English Deutsch Français Italiano Español Português 繁體中文 Bahasa Indonesia Tiếng Việt ภาษาไทย
หมวดหมู่ทั้งหมด

ผมฟังเพลงมาก็เยอะ แต่พอฟังเข้าจริงๆ เริ่มสับสนว่าดนตรีแบบแจ๊ซซ์กับดนตรีแบบบลูส์มันต่างกันยังไง คือตามทฤษฏีแบบบ้านๆ ของผมคือดนตรีบลูส์จะเน้นอารมณ์โดยมีรากฐานมาจากการรำพึงรำพันของคนผิวสีในอเมริกา ในขณะที่ดนตรีแจ๊ซซ์จะคล้ายๆ กับการเล่นเพลงแบบจังหวะสวิง ฟังแล้วเบาๆ สบายๆ ตอนหลังแตกแขนงเป็นแอซิดแจ๊ซซ์อะไรมากมาย

แต่อยากให้ผู้รู้ช่วยตอบหน่อยครับว่ามันต่างกันยังไง เอาแบบที่สังเกตได้ง่าย ยกตัวอย่างเพลงที่เอาไปให้ฟังเปรียบเทียบด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

2007-10-11 14:38:31 · 3 คำตอบ · ถามโดย Jakrapong 5 ใน บันเทิงและดนตรี ดนตรี อื่นๆ เกี่ยวกับดนตรี

3 คำตอบ

ผมเองก็ไม่เชี่ยวชาญครับ เคยทราบว่าแจ๊สแตกสาขามาจากบลูส์

ยังไงไปคัดลอกมาให้อ่านดูนะครับ

แจ๊ส
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


แจ๊ส (Jazz) เป็นลักษณะดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนดำในสหรัฐอเมริกา (African Americans) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะพิเศษคือโน้ตบลูส์ การลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยแจ๊สถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิคชนิดหนึ่งของสหรัฐอเมริกา


ประวัติ
ดนตรีแจ๊สมีต้นกำเนิดราวทศวรรษ 1920 โดยวงดนดรีวงแรกที่นำสำเนียงแจ๊สมาสู่ผู้ฟังหมู่มากคือ ดิ ออริจินัล ดิกซีแลนด์ แจ๊ส แบนด์ (The Original Dixieland Jazz Band: ODJB) ด้วยจังหวะเต้นรำที่แปลกใหม่ ทำให้โอดีเจบีเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมาก พร้อมกับให้กำเนิดคำว่า "แจ๊ส" ตามชื่อวงดนตรี โอดีเจบีสามารถขายแผ่นได้ถึงล้านแผ่น

รากลึกของแจ๊สนั้นมีมาจากเพลงบลูส์ (Blues)คนผิวดำที่เล่นเพลงบลูส์เหล่านี้เรียนรู้ดนตรีจากการฟังเป็นพื้นฐาน จึงเล่นดนตรีแบบถูกบ้างผิดบ้าง เพราะจำมาไม่ครบถ้วน มีการขยายความด้วยความพึงพอใจของตัวเองเป็นหลัก ซึ่งกลายเป็นที่มาของคีตปฏิภาณ (Improvisation)

ในภายหลังดนตรีแร็กไทม์ (Ragtime) ก็เชื่อว่ามีต้นกำเนิดคล้ายๆ กันคือ เกิดจากดนตรียุโรปผสมกับจังหวะขัดของแอฟริกัน บลูส์และแร็กไทม์นี่เองที่เป็นรากของดนตรีแจ๊สในเวลาต่อมา

เพลงบลูส์เริ่มได้รับความนิยมในช่วงเวลาเดียวกันกับแร็กไทม์ ปลายๆ ทศวรรษ 1910 เพลงบลูส์และแร็กไทม์ถูกผสมผสานจนกลมกลืนโดย บัดดี โบลเดน (Charles Joseph 'Buddy' Bolden) เป็นผู้ริเริ่ม หากแต่เวลานั้นยังไม่มีการประดิษฐ์คำว่าแจ๊สขึ้นมา และเรียกดนตรีเหล่านี้รวมๆ กันว่า "ฮ็อต มิวสิก" (Hot Music) จนกระทั่งโอดีเจบีโด่งดัง คำว่า แจ๊ส จึงเป็นคำที่ใช้เรียกขานกันทั่ว แจ๊สในยุคแรกนี้เรียกกันว่าเป็น แจ๊สดั้งเดิม หรือ นิวออร์ลีนส์แจ๊ส


