English Deutsch Français Italiano Español Português 繁體中文 Bahasa Indonesia Tiếng Việt ภาษาไทย
หมวดหมู่ทั้งหมด

สังคมไทยเป็นส่วนผสมที่ขัดแย้งกันระหว่างปัญญาแบบวิทยาศาสตร์ (เช่นแก่นของพุทธ) กับการพึ่งพิงอำนาจเหนือธรรมชาติ (เช่นเปลือกของพุทธ) ในโลกที่แคบลงและแข่งขันกันมากขึ้น เราจะอยู่รอดอย่างไรด้วยส่วนผสมแบบนี้?

2007-10-18 01:40:18 · 42 คำตอบ · ถามโดย ?????? ?????????? 1 ใน สังคมศาสตร์ สังคมวิทยา

42 คำตอบ

ความเชื่อถือเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล จึงเรื่องยากที่จะตัดสินว่าความเชื่อของบุคคลนั้นถูกหรือผิด

ความเชื่อที่เป็นวิทยาศาสตร์ – เป็นความเชื่อในเหตุและผล ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แม้ว่าปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะช่วยย่อโลกของเราให้เล็กลง ช่วยให้เราเข้าถึงและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารได้ง่ายขึ้น แต่การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ง่ายขึ้นบางครั้งก็ไม่ได้ช่วยทำให้ทุกคนนั้นฉลาดขึ้น หากแต่คนบางกลุ่มยังไม่รู้จักใช้สติปัญญาในการพินิจพิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่รอบตัว

ความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ – เป็นความเชื่อในอำนาจที่บางครั้งไม่สามารถพิสูจน์หรืออธิบายเหตุและผลได้ สังคมไทยมีความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติมาช้านาน ที่จริงไม่เพราะสังคมไทยเท่านั้นที่มีความเชื่อนี้

ส่วนสาเหตุใดที่สังคมไทยในปัจจุบัน ยังมีความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติอยู่นั้น อาจเป็นเพราะคนในสังคมไทยส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกฝึกให้ใช้สติพินิจพิเคราะห์เหตุและผล คนในสังคมส่วนใหญ่ถูกฝึกหรือสอนมาให้ยอมรับในสิ่งที่เป็นอยู่โดยปราศจากตั้งคำถาม

คนในสังคมไทยควรจะมีความเชื่อแบบไหนเพื่อจะทำให้สังคมไทยอยู่รอดในโลกที่แข่งขันมากขึ้น? ในความเห็นของคนส่วนใหญ่คงจะตอบว่าความเชื่อที่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่ในความเป็นจริง การที่ทุกคนในสังคมจะมีความเชื่อในแบบเดียวกันคงเป็นไปได้ยาก คนในทุกๆสังคมคงจะมีความเชื่อที่เป็นวิทยาศาสตร์ผสมผสานกับความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ

การที่คนส่วนใหญ่ในสังคมมีสติและใช้สติปัญญาอย่างชาญฉลาดในการแก้ปัญหาและการวางแผนต่างหาก จะเป็นตัววัดว่าสังคมนั้นจะอยู่รอดในโลกที่แข่งขันมากขึ้นได้อย่างไร

2007-10-18 18:04:07 · answer #1 · answered by Gwiddy 2 · 4 0

เป็นความจริงที่ประเทศไทย เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า นับถือสิ่งเร้นลับมากที่ในโลกประเทศหนึ่ง ส่วนหนึ่งเกิดจากพิธีกรรมต่างๆ อีกส่วนหนึ่งเกิดจากความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติที่เป็นวัตถุมงคล

ในส่วนที่เป็นความบริสุทธิ์ของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นศาสนาที่หล่อหลอมจิตใจคนไทย มีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นแบบแผนของตัวเอง ทำให้คนไทยมีความอบอุ่น ร่าเริง น่ารักและเต็มไปด้วยความเป็น "เพื่อน" กับชาวต่างชาติทั่วโลก

