English Deutsch Français Italiano Español Português 繁體中文 Bahasa Indonesia Tiếng Việt ภาษาไทย
หมวดหมู่ทั้งหมด

3 คำตอบ

ธรรมบท
ธรรมบทนี้เป็นคาถา หรือคำประพันธ์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในโอกาสต่างๆ แต่ละคาถามีความไพเราะทางฉันทลักษณ์ และมีความลึกซึ้งกินใจมาก เนื้อหาของธรรมะไม่สูงจนเกินไป สามารถนำเอามาปฏิบัติได้ในชีวิตจริง
ธรรมบท จึงนับเป็น "หัวใจ" หรือสรุปคำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้าทีเดียว เป็นคัมภีร์บาลี คัมภีร์แรกและคัมภีร์เดียวที่ได้รับการแปลถ่ายทอด เป็นภาษาต่างประเทศมากที่สุดมีถึง 423 คาถา ศึกษาได้จากที่นี่ค่ะhttp://larndham.net/dmbot/

2007-09-30 20:04:46 · answer #1 · answered by กระจกใส 7 · 1 0

บทความเรื่อง The Dhammapada ประพันธ์โดย Eknath Easwaran บทความนี้เป็นบทสรุปรวบยอดธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าด้วยเรื่องมรรค 8 ซึ่งเป็นธรรมะที่ใช้เป็นแนวทางในการคิดและการใช้ชีวิตในยุคสมัยปัจจุบันได้เป็นอย่างดี มีใจความสำคัญ ดังต่อไปนี้


ส่วนที่ 1 เรื่องของจิตและวิธีการประคับประคองจิตใจให้ผ่องใสอยู่ตลอดเวลา


1) "ผู้ที่รู้จักประคับประคองจิตใจให้ผ่องใสอยู่ตลอดเวลา มีกิริยาวาจาที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา และดำเนินชีวิตตามหลักทำนองครองธรรม ชีวิตย่อมเปี่ยมล้นไปด้วยความสงบสุข เกียรติยศ ชื่อเสียง เงินทอง และสิ่งดีงามทั้งหลายทั้งปวง สิ่งไม่ดีไม่งามย่อมไม่บังเกิดกับเขา ดั่งผู้ที่สามารถสร้างเขื่อนได้สูงยิ่งนักยากที่น้ำจะท่วมถึง"


ผู้ทีมีจิตใจผ่องใสเบิกบานจะประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ยากเย็นนักเพราะเมื่อจิตใจผ่องใสย่อมเห็นโอกาสและวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้น ยังสามารถนำเอาความรู้ทางโลกที่ร่ำเรียนมาหรือความรู้ที่ได้จากประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากกว่าบุคคลที่จิตใจเต็มไปด้วยความขุ่นมัว สับสน และวุ่นวาย


วิธีการการประคับประคองจิตใจ สามารถทำได้โดยการรู้จักเลือกความคิด ถ้าจะคิดให้คิดในแง่บวก คิดแต่เรื่องที่เป็นมงคล เรื่องที่เป็นประโยชน์ หากมีความคิดที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นให้ดับความคิดเหล่านั้นทันทีโดยการเปลี่ยนเรื่องที่คิด พยายามสร้างความคิดในแง่บวกให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้


นอกจากนั้น การควบคุมความคิดและจิตใจยังเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการพัฒนาจิตและวิญญาณอีกด้วย เพราะจิตใจที่กระสับกระส่าย ฟุ้งซ่าน วิตกกังวล ลังเลสงสัย อิจฉาริษยา และเต็มไปด้วยความยึดมั่นถือมั่นในตนเอง ย่อมเป็นบ่อเกิดแห่งกิเลส ตัณหา และอุปาทานให้ทวีความรุนแรงมากขึ้น


วิธีการป้องกันไม่ให้อกุศลจิตทั้งหลายบังเกิดขึ้นในจิตใจ คือการมีสติรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อกำหนดพฤติกรรมต่าง ๆ เช่นขณะนี้ควรทำอะไร ความพูดอะไร และควรคิดสิ่งใด เป็นต้น


คนที่มีกิริยาวาจาเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาย่อมเป็นที่รักและเคารพของบุคคลใกล้ตัวเช่น พ่อแม่ สามีภรรยา ญาติพี่น้อง เจ้านาย และลูกน้อง เป็นต้น ดังนั้น เมื่อทุกคนมีความรักและเอื้ออาทรต่อกันความสามัคคีปรองดองย่อมบังเกิดขึ้นตามมา ทีมเวิร์คจึงเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง


2) "จิตใจที่ขาดการควบคุมย่อมไม่ต่างอะไรกับปลาที่ดิ้นกระเสือกกระสนอยู่บนพื้นดิน ไม่เคยมีความสุขสงบ และร้อนรุ่มอยู่เสมอ จิตใจที่ขาดการควบคุมไม่เพียงแต่จะไม่สามารถเชื่อถือได้แต่ยังนำความเดือดร้อนมาให้อยู่ตลอดเวลา"


หากเราไม่สามารถควบคุมจิตใจให้มีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่กำลังกระทำอยู่ในทุกอิริยาบถจิตใจย่อมฟุ้งซ่านโลดแล่นไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นเราควรปฏิบัติดังข้อต่อไปนี้


3) "เมื่อเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคให้ทำจิตให้มั่นคงและสงบนิ่งราวกับหินผา"


เมื่อจิตใจว้าวุ่นและสับสนยากแก่การควบคุมให้นิ่งสงบ หยุดพูด หยุดการกระทำต่าง ๆ โดยสิ้นเชิง และนั่งสำรวมจิตใจ เมื่อจิตใจสงบจึ่งค่อยใช้สติในการพิจารณาไตร่ตรองเรื่องต่าง ๆ ต่อไป


4) "จิตใจที่ฝึกแล้วย่อมนำมาซึ่งความสุขและพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง"


จิตที่ฝึกแล้วจะสามารถอยู่ได้ในทุกสภาวะและผ่องใสอยู่ตลอดเวลา เพราะเมื่อมีจิตมีสมาธิและสติครบถ้วนปัญญาย่อมบังเกิด


5) "ชีวิตของเราจะดีหรือเลว จะประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลวย่อมขึ้นอยู่กับคุณภาพของจิตเท่านั้น"


เพราะความคิดก่อให้เกิดอารมณ์ คำพูด ความคิด และการกระทำ ดังนั้น คนเราคิดอย่างไรก็เป็นคนแบบนั้น เช่น คนที่มีจิตใจใฝ่ดีไม่ย่อท้อย่อมประสบความสำเร็จในที่สุด ในทางกลับกันคนที่เศร้าโศกเป็นอาจิณหรืออาฆาตแค้นไม่เลิกลาย่อมจมปรักอยู่กับอดีตที่ขมขื่นยากที่จะลืมตาอ้าปากได้ เป็นต้น


6) "หากเราไม่ตั้งใจฝึกจิตและใฝ่หาคุณธรรมความดีแล้วไซร้ ความชั่วร้ายต่าง ๆ จะปรากฏชัดต่อหน้าของเรา ฉันใด เปรียบประหนึ่งในความมืดย่อมไม่มีแสงสว่าง ฉันนั้น"


คนที่จะมีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิตได้จะต้องเลือกเรื่องที่คิด ไม่ปล่อยให้จิตคิดฟุ้งซ่านไปเองจงคิดอย่างมีสติ คิดแต่สิ่งดี ไม่ตกเป็นทาสของความคิดอกุศลทั้งหลาย เพราะการย้ำคิดย้ำทำในเรื่องที่ไม่ดี เช่น คิดอาฆาตพยาบาท อิจฉาริษยา หรือน้อยเนื้อต่ำใจในโชคชะตาของตนเอง นานวันเข้าจะติดเป็นนิสัยยากที่จะแก้ไขได้ เมื่อจิตคิดไม่ดี คำพูดและการกระทำย่อมเลวร้ายตามไปด้วย อกุศลกรรมจะเกิดขึ้นติดตามมาเป็นเงาตามตัว ชีวิตจะหาความสุขมิได้ราวกับตกนรกทั้งเป็น


7) "อย่ายึดเกาะติดสิ่งใดอย่างเหนียวแน่น มิฉะนั้นความทุกข์โศกทั้งหลายจะบังเกิดต่อหน้าเราโดยฉับพลัน"