ทศวรรษที่ 1920 และ 1930
สหรัฐเขาร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทางการสั่งปิดสถานเริงรมณ์ในนิวออร์ลีนส์ ทำให้นักดนตรีส่วนใหญ่เดินทางมาหากินในชิคาโก นิวยอร์ก และ ลอสแองเจลลิส ทั้งสามเมืองจึงกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะนักดนตรีแจ๊สในช่วงนั้ ชิคาโกดูจะเป็นเมืองที่มีความก้าวหน้าทางดนตรีแจ็สเหนือกว่าอีกสองเมือง เพราะมีนักดนตรีมาทำงานมาก ชิคาโกเป็นเมืองที่ทำให้ หลุยส์ อาร์มสตรอง (Louis Armstrong) เป็นที่รู้จัก และกลายเป็นนักดนตรี นักร้องแจ๊สชื่อก้องโลกในเวลาต่อมา ในด้านการพัฒนา ชิคาโกมีดนตรีแจ๊สที่สืบสายมาจากนิวออร์ลีนส์แต่มีลักษณะเฉพาะตัว มีการทดลองจัดวงในแบบของตัวเอง เริ่มเอาเครื่องดนตรีใหม่ๆ เช่น แซ็กโซโฟนมาใช้รวมกับ คอร์เน็ต ทรัมเป็ต มีการทดลองแนวดนตรีใหม่ๆ เช่น การเล่นเปียโนแบบสไตรด์ (Stride piano) ของเจมส์ จอห์นสัน (James P. Johnson) ซึ่งมีพื้นฐานจากแร็กไทม์ การทดลองลากโน้ตให้ยาวจนผู้ฟังคาดเดาได้ยากของอาร์มสตรอง และการปรับแพทเทิร์นของจังหวะกันใหม่เป็น Chicago Shuffle

ส่วนนิวยอร์กรับหน้าที่เป็นศูนย์กลางของแจ๊สในยุคปลายทศวรรษ 1920 แทนชิคาโก ดนตรีแจ๊สในนิวยอร์กพัฒนาเพื่อเป็นดนตรีเต้นรำให้ความสนุกสนานบันเทิง และเป็นที่มาของ สวิง (Swing) และ บิ๊กแบนด์ (Big Band)

สวิงเป็นดนตรีที่ก่อให้เกิดการจัดวงแบบใหม่ที่เรียกว่า "บิ๊กแบนด์" ซึ่งมีการแบ่งโครงสร้างเครื่องดนตรีเป็นสามส่วนคือ เครื่องทองเหลือง เครื่องลมไม้ และเครื่องให้จังหวะ ศิลปินที่แจ้งเกิดในยุคนี้เช่น เอลลา ฟิทซ์เจอรัลด์ (Ella Fitzgerald) บิลลี ฮอลิเดย์ (Billy Holiday) และหลุยส์ อาร์มสตรอง จุดเด่นของนักร้องแจ๊สคือการ "สแกต" (Scat) หรือเปล่งเสียง ฮัมเพลง แทนเครื่องดนตรี ซึ่งนับเป็นการแสดงคีตปฏิภาณของนักร้อง

ทศวรรษที่ 1940
เพลงสวิงมาถึงจุดอิ่มตัวเมื่อนักดนตรีเริ่มเบื่อหน่ายการจัดวงและการเรียบเรียงที่ค่อนข้างตายตัว จึงเริ่มเกิดการหาแนวทางใหม่ๆ เล่นตามความพอใจหลังการซ้อมหรือเล่นดนตรี หรือเรียกว่า "แจม" (Jam session) ชาร์ลี "เบิร์ด" พาร์คเกอร์ (Charlie "Bird" Parker) นักแซ็กโซโฟน และ ดิซซี่ กิลเลสปี (Dizzy Gillespie) นักทรัมเป็ต เสนอแจ๊สในแนวทางใหม่ขึ้นมา เมื่อทั้งสองร่วมตั้งวงห้าชิ้นและออกอัลบั้มตามแนวทางดังกล่าว คำว่า "บีบ็อพ" (Bebop) "รีบ็อพ" (Rebop) หรือ "บ็อพ" (Bop) ก็กลายเป็นคำติดปาก คำว่าบีบ็อพเชื่อกันว่ามาจากสแกตของโน้ตสองตัว บ็อพมีสุ้มเสียง จังหวะ การสอดประสานที่ต่างไปจากสวิงค่อนข้างมาก เช่นจังหวะไม่ได้บังคับเป็น 4/4 เหมือนสวิง ใช้คอร์ดแทน (Alternate chords) ในขณะที่โซโลและการแสดงคีตปฏิภาณยังคงวางบนคอร์ดเดิม