ส่วนการพึ่งพิงอำนาจเหนือธรรมชาติที่คุณกล่าวถึงนั้น เป็นผลจากการที่คนไทยนับถือศาสนาพุทธ แต่ก็ยังรับอิทธิจากศาสนาอื่น เช่น พราหมณ์ ฮินดู อิสลาม เต๋า เข้ามาถือปฏิบัติควบคู่กับศาสนาพุทธ แต่โดยเหตุที่ศาสนาพุทธนอกจากจะเน้นที่การปฏิบัติจนถึงแก่นแท้ของศาสนาพุทธ ผลพลอยได้ประการหนึ่งคือปาฏิหาริย์ที่บรรดาพระสงฆ์ท่านได้จากการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ บางครั้งได้ตอบสนองความต้องการของผู้คนที่รักนับถือ ที่ออกมาหลายรูปแบบดังในปัจจุบัน เช่น การออกวัตถุมงคงที่มีจุดหมายที่จะทำนุบำรุงศาสนา หรือนำมาสักการะบูชา ก็เป็นความเชื่อของแต่ละบุคคล

ดังนั้นถึงแม้ว่าจะเป็นความขัดแย้งอยู่ก็จริง แต่สังคมไทยก็ยอมรับในความขัดแย้งนั้น ๆ โดยไม่ก่อให้เกิดความแตกแยก เพราะเราไม่สามารถแยกความเป็นพุทธออกจากสังคม แต่ไม่สามารถแยกความเชื่อของแต่ละบุคคลในสังคมได้ แก่นแท้ของศาสนา และความเชื่อจึงเดินไปด้วยกันได้

คราวนี้ก็มาถึงเรื่องความเชื่อกับโลกาภิวัฒน์ เนื่องจากแนวทางของชาวพุทธเป็นแนวทางที่ปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ดังเราจะเห็นพระสงฆ์ได้แบ่งแนวหลักๆ เป็นสองแนวคือแนวที่พุทธบริสุทธิ์คือพระสงฆ์ที่ยึดแนวปฏิบัติและพระสงฆ์ที่ยึดแนวทางการศึกษาพระธรรมวินัย อันเป็นปฏืบัติที่จะรองรับกับสังคมไทย แม้ว่ากระแสความเจริญแบบโลกาภิวัฒน์จะกระจายไปสู่ชนบทก็ไม่ทำให้เกิดผลกระทบกับศาสนาในเชิงลึก แม้สังคมจะเปลี่ยนไปความเชื่อในทางศาสนามิได้เปลี่ยนแปลงไป นี่เป็นจุดแข็งของศาสนา ขนมธรรมเนียมและวัฒนธรรมแบบไทยๆ เราจะยังอยู่รอดและรักษาชีวิตความเป็นอยู่แบบไทยๆ ควบคู่กับการรักษาความเป็นชาวพุทธอย่างแนบแน่น ตลอดไป

2007-10-18 05:40:04 · answer #2 · answered by Kanes 6 · 5 0

จตุคามฯ คงเป็น ตัวอย่างความอยู่รอดอันหนึ่งของคนไทยเพิ่งรัฐบาลไม่ได้ก็พึ่งจตุคามฯ โดยที่เราไม่เคยรู้สึกขัดแย้งเลยกับการที่จตุคามฯช่วยให้เงินสะพัด การแข่งขันของคนไทยนอกจากจะอาศัยวิชาการแล้ว ต้องบนที่ศาลเจ้ากันด้วยเพื่อช่วยให้สำเร็จ

ไม่น่าจะขัดแย้งนะคะ ความเชื่อเป็นกุศโลบาย วิชาการคือ แผนที่การทำงาน แต่จะไปถึงไหน คงต้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยด้วยมั้งคะคนไทยส่วนใหญ่ก็เห็นเป็นแบบนี้

2007-10-18 05:33:42 · answer #3 · answered by e-nai 6 · 5 0

ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ความกลัวธรรมชาติ คือ ต้นกำเนิดของแทบทุกศาสนา

