแต่ทีแรก จะได้แก้ปัญหาไป และผมเชื่อว่าไม่มีใครที่ทำอะไรไม่ผิดหรอกครับ และคนที่ทำผิด คนอื่นๆ ก็ให้อภัยทั้งนั้น แต่โดยมากที่เจอพอทำอะไรผิด ก็จะแอบๆ หมกๆ ซ่อนๆ เอาไว้ กลัวคนอื่นว่าคนอื่นด่า

นี่แค่ตัวอย่างเดียวนะครับ และก็ถ้ามาพูดแบบมีวาทศิลป์แบบที่คุณ Natta ว่า ผมจะยินดีมากๆ เลย (ไม่ต้องมีวาทศิลป์ก็ได้ พูดกันตรงๆ ก็ได้) แต่ที่ผมถาม คนไทยไม่พูดไงครับ จะทำยังไงล่ะ?

2007-11-04 22:15:37 · update #3

8 คำตอบ

หลังจากอ่านคำตอบของคำถามนี้รู้สึกเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่า นิสัยขี้เกรงใจถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กจนโต ท่างทางจะแก้ยากค่ะ เพราะมันเป็นความเคยชิน หากอยากจะแก้เจ้าตัวจะต้องเต็มใจและต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก รวมทั้งสภาพแวดล้อม เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน และลูกน้องจะต้องเอื้ออำนวย

วิธีทางแก้คงจะต้องแก้ที่ต้นเหตุ และต้องเริ่มจากวัยเด็ก คือฝึกเด็กให้กล้าคิดกล้าแสดงออกตั้งแต่ชั้นอนุบาล

ส่วนผู้ใหญ่นั้น การปรับเปลี่ยนนิสัยจะต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน ถึงแม้ว่าสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมของบริษัท เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน และลูกน้องจะเป็นปัจจัยสำคัญ แต่หากไม่เริ่มที่ตัวเราเอง จะแก้นิสัยคนอื่นคงจะแก้ยาก ยกตัวอย่างง่าย เช่น ถ้าเพื่อนของคุณถามว่า จะไปกินข้าวกินที่ไหนในวันหยุดนี้ ให้เลิกตอบว่า ไม่รู้ซิ, แล้วแต่, ได้ทั้งนั้น ให้พยายามแสดงความคิด ไปร้านนี้ไหม สะดวกดี อยู่ใกล้ ไปมาสะดวก แล้วถามเพื่อนคุณกลับไปว่ามีความคิดเห็นอย่างไร


บางครั้งความขึ้เกรงใจ อาจจะเกิดจากการขาดทักษะในการพูดในคนหมู่มาก หรือ ความไม่มั่นใจ/ไม่กล้าแสดงออก เช่น ไม่รู้จะบอกอย่างไง ไม่รู้ว่าพูดไปแล้วคนอื่นๆจะคิดว่าอย่างไร ถ้าความขึ้เกรงใจมาจากสาเหตุนี้ อาจจะแ้ก้ไขได้โดย เข้าคอร์สฝึกอบรม ลงเรียนหลักสูตรที่ช่วยเสริมทักษะในการพูด

หากคุณเป็นหัวหน้า แล้วเจอลูกน้องที่ขี้เกรงใจ ไม่พูดตรงๆ จะต้องลองหาวิธีในการถามหรือตอบที่เหมาะสม เช่น
ทำแบบสอบถามที่ไม่ระุบุชื่อ หรือทำกล่องแสดงความคิดเห็นค่ะ
หรือไม่ก็ต้องให้การบ้านเพิ่มสำหรับคนที่ไม่ยอมออกความคิดเห็นในที่ประชุมค่ะ เช่น หากคนไม่ออกความเห็นในที่ประชุม อาจจะให้จับกลุ่มแลกเปลี่ยนทัศนะคติและตัวแทนกลุ่มเสนอความคิดเห็น
หรือคนที่ไม่ออกความเห็นจะถูกทำโทษ โดยการให้รวบรวมความคิดเห็นและทำงานรายงานความคิดเห็น