ทศวรรษที่ 1950
ไมล์ส เดวิส และ จอห์น โคลเทรน (John Coltrane) ก็มาลงตัวกับท่วงทำนองที่ใช้ฮาร์โมนีของโหมด (Mode) มากกว่า คอร์ด กลายมาเป็น โมดัลแจ๊ส(Modal Jazz) ในเวลาต่อมา โดยมีอัลบั้ม Kind of Blues ของเดวิส เป็นตัวแทนของการเริ่มต้น การใช้โหมดทำให้นักดนตรีสามารถโซโล หรือแสดงคีตปฏิภาณได้อิสระยิ่งขึ้น เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องคอร์ดเหมือนที่ผ่านมา จึงเกิดสเกลแปลกใหม่มากมาย

หลังอัลบั้ม Kind of Blue ในปี 1959 ไม่นานนัก ออร์เน็ต โคลแมน (Ornette Coleman) นักแซ็กโซโฟนก็เสนออีกแนวทางหนึ่งที่ให้อิสระยิ่งกว่าโมดัลแจ๊ส คือดนตรีสายฟรีแจ๊ส (Free Jazz) ซึ่งเน้นปฏิสัมพันธ์เป็นแกน อาศัยความรู้สึกและคีตปฏิภาณอย่างหนักหน่วง จนแทบไม่เหลืออะไรเป็นศูนย์กลายของเพลง หลายๆ เพลงไม่มีแม้แต่จังหวะทำนอง ไม่มีห้องดนตรี ดนตรีในแนวฟรีแจ๊สและที่ใกล้เคียงกันในเวลานั้นทั้งหมดเรียกรวมว่า "อวองต์ การ์ด" (Avante Garde) นอกจาก โคลแมนแล้ว ผู้ที่มีชื่อเสียงในฟรีแจ๊ส เช่น อัลเบิร์ต ไอย์เลอร์ (Albert Ayler) ซึ่งเป็นผู้ชักนำให้ โคลเทรนหันมาสนใจฟรีแจ๊สในระยะหลังๆ


ทศวรรษที่ 1970
หลังกำเนิดฟรีแจ๊ส ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ได้เกิดดนตรีแจ๊สอีกแนวที่เรียกว่า ฟิวชัน (Fusion) ซึ่งบ่งชี้ถึงการนำดนตรีสองแนวหรือมากกว่ามาหลอมรวมกัน แต่โดยบริบทในช่วงนั้นจะหมายถึงการรวมดนตรีแจ๊สเข้ากับร็อกเป็นหลัก เพราะช่วงเวลานั้นร็อกแอนด์โรลมีอิทธิพลในกลุ่มวัยรุ่นอย่างมาก ไมล์ส เดวิส นักปฏิวัติดนตรีแจ๊ส ก็ได้หยิบเอาโครงสร้างของร็อกมารวมกับแจ๊ส ทดลองใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้า เครื่องดนตรีประเภทสังเคราะห์เสียง โดยเริ่มจากอัลบั้ม In A Silent Way ก่อนจะมาเป็นอัลบั้ม Bitches Brew ซึ่งเป็นต้นแบบของแนวฟิวชันในเวลาต่อมา


แจ๊สยุคใหม่

จามิโรไคว์ ศิลปินแอซิดแจ๊สยุคหลังทศวรรษ 1970 ฟิวชันไม่ได้ครอบคลุมเพียงแจ๊ส-ร็อก หากรวมถึงดนตรียุคหลัง เช่น แจ๊ส-รึทึมแอนด์บลูส์ แจ๊ส-ฟังกี้ แจ๊ส-ป๊อป เป็นต้น ฟิวชันยุคหลังนี้มีอิทธิพลกับแนวดนตรีนิวเอจ (New Age) และ เวิลด์ มิวสิก (World Music) ในเวลาต่อมาโดยมีสังกัด ECM และ วินด์แฮม ฮิล (Windham Hill) นักดนตรีฟิวชันที่โด่งดังมีหลายคน เช่น คีธ จาร์เร็ต (Keith Jarrett) แพท เมธินี (Pat Metheny) บิลล์ ฟริเซล (Bill Frisell) โตชิโกะ อะกิโยชิ (Toshiko Akiyoshi) ซาดาโอะ วาตานะเบ (Sadao Watanabe) เป็นต้น