ความยึดมั่นถือมั่นเป็นนิสัยถาวรที่ติดมากับดวงจิตของมนุษย์ทุกคน เมื่อผิดหวังหรือพลัดพรากจากสิ่งที่รักย่อมเป็นทุกข์ หรือได้ในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้รักก็เป็นทุกข์ แต่จะให้ปล่อยวางไม่ทำอะไรเลยก็ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเช่นเดียวกัน ดังนั้น สิ่งที่ควรกระทำคือ พยายามลดละความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งมัวหมองทั้งปวง แต่ให้ตั้งมั่นในการทำคุณงามความดี มีศีลธรรมจรรยา ตั้งใจพยายามประคับประคองจิตใจให้ผ่องใสอยู่ตลอดเวลา รู้จักเมตตาและให้อภัยผู้อื่น และหัดมองปัญหาที่ถั่งโถมเข้ามาในชีวิตเป็นเรื่องธรรมดาดั่งเมฆบนท้องฟ้าหรือคลื่นในมหาสมุทรที่มาแล้วก็ไปไม่มีวันสิ้นสุด แต่เราจะพยายามแก้ไขให้ดีที่สุด และเมื่อใดก็ตามที่รู้สึกว่ามีความยึดมั่นถือมั่นเกิดขึ้นในจิต ต้องกำหนดรู้และสอนจิตให้ปล่อยวางเสียบ้างเพื่อเป็นการบรรเทาแรงแห่งความยึดมั่นถือมั่นและอัตตาตัวกูของกูให้เบาบางลง


8) "วินาทีแรกที่มีความโกรธ กุศลทั้งหลายย่อมมลายไปโดยฉับพลัน"


ความโกรธนอกจากจะเป็นบ่อเกิดแห่งอกุศลกรรมแล้ว ยังเป็นเชื้อเพลิงที่เสริมสร้างกิเลส ตัณหา อุปาทาน ความสำคัญมั่นหมาย และอัตตาตัวกูของกูให้มีกำลังแรงมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ความโกรธยังทำให้สุขภาพเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว ดังนั้น วิธีแก้คือเมื่อมีอารมณ์โกรธเกิดขึ้นให้มีสติรู้เท่าทันความโกรธและให้มองเข้าไปในความรู้สึกว่า ขณะนี้เรารู้สึกอย่างไร หน้าตาความโกรธเป็นอย่างไร ให้อธิบายออกมาเป็นคำพูดอย่างละเอียด และพยายามบอกตัวเองให้ปล่อยวางบ้าง ไม่ต้องเอาเป็นเอาตาย ชีวิตนี้ยังอีกยาวไกลนัก และต้องบอกจิตเสมอว่าความโกรธไม่สามารถเอาชนะความโกรธได้ มีแต่ความรักความเมตตา ความมีน้ำใจ และการให้อภัยเท่านั้นจึงจะสลายความโกรธลงได้


9) "อย่าให้ความอิจฉาริษยาเกิดขึ้นในจิตของเรา"


เมื่อมีรู้สึกความอิจฉาริษยาผุดขึ้นในจิตใจให้กำหนดสติให้รู้เท่าทัน ทำใจปล่อยวาง และพยายามบอกจิตว่าเราต้องยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นเจริญก้าวหน้า(สมานัตตา) และเราจะเรียนรู้อะไรได้บ้างจากความสำเร็จของผู้อื่น เขาเหล่านั้นมีเหตุและปัจจัยอะไรจึงประสบความสำเร็จในเรื่องดังกล่าว


ส่วนที่ 2 เรื่องประเภทของบุคคล


"คนที่ขาดวุฒิภาวะ"


ข้อเสียของบุคคลที่ไม่ถึงพร้อมซึ่งวุฒิภาวะคือ ยากที่จะพัฒนาสติปัญญาได้ มีลักษณะดังนี้


1. คนที่ไม่ยอมรับความผิดของตัวเองชอบโทษผู้อื่นว่าเป็นต้นเหตุแห่ความทุกข์ที่ตนเองกำลังประสบอยู่ คนที่โทษผู้อื่นอยู่ตลอดเวลาย่อมไม่เห็นความผิดพลาดของตนเองจึงไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องและพัฒนาตนเองได้


2. ไม่ยอมให้อภัยผู้อื่น ผูกใจเจ็บอยู่ตลอดเวลาเพราะจมปลักอยู่กับเรื่องในอดีตจึงไม่อยู่กับปัจจุบันและมองความจริงไม่ตรงตามความจริง


3. ชอบจับผิดผู้อื่น การจับผิดผู้อื่นเป็นเรื่องไม่สร้างสรรค์ เสียเวลา และเป็นการสร้างศัตรูโดยที่เราไม่รู้ตัว