แต่ทั้งนี้หัวหน้าจะต้องมีทักษะในการพูดชักจูงให้เค้าตอบ โดยใช้คำถามที่สุภาพ ไม่ทำให้คนที่ถูกถามละอายหรือเป็นที่ขบขันของคนอื่นๆ และจะต้องชมเชยและให้กำลังใจผู้ที่กล้าแสดงออกความคิดเห็น ไม่ว่าความเห็นนั้นจะดีหรือไม่เป็นที่ยอมรับ
ตรงนี้ค่ะ เป็นสิ่งที่คนไทยยังขาด เหมือนกับคำพูดที่ว่า "ทำดีมาตลอดกลับไม่มีใครเห็น/ชม ทำพลาดครั้งเดียวโดนคนตำหนิ"

การประนีประนอมในสิ่งที่ไม่ดี โดยเฉพาะในตำแหน่งผู้บริหาร ทำให้คุณภาพของงาน และมาตรฐานการทำงานตกต่ำลง ทั้งยังปลูกฝังรากลึกเป็นวัฒนธรรมและวิธีการปฏิบัติขององค์กรหรือบริษัทนั้นๆ
หากคุณต้องทำงานให้กับบริษัทหรือองค์กรดังกล่าว อาจจะเป็นการยากที่จะหลีกเลี่ยงค่ะ บางครั้ง การเปลี่ยนแผนก หรือที่ทำงาน หรือศีกษาวัฒนธรรมขององค์กรก่อนสมัครงานอาจช่วยได้ค่ะ

2007-11-06 11:44:16 · answer #1 · answered by Gwiddy 2 · 0 0

ผมเห็นด้วยกับปัญหาความเกรงใจ และคิดว่าน่าจะมาจากระบบการศึกษาตั้งแต่เด็กจนถึงวัยทำงาน ตั่งแต่ระบบการเคารพผู้ใหญ่ในบ้านและการเชื่อฟังถึงแม้จะไม่เห็นด้วยแต่ไม่โต้เถียง จากที่บ้าน ถึง โรงเรียน ระบบการเรียนในโรงเรียนที่ฟังครูและไม่ค่อยมีการโต้แย้งออกความคิดเห็นในห้องเรียน พอ ออกจากโรงเรียนก็ถึงที่ทำงาน เพราะฉะนั้นที่ทำงานเป็นแค่ปลายเหตุหนึ่งที่บ้านอย่างไรที่ทำงานก็ไม่น่าจะแตกต่างกัน เป็นวัฒนธรรมแบบหนึ่ง การแก้ไขข้อแรกคือแก้ที่ตัวเอง ถ้าเป็นผู้นำในองค์กรให้ทำเป็นตัวอย่าง สร้างวัฒนธรรมในองค์กรให้ชัดเจน เขียนเป็น vision mission value ขององค์กร และมีการคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานให้ถามประเด็นนี้ให้ชัดเจน ก็พอจะมีส่วนร่วมแก้ได้ที่ปลายเหตุบ้าง

2007-11-05 02:40:52 · answer #2 · answered by peterpan 3 · 1 0

เห็นด้วยอย่างยิ่ง นิสัยขี้เกรงใจในเรื่องที่ไม่ควร ไม่ทำให้เกิดการพัฒนาไปในทางที่ดี แถมยังทำให้เกิดการ คอรับชั่นอีกด้วย
สังเกตเห็นบ่อยๆ เวลาเปิดโอกาศให้แสดงความคิดในที่ประชุมไม่กล้า แสดง พอมติการประชุมออก หลังจบการประชุมก็ วิจารณ์นอกห้อง ( เรียก อีกอย่าง ว่า นินทา อ่ะนะ) เห็น มาแยะ คงแก้ไม่ได้ เป็นนิสัย แบบ กินข้าวง่ะ มันเป็นความเคยชิน ฝังลึกในบุคลิกภาพ
จะแก้ก็คือต้อง จัดการระบบบริหารให้ดี ให้รางวัล ตามผลงาน แล้วพวกบุคลิกไม่พูด ในสถานการณืที่ควรพูด แต่ดันพูดในสถานการณ์ที่ไม่ควรก็จะหลุดจาก ระบบไปเอง เพราะ เงินเดือนไม่ขึ้น ไม่มีผลงาน อิอิ รอวันนั้นมาถึงเช่นกัน สงสัยต้องกลับชาติมาเกิดใหม่