มีความพยายามหาสุ้มเสียงใหม่ๆ จากฟิวชันเหมือนกัน เช่น แอซิดแจ๊ส (Acid Jazz) หรือกรูฟแจ๊ส (Groove Jazz)ซึ่งเป็นผลการผสมระหว่างแจ๊ส โซล ฟังกี้ และฮิปฮอป เช่น จามิโรไคว์ (Jamiroquai) อีกแนวที่ใกล้กับแอซิดแจ๊สคือ นูแจ๊ส (Nu Jazz) หรือ อิเล็กโทรแจ๊ส (Electro-Jazz) ซึ่งเกิดในปลายทศวรรษ 1990 โดยนำเนื้อหนังของแจ๊สมาผสมผสานด้วยดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องสังเคราะห์เสียง เช่น วงอิเล็กโทรนิกา (Electronica)



ส่วนบลูส์

บลูส์


บลูส์ (Blues) ซึ่งเป็นดนตรีที่คงรูปแบบเดิม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นรูปแบบของดนตรีประเภทหนึ่ง เกิดจากสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนดำที่หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐอเมริกาเพื่อการเป็นทาส สภาพชีวิตที่คับแค้นของพวกเขาได้ถูกนำเสนอผ่านบทเพลงด้วยการร้อง หรือสวดอ้อนวอนในทางศาสนาที่ เป็นท่วงทำนองที่น่าเศร้า อันเป็นเอกลักษณ์ของการร้องและท่วงทำนองที่เกิดจากเครื่องดนตรีที่ไม่มีคุณภาพจากความแร้นแค้น และความรู้ในด้านทฤษฎีดนตรีที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทำให้มีเสียงหรือคอร์ดความเพี้ยนซึ่งต่อมาก็ได้สร้างความแปลกหู จนเป็นลักษณะและเอกลักษณ์เฉพาะ

ลักษณะเฉพาะของเพลงบลูส์ถูกวางด้วยด้วยรากฐานจากความเจ็บปวดแร้นแค้น ทุกข์ทรมาน ของชีวิต เนื้อเพลง และสำเนียงของบลูส์จึงแฝงความเจ็บปวดคล้ายการสะอึกสะอื้นเวลาร้องให้ จึงใช้แสดงอารมณ์เศร้าได้ดี นอกจากนั้น เรื่องของจังหวะ (rhythm) ของบลูส์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นแบบแผนนำไปสู่ดนตรีรูปแบบอื่นมากมาย เช่น ฟังค์,โซลฟังค์,ริทึ่ม แอนด์ บลูส์, ร็อก แอนด์ โรล เป็นต้น

ศิลปินบลูส์ที่น่าสนใจมีด้วยกันในหลายยุค เช่น BB.king ("You Know I Love You," "Woke Up This Morning," "Please Love Me,"), Muddy Waters, Buddy Guy, Stevie Ray Vaughan, Eric Clapton, John Lee Hooker,Jimi Hendrix

ที่มาของคำว่า บลูส์ ในภาษาัอังกฤษ blues หมายถึง อาการโศกเศร้า ในประโยคเช่น I feel blues.


คงได้ความรู้เพิ่มขึ้นนะครับ

2007-10-11 17:20:22 · answer #1 · answered by M.C. Hazard 3 · 1 0

จากที่เคยทราบมา ดนตรีแจซซ์...... ต้นกำเนิดมาจาก การเล่นดนตรีพื้นบ้านของอังกฤษ... ซึ่งช่วงแรกๆ... ก็ดูจะฟังยากเพราะส่วนใหญ่ มีแต่บรรเลงไม่มี เนื้อร้อง แต่พอมายุคหลัง............ พัฒนามาจนบางทีไม่ทราบเป็นแนวไหนแต่ก็ยังคง....กลิ่นไอผู้ดีอังกฤษเอาไว้อยู่บ้าง........เพลงบลู.........ต้นกำเนิดมาจากคนผิวดำ...ในอเมริกา ซึ่งช่วงต้นๆ...ของยุคจะมีเนื้อหาของการแบ่งแยกสีผิว....แบ่งแยกชนชั้น...ทาส....นาย.... โดยยุคแรกมาจากการแต่งเพลงของ....ทาส ที่บรรยาย ถึง ความทุกข์ของทาสพอมายุคหลัง.........เลิกทาสเนื้อหาและทำนองเพลง...ก็เปลี่ยนแต่ยังคงมีกลิ่นไอของความเศร้า kate