4. ปากกับใจไม่ตรงกัน ชอบประจบประแจงผู้อื่น หรือต้องการคำสรรเสริญเยินยอจากผู้อื่นตลอดเวลา กังวลเกี่ยวกับความคิดและความรู้สึกของคนอื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง บุคคลเหล่านี้จะไม่สามารถทำในสิ่งที่ควรจะทำได้เพราะเอาชีวิตไปฝากไว้ในกำมือของผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดยืนในตัวเอง จิตใจจะง่อนแง่น ไม่สามารถทำการใหญ่ได้


5. พูดจาไร้สาระหาประโยชน์มิได้ ยิ่งพูดมาก จิตยิ่งฟุ้งซ่าน ไม่มีแรงไปคิดในสิ่งที่สร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ การพูดมากจนเกินไปจะทำให้มีบุคลิกไม่น่าเชื่อถือ คนมักไม่ให้เกียรติ เป็นต้น


6. พอใจแต่คำชมและความสำเร็จ แต่ไม่ยอมรับคำตำหนิติเตียนและความล้มเหลว เมื่อไม่ยอมรับข้อผิดพลาดก็ไม่สามารถพัฒนาตนเองได้


"คนทีมีวุฒิภาวะหรือพุทธิจริต" มีลักษณะ ดังนี้


1. ใฝ่หาความถูกต้องคุณธรรม และจริยธรรมมาเป็นกรอบในการดำรงชีวิตของตนเอง


2. จิตใจตั้งอยู่ในความถูกต้องและสิ่งที่เป็นคุณธรรมทั้งปวง


ส่วนที่ 3 วัตรปฏิบัติของฆราวาสที่ควรกระทำ


1. พูดแต่ในสิ่งที่นำมาซึ่งความสุขสงบ ความสบายใจทั้งแก่ผู้พูดและผู้ฟังการชนะใจตนเองนับเป็นชัยชนะสูงสุดเหนือกว่าชัยชนะใดสมรภูมิรบในที่นี้คือการสำรวมกาย วาจา ใจ ทำแต่สิ่งที่ดี พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และคิดในสิ่งที่สร้างสรรค์ไม่ใฝ่หาความสบายจนเกินควร จงทำทุกอย่างให้อยู่ในความพอดี ไม่กินมากไป นอนมากไป หรือเกียจคร้านหาความสุขสบายใส่ตัว


2. ระมัดระวังคำพูด มีสติไตร่ตรองก่อนพูดและไม่ต้องพูดทุกอย่างที่คิดเพราะคำพูดเปรียบดั่งธนูเมื่อยิงออกไปแล้วไม่สามารถดึงกลับมาได้


3. อย่าพยายามคิดสอนผู้อื่น เพราะเป็นการเพิ่มอัตตาตัวตน คิดว่าเราดี เราเก่งกว่าผู้อื่น ซึ่งเป็นหนทางสู่ความหายนะ ดังนั้น ก่อนคิดสอนผู้อื่นให้รู้จักสอนจิตใจตนเองก่อนดีกว่า หัดคุยกับตัวเอง หมั่นถามตัวเองในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เช่น ทำแบบไหน พูดแบบไหน คิดอย่างไรจึงจะทำให้ชีวิตเราดีขึ้น เป็นต้น


4. อย่าจับผิดผู้อื่น อย่าทำร้ายผู้อื่น อย่าสร้างความทุกข์ของตนเองบนความทุกข์ของผู้อื่นแทนที่จะจับผิดผู้อื่นควรสนใจดูอารมณ์และรู้เท่าทันความรู้สึกของตนเองตลอดเวลาจะดีกว่า จิตจะอยู่ในปัจจุบัน


5. เลือกคบบัณฑิต หลีกเลี่ยงคนพาล เพราะความคิด คำพูด การกระทำ และความรู้สึกของคนรอบข้างจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและความคิดของเราอย่างที่หลีกเลี่ยงเสียไม่ได้ ดังนั้น จึงควรรู้จักเลือกคบคน


6. รักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เพราะศีลเป็นสิ่งที่จะทำช่วยให้จิตใจเปล่งปลั่งผ่องใส

2007-10-01 01:11:47 · answer #2 · answered by NooaoM 4 · 0 0

ธมมเสยโย

2007-10-01 03:55:32 · answer #3 · answered by Kanes 6 · 0 0

fedest.com, questions and answers