เพราะความที่มนุษย์กลัวง่ายๆ กลัวไปหมด กลัวแม้กระทั่งที่มา ที่ที่จะไป ของตัวเอง

ศาสนาจึงเริ่มตันเข้ามาหาคำตอบให้มนุษย์ นับแต่นั้นมาเราจึงเห็นว่าหลายๆ

ศาสนา ไม่เฉพาะในบ้านเรา ทั่วโลก มีความเชื่อเรื่อง เหนือธรรมชาติ ทั้งนั้นจน

ไม่รู้ว่าใคร ลอกใครมา

ความคิดส่วนตัวของผมๆ ว่าเราแยกไม่ได้ว่าอะไรคืองมงาย หรือไม่ในเมื่อเรายัง

หาคำตอบในสิ่งๆ นั้นไม่ได้ เพราะ เราไม่เคยตาย เราเลยไม่รู้ว่าผีหน้าตาเป็นไงมี

จริงไหม นางฟ้า เทวดา เป็นอย่างไร พญานาค ฯลฯ

อันนี้ บางท่านก็บอกว่า การนำเอา กระพี้ ผสมรวมลงไปในศาสนาคือการ ชักจูง

คน ให้เข้ามาหา ศาสนา คือ แก่น นั้นเอง หมายความว่าถ้าไม่มีกระพี้ จะมีแก่นได้

อย่างไร? แต่ สำหรับส่วนตัวผมๆ ชอบแบบ แก่นแท้ มากกว่า เช่น แนวท่าน

"พุทธทาส" ท่านปัญญา" "พระพยอม" แต่ ผมก็ไม่ได้รังเกียจ คนที่เข้ามาทาง

"เปลือก" ผมคิดว่า เขา อาจเข้ามาช้า แต่ในที่สุด เขาก็อาจถึงแก่นได้

ผมไม่ได้กังวลใจไปกลับเรื่องนี้เลย ยกเว้นจะไม่ชอบในกระแสนิยม แต่กระนั้น

พวกที่มาเร็ว จะไปเร็วเช่นกันอยู่ได้ไม่นานเช่น กระแส "จตุคาม" ตอน วาง

จำหน่ายในราคาที่

ใครก็เป็นเจ้าของได้...........อย่าไปกลัวเลยครับยิ่งโลกเจริญขี้นวันหนึ่งความจริง

ย่อมปรากฎ ว่าอะไรดีหรือไม่ดี ครับ

ขอบคุณครับเจ้าของคำถามมากครับ

2007-10-18 04:58:13 · answer #4 · answered by Anonymous · 5 0

สวัสดีรุ่นพี่ค่ะ ขอออกความเห็นหน่อยนะคะ
มนุษย์เป็นคนกำหนดความเชื่อกันขึ้นมาเอง มีหลายแบบหลายวัฒนธรรม มีศาสนาหลายศาสนามาตั้งแต่โบราณกาล ความศรัทธามากหรือน้อย
ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง เราไม่อาจจะวัดกันได้กระมังค่ะ ความเชื่อมีมานานนับหลายพันปีแล้ว ทำไมประเทศต่างๆยังดำรงอยู่ได้ล่ะค่ะ ทั้งๆที่มีศาสนาและลัทธิความเชื่อหลายร้อยแบบ แต่มนุษย์ส่วนใหญ่ย่อมรู้ดีลึกๆว่าอะไรดีอะไรไม่ดีค่ะ เพียงแต่ว่าจะทำดีมากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเองค่ะ