2007-10-12 00:52:24 · answer #2 · answered by kate 1 · 1 0

ดนตรีแจ๊ส เป็นดนตรีประเภทหนึ่งที่ผู้เล่นต้องใช้ทักษะสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเล่นเดี่ยวโดยใช้ปฏิภาณ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยาก ที่ผู้เล่นต้องใช้ฝีมือ และรู้แนวทางอย่างแม่นยำ การเล่นเดี่ยว โดยใช้ปฏิภาณนี้ ภาษาอังกฤษ

เรียกว่า IMPROVISE และนักดนตรีส่วนมาก จะเรียกว่า ADLIB การ IMPROVISE หรือ ADLIB นี้ เป็นส่วนสำคัญ สำหรับการเล่น ในแนวทาง JAZZ

ดนตรี JAZZ เพิ่งจะมีการเล่น และพัฒนาตัวเอง มาจากดนตรีของ แอฟริกาตะวันตก และเป็นรูปเป็นร่าง ในปี ค.ศ. 1900 นี่เอง และเรียกดนตรี JAZZ ชนิดนี้ว่า NEW ORLEANS JAZZ ซึ่งเป็นที่นิยมกัน ในหมู่ชาวผิวดำ (อเมริกัน) ที่เรียกชื่อนี้ ก็เพราะเป็น JAZZ ที่เกิดในเมืองนี้เอง นิยมใช้เครื่องดนตรีเพียง 6-7 ชิ้นเท่านั้น โดยจะมี PIANO , BANJO ภายหลังมาเปลี่ยนเป็น GUITAR , TRUMPET , TUBA หรือ CLARINET , TROMBONE , BASS และกลองชุด เป็นต้น บางวงก็เพิ่ม TENOR SAXOPHONE เข้าไปด้วย

การเล่น NEW ORLEANS JAZZ ในหมู่คนดำนั้น ต่อมาคนขาวก็เล่นบ้าง แต่เรียกว่า DIXIELAND JAZZ ก็คือวงแบบเดียวกัน บางทีก็เรียกว่า ORIGINAL JAZZ การเล่น JAZZ แบบนี้ ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว คือ ตัวใครตัวมัน ต่อมาก็ได้มีวิวัฒนาการเป็น SWING BAND โดยเพิ่มคนเล่นเข้าไปอีกเล็กน้อย มาจนถึง BIG BAND BEE BOB และ MODERN JAZZ การเล่น JAZZ ทุกแบบอย่าง ต้องมี IMPROVISE หรือ ADLIB เป็นตัวสำคัญ แม้กระทั่งในปัจจุบันนี้ JAZZ ก็ได้พัฒนามาถึง FUSION JAZZ แล้วก็ต้องมี IMPROVISE หรือ ADLIB เช่นกัน

JAZZ ในรูปแบบที่เป็น JAZZ BIG BAND จะมีจำนวนผู้เล่นได้ถึง 12 คน หรือมากกว่านั้น มี RHYTHM เป็นหลัก คือ PIANO, BASS, DRUMS และ GUITAR แบ่งเป็น SECTION ของ BRASS ก็มี TRUMPET กับ TROMBONE ส่วน SAXOPHONE ก็มี ALTO, TENOR และ BARITONE มีหลักที่สำคัญ คือ ต้องมี MELODY + HARMONY + RHYTHM และ IMPROVISE ซึ่ง BRASS SECTION จะทำหน้าที่เป็น MELODY + HARMONY และเป็น BACKGROUND ส่วน SAXOPHONE SECTION ก็ทำหน้าที่แบบเดียวกัน สลับกับ BRASS เมื่อมีเครื่อง IMPROVISE หรือ ADLIB กลุ่มของ BRASS กับ SAXOPHONE จะผลัดกันทำหน้าที่เป็น BACKGROUND จะสั้นหรือยาวอยู่ที่ผู้เขียน และจังหวะของเพลงนั้น ๆ จะเป็นจังหวะช้าหรือเร็ว ก็เป็น JAZZ ได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของวงดนตรี ผู้เล่น ผู้เขียน เป็นปัจจัยสำคัญ