2007-11-05 02:39:17 · answer #3 · answered by Anonymous · 1 0

ผมเข้ามาอ่านจบเลย เห็นด้วยครับ
แต่ก้อยังตะงิด ๆ อยู่ว่า อาจจะเป็นการได้อย่างเสียอย่าง
วัฒนธรรมไทยเราเป็นมาแบบนี้ คนไทยเราทำกันมาแบบนี้
เราได้อะไร แล้วคนตะวันตกเขาเป็นยังไง
คนไทยเราค่อนข้างจะให้ความเคารพเกรงใจกับผู้หลักผู้ใหญ่
เพราะเราถูกสอนมาแบบนี้ ส่วนคนตะวันตกเขาก้ออีกแบบ

แต่โดยรวม ๆ แล้วเห็นด้วยนะครับ

2007-11-04 21:41:15 · answer #4 · answered by Anonymous · 1 0

โดยส่วนตัว จะบอกกับทุกคนที่ต้องมาร่วมงานกันว่าคิดอย่างไร ขอให้พูด อย่าเก็บเงียบ เพราะไม่เกิดประโยชน์อะไร ทุกคนมีสิทธิแสดงความคิดเห็น ผิดหรือถูกนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ต้องเปิดโอกาสและสนับสนุน ให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น แรก ๆ อาจจะไม่ค่อยกล้า
ทีมที่ทำงานกันอยู่ทุกวันนี้ไม่มีปัญหาเรื่องนี้เท่าไหร่ อาจจะเป็นเพราะโครงสร้างไม่ใหญ่มากและผู้บริหารสร้างวัฒนธรรมในองค์กรให้ทุกคนกล้าพูดกล้าแสดงความคิดเห็น

2007-11-07 00:02:46 · answer #5 · answered by e-nai 6 · 0 0

ในความเห็นของผมที่บอกว่านิสัยขี้เกรงใจนั้นผมว่าเป็นค่านิยมและวัฒนธรรม
ของสังคมไทยที่เกิดจากการหล่อหลอมกล่อมเกลาทางสังคมตั้งแต่ครอบครัว,
สถาบันการศึกษา,ชุมชน,สังคมหากจะแก้ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งซึ่งต้องทำให้เกิด
ค่านิยมใหม่โดยที่หัวหน้า,ผู้จัดการต้องเปลี่ยนตัวเองก่อนให้เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง
ที่ต้องสามารถเสนอนำความคิด,อำนวยความสะดวก,มอบอำนาจการสั่งการ,รับผิดชอบ
งานที่ทำเป็นทีมซึ่งต้องให้ทุกคนกล้าแสดงออก,ออกความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา
โดยที่ผู้นำต้องมีความเป็นธรรม,มีวุฒิภาวะ,ยอมรับฟังยอมรับผิด,นำความคิดไปแก้ไข
รับรองได้สักพักทุกคนจะกล้าแสดงออกโดยเหตุผลซึ่งผู้นำต้องควบคุมการพูดคุย
ให้อย่างสมดุลและในทางระยะยาวต้องวางแผนพัฒนาคนให้เป็นทรัพยากรมนุษย์
ที่ถูกหล่อหลอมจากครอบครัวที่ให้เด็กกล้าแสดงออกโดยเหตุผลไม่ใช่อารมภ์ซึ่ง
คนในครอบครัวทุกคนต้องทำด้วยตั้งแต่การเคารพสิทธิ,การเป็นอิสระในขอบเขตุ,
การมีสิทธิเสมอภาค,การมีกฏข้อบังคับที่ตกลงกันด้วยเสียงส่วนใหญ่ที่รับฟังเสียง
ส่วนน้อยโดยเหตผลแล้วเริ่มที่สถาบันศึกษาครูตัวอย่าง,การเรียนการสอน,การปฏิบัติ
ในชุมชนและสังคมเท่านี้ก็จะได้มนุษย์พันธ์ใหม่ที่กล้าคิด,สร้างสรรค์,มีเหตุผล,ไม่ใช้
อารมภ์ตัดสิน,ยอมรับผิดชอบในการกระทำ,ยอมรับฟังผู้อื่น,ยอมรับเสียงส่วยใหญ่ด้วยเหตุผล
สรุปเริ่มที่ผู้นำก่อนครับหากผู้บริหารทุกคนทำอย่างที่กล่าวมารับรองได้คุณจะได้
บุคคลากรที่มีสมรรถนะไปสร้างงานที่มีประสิทธิภาพทำให้องค์การก้าวหน้าอย่างยั่งยืนครับ