ในความเห็นตัวเองไม่ว่าเราจะนับถือแบบไหน ลึกๆแล้วทุกคนต้องการเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจทั้งนั้นค่ะ บางคนยากจนเขาก็ต้องหวังอยากรวยทางลัด ในเมื่อเขาความรู้น้อย จะให้ทำอะไรได้มากมายล่ะค่ะ เขาก็เชื่อในแบบของเขา เรามีสิทธิอะไรไปว่าเขาได้ค่ะ ตราบใดที่เราไม่ได้เดือดร้อน ก็ไม่เห็นว่าจะเป็นอะไรค่ะ เพราะทุกคนที่มีความเชื่อในศาสนาย่อมดีกว่าไปทำอะไรที่มันเดือดร้อนชาวบ้านเขาเช่น ลักทรัพย์ โกงกิน คอรัปชั่น กินสินบน กินงบประมาณแผ่นดิน แบบนี้สิค่ะถึงจะนำพาสังคมให้ย่ำแย่ค่ะ

หากประชาชนและรัฐบาลเต็มไปด้วยคนมีคุณธรรมอย่างแท้จริงแล้ว ย่อมนำพาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทั้งทางวัตถุและจิตใจไปพร้อมๆกันค่ะ ซึ่งเราต้องเปลี่ยนค่านิยมและระบบการศึกษาให้กระจายและเติบโตมากกว่านี้ คนที่มีความเชื่อที่มันมากเกินไป ส่วนหนึ่งก็เพราะขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดโอกาสที่จะก้าวหน้าในอาชีพ ก็เลยไปศรัทธาในสิ่งที่คนส่วนหนึ่งเห็นว่าไม่เหมาะสมค่ะ

ไม่ว่าจะแก่นจะเปลือกก็คือส่วนประกอบของพุทธ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่จะไปแกะเปลือกขว้างทิ้งไป บางทีเปลือกก็สำคัญนะคะ เปรียบเหมือนผลไม้ ต้นไม้ก็ต้องมีทั้งเปลือกทั้งแก่นค่ะ ถึงจะดำรงอยู่ได้ แก่นมากหน่อยเปลือกน้อยหน่อย เปลือกหนาเปลือกบางไม่ใช่ประเด็นหลัก หลักสำคัญน่าจะอยู่ที่คนดูแลรดน้ำให้ปุ๋ยซึ่งก็คือประชาชนทุกคนนี่แหละค่ะ ที่จะนำพาต้นไม้ให้เจริญงอกงามได้ยั่งยืนนานสืบไป ปลอดจากศัตรูพืช ซึ่งก็คือสิ่งไม่ดีทั้งหลายรวมทั้งอวิชาที่ทำให้คนเดือดร้อนก็จะลดน้อยลงไป ไม่อาจทำลายต้นไม้ต้นนี้ได้ค่ะ

2007-10-18 06:33:38 · answer #5 · answered by กระจกใส 7 · 4 0

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาสังคมไทยตกอยู่ในภาวะความไม่มั่นคง หลายอย่่าง้นำไปสู่ความไม่มั่นคงในจิตใจ็ต้องหาที่ยึดเหนี่ยว นั่นก็คือ "ความเชื่อ"ความเชื่อนั้นมีอยู่ 2 ชนิดคือ "ศาสนา" กับ "ไสยศาสตร์” ซึ่งล้วนแต่เป็นความเชื่อใน "อำนาจเหนือธรรมชาติ” เหมือนกันแต่ศาสนาเป็นความเชื่อทคนสยบต่ออำนาจเหนือธรรมชาติ
ี่ ในสถานการณ์ที่สังคมไทยได้กลายมาเป็นสังคมสมัยใหม่ที่ประชากรได้รับการศึกษามากขึ้น มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น และมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและการเมือง แต่คนไทยมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับคุณค่าของพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมน้อยลง คนไทยมีแบบแผนการนับถือศาสนาที่เปลี่ยนไป กล่าวคือ นับถือศาสนาในฐานะที่เป็นไสยศาสตร์หรือเครื่องมือที่จะนำมาซึ่งโชคลาภ ความร่ำรวยและมั่งคั่งทางวัตถุ และสุขภาพอนามัยแข็งแรง อันเป็นที่มาของความสุขทางโลกมากขึ้น พระสงฆ์ก็ทำหน้าที่คล้ายหมอไสยศาสตร์ในการเสกคาถาหรือสร้างวัตถุมงคล ทำน้ำมนต์และของขลังต่างๆ มากขึ้น ขณะเดียวกันพุทธศาสนิกชนจำนวนมากก็หลงไหลคลั่งไคล้กับปาฏิหาริย์ พลังอำนาจและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ จนขาดสติและการพิจารณาไตร่ตรองด้วยปัญญา