อีกส่วนหนึ่งที่ค่อนข้างจะเป็นส่วนที่ระบุว่าเป็น JAZZ คือ MELODY มักจะมี SYNCOPATION คือไม่ค่อยราบเรียบ โดดขึ้นลงอยู่เสมอ เป็นไปตามจังหวะของตัวโน้ต ในการ ADLIB นักดนตรีบางท่านจะ ADLIB โดยเก็บ MELODY ไว้บางตัว บางท่านก็จะหายไปเลย แต่ไม่ใช่หายเข้าป่า อย่างที่นักดนตรีมักเอ่ยถึง การ ADLIB ที่ถูกต้องจะมี MELODY หรือไม่มีก็ได้ แต่ต้องอยู่ในกรอบของ CHORDS ที่กำกับ MELODY เหล่านั้น ฉะนั้นนักดนตรีที่จะ ADLIB ได้ ต้องเข้าใจในเพลงพร้อม CHORDS ของเพลงนั้น ๆ เป็นอย่างดี
ที่มา: บทความของ อ. แมนรัตน์ ศรีกรานนท์
จุดกำเนิดของ Jazz เริ่มประมาณ ศต.ที่ 18 ในดินแดนที่เรียกว่าโลกใหม่ ดินแดนเสรีภาพของคนขาวแต่คนดำถูกกวาดต้อนมาเพื่อเป็นทาส ใช้แรงงานในไร่นาของคนขาว ต้องพลัดพรากจากบ้านเกิด จากครอบครัวสูญเสียเสรีภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความกดดันจากจิตใจหนักหน่วง มีทั้งความเศร้า เงียบเหงา ความทุกข์ และความสุขในชีวิตนี้ที่พอจะหาได้ก็มีเพลงกับดนตรี ดนตรีที่เกิดจากประสบการณ์ดนตรีชีวิตโดยแท้ ดนตรีที่มาจากอารมณ์หลากหลายทำให้เกิดการร้องเสียงสูงๆ ต่ำๆ สลับกับการร้องโหยหวนรับเป็นทอดๆ กลายมาเป็นเพลง Blues ต้นกำเนิดของ ดนตรี Jazz
เชื่อกันว่าดนตรีแจ๊สมีต้นกำเนิดราวทศวรรษ 1920 โดยวงดนดรีวงแรกที่นำสำเนียงแจ๊สมาสู่ผู้ฟังหมู่มากคือ ดิ ออริจินัล ดิกซีแลนด์ แจ๊ส แบนด์ (The Original Dixieland Jazz Band: ODJB) ด้วยจังหวะเต้นรำที่แปลกใหม่ ทำให้โอดีเจบีเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมาก พร้อมกับให้กำเนิดคำว่า "แจ๊ส" ตามชื่อวงดนตรี โอดีเจบีสามารถขายแผ่นได้ถึงล้านแผ่น .. อย่างไรก็ตามโอดีเจบีไม่ได้เป็นผู้ให้กำเนิดท่วงทำนองดังกล่าว หากแต่นำสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมาจากเพลงพื้นบ้านในแถบนิวออร์ลีนส์มาประยุกต์อีกที มีการวิเคราะห์รากลึกของแจ๊สในหลายทาง หนึ่งในนั้นคือเกิดจากดนตรีของกลุ่มทาสที่เดินทางมาจากแอฟริกาเพื่อเป็นแรงงานเกษตรกรรม กลุ่มทาสเหล่านี้มีพื้นฐานในเรื่องจังหวะมาจากเพลงพื้นบ้านหรือดนตรีในพิธีทางศาสนาอยู่แล้ว ประกอบกับได้ซึมซับดนตรีของคนผิวขาว จากยุโรป จึงเกิดการผสมผสานกันกลายเป็นเพลงบลูส์ (Blues) วิเคราะห์กันว่าโน๊ตที่แปลกแปร่งของบลูส์ เกิดจากการที่คนผิวดำเหล่านี้เรียนรู้ดนตรีจากการฟังเป็นพื้นฐาน จึงเล่นดนตรีแบบถูกบ้างผิดบ้าง เพราะจำมาไม่ครบถ้วน มีการขยายความด้วยความพึงพอใจของตัวเองเป็นหลัก ซึ่งกลายเป็นที่มาของคีตปฏิภาณ (Improvisation) ในภายหลัง .. ดนตรีแร็กไทม์ (Ragtime) ก็เชื่อว่ามีต้นกำเนิดคล้ายๆ กันคือ เกิดจากดนตรียุโรปผสมกับจังหวะขัดของแอฟริกัน .. บลูส์และแร็กไทม์นี่เองที่เป็นรากของดนตรีแจ๊สในเวลาต่อมา แร็กไทม์มีช่วงเวลาที่รุ่งเรืองอยู่ราวๆ ทศวรรษ 1890 ถึง 1910 มีเสน่ห์และเอกลักษณ์ที่จังหวะขัด (Syncopation) นักดนตรีแร็กไทม์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งก็คือ สก็อตต์ จอปลิน (Scott Joplin) ผู้ประพันธ์เพลงที่เราคุ้นหูหลายๆ เพลง เช่น The Entertainer, Maple Leaf Rag, Elite Syncopations, Peacherine Rag เป็นต้น หากไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน แนะนำให้หาฟังดูแล้วจะร้องอ๋อ .. หรือถ้าชอบดูหนังลองหา The Sting มาดู มีเพลงของจอปลินประกอบเกือบทั้งเรื่อง หรือไม่ก็ The Legend of 1900 (UBC เคยเอามาฉาย) แม้เรื่องหลังนี้จะกล่าวถึงดนตรีแจ๊ส แต่มีหลายเพลงที่มีกลิ่นรสของแร็กไทม์ที่เข้มข้นทีเดียวโดยเฉพาะตอนดวลเปียโน