2007-11-06 00:20:15 · answer #6 · answered by นายริด 4 · 0 0

สวัสดีค่ะ
ก็นิสัยคนไทยเราชอบสร้างมิตรมากกว่าที่จะเป็นศัตรูกันและสิ่งที่สำคัญ คนไทยเรามักจะไม่ขัดใจฝ่ายตรงกันข้ามเท่าไหร่เวลาที่คุยกัน อะไรที่ยอมได้เราก็ยอมค่ะ เพื่อสร้างไมตรีจิตค่ะค่ะ ก็เค้าจะชอบหรือไม่ชอบเป็นอีกเรื่อง แต่เราก็ดีใจน๊ะที่ไม่ทำให้คนอื่นโกรธก็พอแล้วค่ะ จริงมั้ยค๊ะ

2007-11-04 22:49:17 · answer #7 · answered by smilebizdollars 3 · 0 0

บางทีการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็อาจจะแก้ปัญหาได้ง่ายๆ คนเราถ้ามองในแง่ดีต่อกัน การทำงานร่วมกันมันก็ง่าย หากคิดว่าเราเก่ง แล้วทำไมไม่สามารถบริหารงานให้ได้ประสิทธิผลได้มากที่สุดกับคนหมู่มาก ปัญหามีให้เราแก้ไข จะไปแก้นิสัยคนเราทั้งหมดคงไม่ได้ การทำงานที่ยึดหลักอะลุ้มอล่วย มีอ่อนมีแข็งพอสมควร มีวาทศิลป์ มีคุณธรรม เอื้ออาทรต่อกัน ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นอุปสรรคในการก้าวไปข้างหน้า ฝรั่งกับคนไทยนิสัยใจคอต่างกัน การนำการบริหารแบบตะวันตกมาใช้กับคนไทยทั้งหมดย่อมไม่ประสบผลสำเร็จแน่ๆ ต้องปรับเสริมเติมแต่ง ใช้ใจเข้ามาเป็นบรรทัดฐานด้วย ถึงจะสามารถเป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จค่ะ

การคัดเลือกคนเข้ามาร่วมทีม หากได้คนที่มีความคิด อุดมการณ์ใกล้เคียงกัน เช่นได้คนที่ไฟแรง กล้าพูด กล้าทำ ไม่ชอบนินทามากกว่าทำงาน ก็จะทำงานกับเราได้ดีกว่าคนเฉื่อยแฉะ ขอไปที และไม่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเองค่ะ จริงๆมันสำคัญตั้งแต่การคัดเลือกผู้ร่วมงานแต่ละท่านเข้ามาทำงาน หากมาแก้ปัญหาที่ปลายเหตุก็อาจะยากสักหน่อย แต่คนส่วนใหญ่ก็สามารถพัฒนาการทำงานได้ค่ะ ต้องประชุมหารือกัน เปิดอกคุยแบบซื้อใจสักทีก็น่าจะดีค่ะ หากเข็นไม่ขึ้นหรือทำให้งานเสียหายมาก ก็น่าจะมองหาคนใหม่มาแทนนะคะ แต่อยากให้พูดกันดีๆว่าเราต้องการอย่างไร คุณมีความเห็นอย่างไร ปรับแก้ได้ไหม ไม่ใช่อะไรๆก็ด่า อะไรๆก็ตำหนิหรือใช้อารมณ์ค่ะ หมายถึงเจ้านายบางจำพวกนะคะ ที่ใช้อารมณ์ของตนเป็นใหญ่ ผลที่ได้ก็คือลูกน้องจะกลัว ไม่กล้าออกความคิดเห็นค่ะ หากเราทำให้เขารู้สึกดีๆ ให้เขาได้รู้สึกว่าเขาเป็นส่วนสำคัญของทีมงาน คงไม่มีใครไม่ชอบหรอกค่ะ อันนี้หลักการประนีประนอมช่วยเปลี่ยนใจคนเราได้นะคะ

ที่พูดมาทั้งหมดก็หมายรวมถึงทั่วๆไปนะคะ ไม่ได้ว่าคนถามค่ะ แค่ถกปัญหากัน หวังว่าคงเข้าใจ อยากให้เจ้านายและลูกน้องรักกันค่ะ We're the same team.

2007-11-04 21:51:36 · answer #8 · answered by กระจกใส 7 · 0 0

fedest.com, questions and answers