2007-10-18 08:33:13 · answer #6 · answered by Anonymous · 3 0

อำนาจเหนือธรรมชาติทำให้มนุษย์มีกรอบแนวคิดที่อยู่ในกรอบของสังคมนั้นๆ ที่ช่วยกันกำหนดขึ้นมา ทำให้สามารถควบคุมผู้คนได้จำนวนมาก อำนาจนี้ได้เข้าไปครอบงำจิตใจคน ถ้ามีผู้นำมากระตุ้นอย่างสร้างสรรค์ ก็เป็นประโยชน์มากทีเดียว แต่ถ้าถูกกระตุ้นในทางไม่ดี ก็สามารถทำลายทุกสิ่งทุกอย่างได้
ความเชื่อแบบพุทธ เป็นสิ่งที่ประเสริฐมาก เพราะได้ให้ทุกคนมีปัญญา ไม่ทำสิ่งใดอย่างไม่ใช้ปัญญา แต่การเข้าถึงความเข้าใจ ของคนมีความแตกต่าง ผู้ที่มีสติและปัญญาก็จะเข้าถึงได้โดยง่าย แต่ผู้ที่อ่อนด้อยในการใช้สติปัญญา ก็จะต้องยึดโยงกับความเชื่อแบบเหนือธรรมชาติ เค้าถึงจะอยู่ในกรอบของวิถีพุทธ ถูกผิดอาจอยู่ที่การนำศาสนามาอ้างอิง อย่างไร้เหตุผล
อย่างน้อยในความแตกต่างของผู้คน ศาสนาพุทธ ก็ยังคงมีแนวทางที่ชัดเจน แม้จะมีผู้ส่งสารผิดๆ ในหลายๆรูปแบบ แต่ก็ยังคงอยู่ร่วมกันได้ ในทางสายกลาง

2007-10-18 06:46:11 · answer #7 · answered by Anonymous · 3 0

ผมคิดว่าอาจจะไม่ใช่ประเทศไทยประเทศเดียวที่มีส่วนผสมของความเชื่อแบบนี้ หลายครั้งในประเทศที่เราเรียกว่าประเทศที่เจริญแล้ว เรายังได้ยินข่าวว่ามีความเชื่อในหลากหลายรูปแบบ บางครั้งถึงขนาดฆ่าตัวตายหมู่ดังในข่าวที่เราเคยได้รับทราบมาก็มี

ผมว่าความเชื่อเหล่านี้อาจจะเป็นพื้นฐานในจิตใจของมนุษย์ทุกคน ตั้งแต่สมัยยุคหินมาแล้วก็เป็นได้ครับ เพียงแต่เราจะควบคุมความเชื่อเหล่านี้ในความคิดหรือจิตใจเราได้มากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเอง

สุดท้ายแล้ว ผมก็เชื่อว่าสังคมไทยก็จะมีทางออกของแต่ละปัญหาแบบไทยๆ ได้เองครับ เพียงแต่ว่าเราจะอยู่รอดในโลกที่แคบลง ที่มีการแข่งขันกันมากขึ้นได้หรือไม่นั้น ก็คงขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือนิสัยของคนไทยด้านอื่นๆ ประกอบด้วยครับ ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าด้วย ยกตัวอย่างเช่น บางคนอาจจะเชื่อสิ่งเหนือธรรมชาติมากๆ แต่เวลาทำงานก็จริงจัง มีความขยัน ในขณะเดียวกันที่อีกคน เชื่อสิ่งเหนือธรรมชาติเหมือนกัน แต่การงานไม่ทำ เอาแต่รอสิ่งเหนือธรรมชาติมาช่วย แบบนี้คงได้ชัดว่าคนไหนจะไปได้ไกลกว่ากัน ไม่ต้องมองไปไกลครับ ผมว่าชาติในเอเชียหลายๆ ชาติ มีความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติไม่ได้น้อยไปกว่าประเทศไทย แต่กลับก้าวไปไกลกว่าประเทศไทยเยอะครับ