เพลงบลูส์เริ่มได้รับความนิยมในช่วงเวลาเดียวกันกับแร็กไทม์ ปลายๆ ทศวรรษ 1910 เพลงบลูส์และแร็กไทม์ถูกผสมผสานจนกลมกลืนโดยมีหัวหอกคือ บัดดี โบลเดน (Charles Joseph 'Buddy' Bolden) เป็นผู้ริเริ่ม หากแต่เวลานั้นยังไม่มีการประดิษฐ์คำว่าแจ๊สขึ้นมา และเรียกดนตรีเหล่านี้รวมๆ กันว่า "ฮ็อต มิวสิค" (Hot Music) จนกระทั่งโอดีเจบีโด่งดัง คำว่า แจ๊ส จึงเป็นคำที่ใช้เรียกขานกันทั่ว .. แจ๊สในยุคแรกนี้เรียกกันว่าเป็น แจ๊สดั้งเดิม หรือ นิวออร์ลีนส์แจ๊ส

ลักษณะสำคัญของเพลงแจ๊สคือ การมี Syncopation (ซินโคเปชั่น) หมายถึงการเน้นจังหวะที่จังหวะยก มากกว่าจังหวะตก โดยมากเพลงแจ๊สจะเป็นเพลงที่มีเสียงอึกทึกอยู่ไม่น้อย แต่เพลงแจ๊สที่เล่นอย่างช้า ๆและนุ่มนวลก็มีเช่นกัน เพลงแจ๊สรุ่นแรกเกิดขึ้นทางภาคใต้ของสหรัฐอเมริกาโดยพวกชนผิวดำที่ ที่มาเป็นทาส เพลงแจ๊สที่เกิดทางใต้นี้มีชื่อเรียกว่า Dixieland Jazz เพลงแจ๊สได้รับการพัฒนาปรับปรุงขึ้นมาจนกลายมาเป็นเพลง Blue ลักษณะของเพลง Blue นี้จะเล่นอย่างช้า ๆ เนิบนาบ

Jazz songs
http://www.emusic.com/genre/291.html
http://www.songpeddler.com/FullSpectrumJazz/
http://uk.youtube.com/watch?v=iNWTAYhorYE
http://www.jazzisland.com/mainsite.asp
Blue songs
http://www.emusic.com/genre/292.html
http://www.allthelyrics.com/lyrics/blue/

2007-10-11 18:16:11 · answer #3 · answered by กระจกใส 7 · 0 0

fedest.com, questions and answers