2007-10-18 06:32:04 · answer #8 · answered by Tum B. 4 · 3 0

จะนำพาสังคมไทยไปถึงไหน เฮ้อ..คนที่เชื่อก็เข้าขั้น งมงาย และคงไม่มีใครที่จะไปเปลี่ยนความคิดนั้นได้ เค้าเชื่อของเขาอย่าง นั้น ใครล่ะจะมี อำนาจเหนือธรรมชาติ ใครล่ะที่สามารถใช้ อำนาจเหนือธรรมชาติ งั้น..คงพาไปตามดวง กระมัง
เราจะอยู่รอดอย่างไรด้วยส่วนผสมแบบนี้ เราก็อยู่มาเป็นร้อย เป็นพันปีแล้วนะครับ ก็คงต้องอยู่อย่างนี้กระมัง ครับ

2007-10-18 03:22:10 · answer #9 · answered by Joey07 5 · 3 0

สวัสดีครับคุณวินทร์

เป็นมุมมองส่วนตัวนะครับ อาจจะถูกหรือผิดก็ได้

สังคมไทยเป็นสังคมที่ดูเหมือนเราจะมีรากมีแก่นที่เหนียวแน่นในบวรพุทธศาสนา แต่โดยเนื้อแท้แล้วเราเป็นประเทศที่เติบโตผ่านกาลเวลามาแบบรากฐานของความเป็นพุทธร่วมอยู่กับศาสนาพราหมณ์ ความเป็นไทยที่มีศาสนาพุทธหยั่งรากลึกอยู่นั้นจึงกลายสภาพมาเป็นพุทธแบบที่เติบโตมาพร้อมกับความเชื่อเทวนิยมแบบพราหมณ์ และฮินดูผสมอยู่

เราจะเห็นว่าในประเทศเรายังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทวนิยมอยู่มาก เช่น ศาลพระพรหมเอราวัณ ที่ประชาชนทั้งไทยและต่างชาติให้การเคารพบูชา เสาชิงช้าก็เป็นอนุสาวรีย์ของความเป็นพราหมณ์ และล่าสุดกับองค์จตุคามรามเทพ ที่กลายเป็น Pop culture ไปเสียได้ ที่จริงจะนับถือเทพก็เป็นเรื่องปัจเจก... แต่มันเป็นสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ ซึ่งเราเรียกว่าอวิชาได้หรือไม่

แต่ทั้งหมดที่เขียนมานี้ผมเพียงต้องการจะบอกว่าในสังคมไทยที่เรายังมีส่วนผสมทางสังคมที่ขัดแย้งอย่างที่คุณได้ถามมานั้น เราคงจะธำรงรักษาสังคมให้รอดจากอวิชาได้ลำบากนัก

เว้นเสียแต่ว่าเราจะนำพา 'สติ' กลับมาสู่ใจเราเอง และพยายามเรียนรู้ที่จะพิจารณาสังคมไทยตามสภาพที่มันเป็นจริง โดยอย่าไปปรุงแต่งว่าอภินิหารใดจะนำพาสังคมไปสู่สถานะที่ดีขึ้น ถ้าเราเพียงน้อมรับให้สติกลับคืนมาที่ใจเรา บางทีสังคมไทยเราอาจจะอยู่รอดได้โดยรอดพ้นจากสังคมที่ตัดสินสิ่งใดๆ ด้วยความเชื่อแต่เพียงถ่ายเดียวแบบนี้

2007-10-18 03:05:39 · answer #10 · answered by Jakrapong 5 · 3 0

fedest.com, questions and answers